ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

รู้จัก “ออเดอร์ Spoofing” คำสั่งซื้อขายหุ้นหลอกที่ต้องระวัง!

ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักคำสั่งซื้อขายปลอม หรือ Spoofing ต้องขอเตือนก่อนว่าเทคนิคนี้เป็นวิธีการที่ผิดกฎหมายนะครับ!! เพราะการวางคำสั่งซื้อขายแบบหลอกๆ นี้เป็นการปั่นตลาดโดยการตั้งคำสั่งซื้อหรือขายหุ้นทั้งๆ ที่ไม่ได้ตั้งใจให้มีการซื้อหรือขายเกิดขึ้นจริงๆ นั่นเอง โดยหลักการสำคัญของเทคนิคนี้คือการหลอกนักเทรดรายอื่นๆ ในตลาดว่าสินทรัพย์นั้น (ไม่ว่าจะเป็นหุ้น, พันธบัตร, ฟิวเจอร์ส หรือตราสารอื่นๆ) มีความต้องการซื้อหรือขายสูง เพื่อกระตุ้นให้มีการซื้อขายเกิดขึ้นจริงในที่สุด

None

การตั้งคำสั่งหลอกทำให้นักเทรดส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่ามีคำสั่งซื้อขายเกิดขึ้นในตลาดจริง ทำให้เทรดเดอร์เหล่านั้นสนใจที่จะเทรดสินทรัพย์นั้นๆ และดันให้ราคาวิ่งขึ้นลงจากออเดอร์หลอกนั้น โดยเทรดเดอร์ที่ตั้งคำสั่งซื้อขายหลอกก็จะได้กำไรจากความผันผวนของราคาอย่างมหาศาล

ในบทความวันนี้ เราจะมาอธิบายความหมายของคำสั่งซื้อขายแบบ Spoofing หรือออเดอร์หลอก รวมถึงหลักการของเทคนิคนี้ เพื่อให้ท่านสามารถป้องกันตัวเองจากการตั้งคำสั่งซื้อขายที่ผิดพลาดตามสัญญาณหลอกประเภทดังกล่าว แต่ที่สำคัญหากท่านไม่อยากเทรดผิดพลาด อย่าลืมวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคอย่างละเอียด รวมถึงใช้เครื่องมือ Indicator และทำความเข้าใจตราสารต่างๆ เพื่อให้ท่านเข้าใจภาพรวมของตลาดมากยิ่งขึ้นด้วยล่ะครับ

ออเดอร์ Spoofing คืออะไร? มีหลักการอย่างไร?

อย่างที่ได้บอกไปว่าเทคนิค Spoofing หรือการวางออเดอร์ปลอมเป็นวิธีการปั่นตลาด ซึ่งไม่มีใครทราบชัดเจนว่าเทคนิคนี้เริ่มใช้กันตั้งแต่เมื่อไหร่ หรือใครเป็นผู้ริเริ่ม แต่วิธีการตั้งออเดอร์หลอกนี้เริ่มถูกจับตามองตั้งแต่ในปี ค.ศ. 2010 หลังจากมีคนพยายามปั่นตลาดในตอนเริ่มมีการเทรดผ่านคอมพิวเตอร์มากขึ้น และในปีเดียวกันนี้เองที่รัฐมีการออกกฎหมายมาเพื่อป้องกันสร้างออเดอร์หลอกมาปั่นตลาดซึ่งนับเป็นการกระทำทุจริต

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

หลักการง่ายๆ:

  1. เทรดเดอร์ตั้งออเดอร์ซื้อจำนวนมากจนผิดสังเกต แต่ไม่ต้องการที่จะซื้อหุ้นนั้นจริงๆ
  2. จากนั้นเทรดเดอร์จะตั้งออเดอร์ขาย (Sell) โดยอาจยกเลิกออเดอร์ซื้อที่ตั้งไว้ก่อนหน้า หรือจะเปิดออเดอร์นั้นค้างไว้ก็ได้
  3. ออเดอร์ซื้อที่ตั้งไว้จะดันให้ราคาหุ้นพุ่งขึ้น ซึ่งทำให้มีแรงเทขายเพิ่มมากขึ้นตาม

ออเดอร์หลอกจะสร้างความปั่นป่วนในตลาดและดึงความสนใจของเทรดเดอร์จากสินทรัพย์ตัวอื่นๆ พูดง่ายๆ ก็คือปรากฏการณ์ดังกล่าวที่มีแรงซื้อหรือขายเพิ่มขึ้นจำนวนมากในตลาดทำให้เทรดเดอร์เชื่อมั่นว่าเป็นจังหวะที่ดีในการจะเปิดออเดอร์ซื้อหรือขาย ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วนั่นไม่ใช่จังหวะปลอดภัยที่น่าลงทุนเลยแม้แต่น้อย

ทำไมคำสั่งซื้อขายหลอกจึงผิดกฎหมาย?

บางประเทศได้ออกมาตรการและกฎหมายมาเพื่อป้องกันการตั้งออเดอร์หลอกและสร้างความปั่นป่วนในตลาด ตัวอย่างเช่น ประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกาซึ่งได้เริ่มใช้กฎหมายนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 เป็นต้นมา ทั้งนี้ เทรดเดอร์บางท่านอาจคิดว่าการตั้งออเดอร์ Spoofing นั้นเหมือนกับการใช้เทคนิค Layer แต่จริงๆ แล้วทั้งเทคนิคมีความแตกต่างกัน เพราะวิธีการ Layer คือการตั้งออเดอร์ซื้อหรือขายสินทรัพย์ตัวเดิมที่หลายๆ ราคา

บทลงโทษของการตั้งออเดอร์หลอกและคดีตัวอย่าง

บางประเทศมีกฎหมายและบทลงโทษที่รุนแรงสำหรับนักเทรดที่กระทำการทุจริตโดยการตั้งออเดอร์ปลอมในตลาด โดยอาจมีการฟ้องร้องจากบริษัทเจ้าของหุ้นและอาจมีการปรับเงินจากการละเมิดกฎในการเทรด อย่างที่เห็นกันในคดีดังมากมาย:

  1. ในปี 2013 Michael Coscia ถูกหน่วยงานกำกับการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของสหรัฐฯ ปรับเงินมูลค่าเสียหายกว่า 2.8 ล้านเหรียญ และโดนแบนไม่ให้ทำการซื้อขายเป็นเวลา 1 ปีเต็ม
  2. มีคดีโด่งดังในปี 2014 ที่ชาว “รัสเซีย” นามว่า Igor Oystacher ที่อาศัยในรัฐชิคาโก้ โดนดำเนินคดีและถูกตลาดอนุพันธ์รายใหญ่อย่าง CME เรียกค่าเสียหายกว่า 150,000 เหรียญ และโดนแบนไม่ให้เทรดเป็นเวลาร่วม 1 เดือน
  3. ในปี 2018 กลุ่มสถาบันการเงินที่มีชื่อเสียงอย่าง HSBC, UBS และ Deutsche Bank ยืนยันที่จะจ่ายเงิน 47 ล้านดอลลาร์สำหรับการฟ้องร้องจากการตั้งคำสั่งซื้อขายหลอก

สรุปเกี่ยวกับคำสั่งซื้อขายปลอม

ความหมายของออเดอร์ Spoofing ก็คือการตั้งออเดอร์ปลอมเพื่อสร้างความปั่นป่วนและหลอกนักเทรดรายอื่นๆ ในตลาด โดยนักเทรดที่ตั้งคำสั่งซื้อขายหลอกจะตั้งออเดอร์จำนวนมากและเปิดคำสั่งซื้อขายในทิศทางตรงกันข้าม แล้วสร้างสัญญาณหลอกเพื่อให้ราคาเคลื่อนไหวไปในทิศทางของออเดอร์ดังกล่าว ทั้งที่ออเดอร์เหล่านั้นอาจยกเลิกในไม่ช้าเพราะผู้ตั้งคำสั่งไม่ได้ต้องการออเดอร์นั้นจริงๆ โดยในบางครั้งพวกเขาอาจตั้งออเดอร์ใหม่เป็นพันออเดอร์เพื่อให้ราคาวิ่งไปตามออเดอร์เหล่านั้น ซึ่งเป็นวิธีการที่ผิดกฎหมายของหลายประเทศทั่วโลก ยิ่งในปัจจุบันหน่วยงานและผู้ออกกฎหมายต่างเอาจริงเอาจังกับการจัดการเทรดเดอร์ที่ตั้งออเดอร์หลอก และมีเครื่องมือหลายอย่างที่จะตรวจสอบการตั้งออเดอร์หลอกได้ ดังนั้น เราขอย้ำอีกครั้งว่าท่านควรระวังออเดอร์ Spoofing ให้ดี และไม่ควรตั้งออเดอร์ประเภทนี้โดยเด็ดขาด!!

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน