ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-07-30

แรงเทซื้อทองคำยังแสดงความแข็งแกร่ง แม้ดอลลาร์สหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้นก่อนการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ

แรงเทซื้อทองคำยังแสดงความแข็งแกร่ง แม้ดอลลาร์สหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้นก่อนการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ

ความเชื่อมั่นของตลาดที่ซบเซาในวันจันทร์ สืบเนื่องมาจากบรรยากาศการซื้อขายที่มีความระมัดระวังก่อนการเปิดเผยข้อมูลสำคัญทางเศรษฐกิจ ประกอบกับคำเตือนจากแมคโดนัลด์ (McDonald) เกี่ยวกับการชะลอตัวลงของธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญทั่วตลาด นอกจากนี้ การปฏิเสธการเผยแพร่ข้อมูลการไหลเวียนเงินทุนรายวันของจีน และความกังวลเกี่ยวกับฤดูพายุเฮอริเคนรอบใหม่ที่จะเริ่มขึ้นในสหรัฐฯในช่วงสุดสัปดาห์นี้ จะท้าทายสภาวะความเสี่ยงของตลาดด้วยเช่นกัน ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯเริ่มต้นสัปดาห์อย่างแข็งแกร่ง แม้จะต้องเผชิญกับข้อมูลเศรษฐกิจในประเทศที่อ่อนตัวลง

การแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ ร่วมกับแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) และความกังวลเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจของยูโรโซนได้ส่งผลกระทบต่อคู่เงิน EURUSD ในขณะเดียวกัน ข้อมูลเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรที่ปรับตัวลง และข้อสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ดึงดูดแรงเทขายคู่เงิน GBPUSD ก่อนการประชุมนโยบายการเงินในวันพฤหัสบดี นอกจากนี้ คู่เงิน USDJPY ยังชะลอการร่วงลงก่อนหน้าจากข้อมูลเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่มีการรายงานออกมาในหลากหลายทิศทาง และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการตัดสินใจดำเนินนโยบายครั้งต่อไปของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ)

ส่วนทางด้านคู่เงิน AUDUSD,คู่เงิน NZDUSD และคู่เงิน USDCAD ยังคงมีการเคลื่อนไหวอย่างจำกัด หลังจากร่วงลงอย่างหนักในสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ นักลงทุนสกุลเงินกลุ่ม Antipodean กำลังมองหาสัญญาณเพิ่มเติมเพื่อต่อยอดโมเมนตัมก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางความผันผวนของสินค้าโภคภัณฑ์

ในอีกทางหนึ่ง ราคาทองคำได้รับแรงหนุนจากความไม่แน่นอนของตลาดและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวลง ขณะที่เพิกเฉยต่อการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังแบกรับภาระจากปัญหาเศรษฐกิจ และความท้าทายทางภูมิรัฐศาสตร์ซึ่งส่งผลกระทบต่อเมทริกซ์อุปสงค์-อุปทาน

เมื่อพูดถึงสกุลเงินดิจิทัล BTCUSD พลิกกลับจากระดับสูงสุดในรอบเจ็ดสัปดาห์และยังคงได้รับแรงกดดันในภายหลัง ขณะที่ ETHUSD เริ่มต้นสัปดาห์อย่างแข็งแกร่ง แต่ยังคงชะลอตัวจากการปรับตัวสูงขึ้นของวันก่อนหน้า ในขณะที่ปรับตัวสอดคล้องกับปัจจัยกระตุ้นของตลาดคริปโทเคอร์เรนซี ไม่มีอะไรดึงดูดแรงเทขายเท่ากับสภาวะ consolidation ของการปรับตัวขึ้นก่อนหน้านี้ จากความหวังในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯของ Donald Trump โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า การเปิดใช้งานบัญชีที่ไม่ได้ใช้งานก่อนหน้านี้และการไหลเข้าของเงินทุนจำนวนมาก ยังทำให้แรงเทซื้อ Bitcoin และ Ethereum ยังคงมีความหวัง แม้ล่าสุดจะเกิดการดึงกลับก็ตาม

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันดิบ WTI ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบเจ็ดสัปดาห์ โดยปรับลดลงติดต่อกันสามวันมาอยู่ที่ประมาณ $75.40
  • ทองคำ (Gold) ฟื้นตัวจากการร่วงลงในช่วงเริ่มต้นสัปดาห์ โดยปรับตัวขึ้นเล็กน้อยระหว่างวันที่ประมาณ $2,390
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) รักษาระดับการปรับตัวสูงขึ้นของวันก่อนหน้า ใกล้ระดับ 104.65
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดผสม แต่ ตลาดหุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ปรับตัวลดลง ขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงเปิดการซื้อขาย
  • BTCUSD และ ETHUSD ต่างก็ปรับตัวลดลงเล็กน้อยระหว่างวันที่ประมาณ $66,500 และ $3,320 ตามลำดับ
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นก่อนการรายงานข้อมูลและเหตุการณ์สำคัญ…

ดัชนีธุรกิจภาคการผลิตของธนาคารกลางสหรัฐฯประจำดัลลัสในวันจันทร์ปรับลดลงมากกว่าการรายงานก่อนหน้านี้ที่ -15.1 มาอยู่ที่ -17.5 ในเดือนกรกฎาคม ถึงกระนั้น ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ก็ปรับตัวขึ้นแรงที่สุดในรอบกว่าหนึ่งสัปดาห์ ขณะที่พุ่งสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม โดยปรับตัวขึ้นไปที่ประมาณ 104.60 อีกทั้งการปรับตัวตามตำแหน่งที่แข็งค่าขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯ ก่อนการเผยแพร่ข้อมูลสำคัญทางเศรษฐกิจ การไหลเวียนของเงินทุนในช่วงสิ้นเดือนและความท้าทายต่อความเชื่อมั่นในตลาดอาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ความหวังที่จะได้เห็น Fed ยุติการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดในวันพุธ ยังสนับสนุนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากข้อมูลอัตราเงินเฟ้อและสัญญาณการจ้างงานของสหรัฐฯที่ส่วนใหญ่คงที่ในระยะหลัง

ในขณะที่ ดอลลาร์สหรัฐฯกำลังฟื้นตัว คู่เงิน EURUSD ร่วงลงมากที่สุดในบรรดาคู่สกุลเงินหลัก ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงท่าทีล่าสุดของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และการเตรียมพร้อมของตลาดสำหรับการรายงานข้อมูล GDP และข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของสหภาพยุโรป ผู้กำหนดนโยบายของ ECB ส่วนใหญ่ยืนยันการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมจากธนาคารกลางในกลุ่มประเทศในยูโรโซน ท่ามกลางอัตราการเติบโตของราคาที่ชะลอตัวลง ซึ่งจุดกระแสความกังวลเกี่ยวกับความยากลำบากทางเศรษฐกิจของยุโรปอีกครั้ง หลังจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมาและความเชื่อมั่นทางการเมืองภายในประเทศที่อ่อนแอ ซึ่งส่งผลให้เกิดแรงกดดันด้านลบเพิ่มเติมต่อคู่เงินยูโร

คู่เงิน GBPUSD ก็ปรับลดลงเช่นกันเนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ ประกอบกับข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซาของสหราชอาณาจักรและความกลัวเรื่องการปรับขึ้นภาษีภายในประเทศ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา รายงานยอดขาย CBI ของสหราชอาณาจักรลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสามเดือน ในขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของอังกฤษ Rachel Reeves แสดงความพร้อมที่จะลดการขาดดุลอย่างหนักในงบประมาณเดือนตุลาคม

ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน USDJPY ยังคงเริ่มต้นสัปดาห์ด้วยการปรับตัวสูงขึ้น โดยมีราคาเสนอซื้อเป็นบวกเล็กน้อยสอดคล้องกับแนวโน้มตลาด ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ผสมผสานกันได้ท้าทายการสนับสนุนของผู้กำหนดนโยบายญี่ปุ่นที่ให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม ในช่วงต้นวันอังคาร อัตราการว่างงานของญี่ปุ่นลดลงสู่ 2.5% ในเดือนมิถุนายนจาก 2.6% ในเดือนก่อนหน้า แต่อัตราส่วนปริมาณงาน/จำนวนผู้สมัครก็ปรับลดลงติดต่อกัน 3 เดือนเช่นกัน โดยอยู่ที่ 1.23 เมื่อเทียบกับตัวเลขการรายงานก่อนหน้าที่ 1.24 นอกจากนี้ ยังมีข่าวว่า คณะที่ปรึกษาเศรษฐกิจระดับสูงของญี่ปุ่นได้เรียกร้องให้รัฐบาลและธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ให้คำนึงถึงค่าเงินเยนที่อ่อนค่าในการกำหนดนโยบาย

อีกทางด้านหนึ่ง ดอลลาร์ออสเตรเลีย ดอลลาร์นิวซีแลนด์ และดอลลาร์แคนาดา ค่อยๆฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบหลายเดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในจีน รวมไปถึงความกังวลเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางแต่ละประเทศ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลงยังเป็นแรงหนุนเพิ่มเติมสำหรับแรงเทซื้อคู่เงิน USDCAD เมื่อพูดถึงการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ ปฏิทินเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์และแคนาดายังคงเบาบาง ขณะที่ข้อมูลใบอนุญาตการก่อสร้างของออสเตรเลียในเดือนมิถุนายนมีการรายงานออกมาในหลากหลายทิศทาง และตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภครายสัปดาห์ปรับลดลงจากระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน โดยล่าสุดมาอยู่ที่ 83.1

นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังไม่ตอบสนองต่อความวิตกกังวลครั้งใหม่เกี่ยวกับพายุเฮอริเคน และร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 7 สัปดาห์ ท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับความต้องการพลังงานจากจีน และการขาดการรายงานข่าวสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์จากตะวันออกกลาง

ทั้งนี้ ราคาทองคำมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในรอบเดือน แม้จะยังขาดโมเมนตัมรายสัปดาห์และรายวัน โดยช่วงขาขึ้นของราคาทองคำได้รับแรงหนุนจากความไม่แน่นอนของตลาดเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายต่อไปของธนาคารกลางรายสำคัญ และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับจีนและตะวันออกกลาง อย่างไรก็ตาม ความวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว และแรงเทซื้อทองคำที่ปรับตัวลง กำลังเป็นอุปสรรคต่อช่วงแนวโน้มขาขึ้นของ XAUUSD ก่อนการเปิดเผยข้อมูลสำคัญในสัปดาห์นี้ โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลก ตามสัญญาณจากแมคโดนัลด์ และปัญหาพายุเฮอริเคน รวมถึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับลดลง ยังคงสนับสนุนช่วงแนวโน้มขาขึ้นของราคาทองคำ

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY, US Dollar, Silver
  • สัญญาณขายแรง: AUDUSD, NZDUSD, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold, DJI30, USDCNH
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, EURUSD, Crude Oil

วันที่ค่อนข้างวุ่นวายก่อน…

แตกต่างจากวันจันทร์ ปฏิทินเศรษฐกิจที่มีกำหนดการเผยแพร่ข้อมูลเศรษฐกิจมากกว่าน่าจะดึงดูดความสนใจของเทรดเดอร์ที่อาศัยโมเมนตัมในการเทรด โดยในบรรดาปัจจัยสำคัญเหล่านี้ นักลงทุนจะจับตามองการรายงานตัวเลขเบื้องต้นของ GDP ไตรมาส 2 ของยูโรโซน และข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของเยอรมนีประจำเดือนกรกฎาคม ซึ่งจะกระตุ้นสภาพคล่องในช่วงการซื้อขายทางฝั่งตลาดยุโรป ต่อจากนั้น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค CB ของสหรัฐฯในเดือนกรกฎาคม และจำนวนตำแหน่งงานว่าง JOLTS ประจำเดือนมิถุนายน จะกลายเป็นข้อมูลสำคัญในการกำหนดทิศทางของตลาด และเป็นที่น่าสังเกตว่า ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสหรัฐฯ จีน และตะวันออกกลาง จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม

เนื่องจากตลาดมีความคาดหวังว่า ECB จะดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย ประกอบกับมีความกังวลเกี่ยวกับข้อมูลเศรษฐกิจของยูโรโซน ข้อมูลเศรษฐกิจจากสหภาพยุโรปที่ปรับลดลงในวันนี้ จะสร้างแรงกดดันด้านลบต่อคู่เงิน EURUSD แม้ว่าข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯอาจไม่สามารถสร้างความประทับใจแก่กลุ่มนักลงทุนที่ต้องการให้ Fed ดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดก็ตาม นอกจากนี้ ข่าวที่ส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงในตลาด และการปรับตัวที่ดีขึ้นของข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ รวมไปถึงข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐฯ อาจเป็นสาเหตุเพิ่มเติมให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง และส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงอย่าง หุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ และสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans ยิ่งไปกว่านั้น บรรยากาศการซื้อขายที่มีความระมัดระวังของตลาดก่อนการประชุม FOMC ในวันพุธนี้ และการรายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตร (NFP) ของสหรัฐฯในวันศุกร์ อาจทำให้เทรดเดอร์ที่อาศัยโมเมนตัมในการเทรดชะลอการเคลื่อนไหว

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !