ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-07-26

EURUSD รักษาระดับการฟื้นตัวหลัง GDP สหรัฐฯปรับตัวดีขึ้น จับตามองการรายงานตัวเลขดัชนี PCE พื้นฐานของสหรัฐฯ

EURUSD รักษาระดับการฟื้นตัวหลัง GDP สหรัฐฯปรับตัวดีขึ้น จับตามองการรายงานตัวเลขดัชนี PCE พื้นฐานของสหรัฐฯ

ความเชื่อมั่นของตลาดยังคงเป็นไปในทิศทางบวกแม้จะมีบรรยากาศการซื้อขายอย่างระมัดระวัง เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯล่าสุดที่มีการรายงานออกมาในหลากหลายทิศทาง เป็นผลให้ตลาดคาดการณ์ว่า Fed จะดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย ก่อนการประกาศข้อมูลดัชนีราคาการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE) ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อที่ Fed ให้ความสำคัญ นอกจากนี้ แถลงการณ์จาก G20 ยังชี้ให้เห็นถึงสภาวะ “การลงจอดอย่างนุ่มนวล” (soft landing) ของเหล่าประเทศเศรษฐกิจหลัก และความพร้อมของจีนในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ซึ่งจะเป็นการท้าทายสภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของตลาดก่อนหน้านี้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม หุ้นเทคโนโลยีและการปรับตัวลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรยังทดสอบความเชื่อมั่นของนักลงทุน ก่อนการประชุมธนาคารกลางที่สำคัญในสัปดาห์หน้า และรายงานตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ รวมไปถึงข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของออสเตรเลีย

ด้วยเหตุนี้ แม้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) จะยังคงปรับลดลงในรอบสัปดาห์ แต่กลับไม่สามารถหนุนคู่เงิน EURUSD,คู่เงิน GBPUSD และราคาทองคำได้ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบ WTI มีแนวโน้มที่จะร่วงลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่สาม และสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans อย่างคู่เงิน AUDUSD, คู่เงิน NZDUSD และคู่เงิน USDCAD ก็ปรับลดลงเช่นกันในฐานรายสัปดาห์

ในทางกลับกัน คู่เงิน USDJPY และคู่เงิน USDCHF ยังปรับตัวยืนยันสถานะสินทรัพย์ปลอดภัยแบบดั้งเดิมของเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) และฟรังก์สวิส (CHF) ขณะเดียวกันก็ได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ

เมื่อพูดถึงสกุลเงินดิจิทัล BTCUSD และ ETHUSD ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบสัปดาห์ แม้จะยังคงปรับตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบสามสัปดาห์ด้วยเช่นกัน ท่ามกลางความท้าทายใหม่ๆต่อการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของ Donald Trump เนื่องจากการเข้าร่วมการแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ของ Kamala Harris

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันดิบ WTI ฟื้นตัวต่อเนื่องจากระดับต่ำสุดในรอบหกสัปดาห์ โดยชะลอการร่วงลงในรอบสัปดาห์ที่ประมาณ $78.50
  • ทองคำ (Gold) ดีดตัวขึ้นจากเส้นแนวรับอายุ 5.5 เดือน และเส้น 50-SMA โดยทรงตัวจากการร่วงลงในรอบสัปดาห์ที่ประมาณ $2,370
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) ยังคงอยู่ในโหมด sidelined ที่ประมาณ 104.30 โดยยังไม่มีการเคลื่อนไหวที่สำคัญในวันนี้และในรอบสัปดาห์นี้
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดผสม เช่นเดียวกันกับ ตลาดหุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงเปิดการซื้อขาย
  • BTCUSD และ ETHUSD ต่างก็ปรับตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยชะลอการร่วงลงในรอบสัปดาห์และพุ่งสูงขึ้นไปที่ระดับ $67,100 และ $3,270 ตามลำดับ

ดอลลาร์สหรัฐฯฟื้นตัวก่อนการรายงานอัตราเงินเฟ้อของ Fed…

แม้ว่าการรายงานตัวเลขเบื้องต้น GDP ไตรมาสที่ 2 ของสหรัฐฯจะออกมาแข็งแกร่งและทำให้ดอลลาร์สหรัฐฯสามารถฟื้นตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบสัปดาห์ได้ แต่รายละเอียดอื่นๆที่ไม่น่าประทับใจนัก ร่วมกับตัวเลขคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯที่น่าผิดหวัง ยังท้าทายโมเมนตัมการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯอีกด้วย ถึงกระนั้น สัญญาณที่ดีจากตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกและจำนวนผู้ที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานต่อเนื่อง ยังสนับสนุนการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯ ท่ามกลางการเคลื่อนไหวดังกล่าว ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ปิดตัวในแดนบวกเล็กน้อย แม้จะปรับตัวลดลงในช่วงเช้าวันศุกร์ ท่ามกลางบรรยากาศการซื้อขายที่มีความระมัดระวังในตลาดก่อนการประกาศดัชนีราคาการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE) ของสหรัฐฯประจำเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อที่ Fed ให้ความสำคัญ

ในขณะที่ดอลลาร์สหรัฐฯดีดตัวสูงขึ้น คู่เงิน EURUSD ก็ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบสองสัปดาห์เช่นกัน โดยยุติการร่วงลงติดต่อกันสองวัน และปรับตัวสูงขึ้นในภายหลัง อีกทั้ง คู่เงินยูโรยังไม่ตอบสนองต่อข้อมูลผลสำรวจความเชื่อมั่น IFO ของเยอรมันที่ปรับลดลงในเดือนกรกฎาคมอีกด้วย

ทางด้านคู่เงิน GBPUSD นั้นกลับเคลื่อนไหวตรงกันข้าม โดยร่วงลงมากที่สุดในรอบหนึ่งสัปดาห์ ขณะที่ปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสองสัปดาห์ เนื่องจากดัชนียอดคำสั่งซื้อรวม CBI (CBI Trend Total Orders) ของสหราชอาณาจักรทรุดตัวลงในเดือนกรกฎาคม นอกจากนี้ แถลงการณ์ของ Rachel Reeves รัฐมนตรีคลังสหราชอาณาจักร ที่กล่าวถึงปัญหาการคลังของประเทศและสัญญาว่าจะแก้ไขปัญหานี้ ก็อาจส่งผลกระทบต่อคู่เงินเคเบิลเช่นกัน

ในอีกทางหนึ่ง Masato Kanda รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่น ฝ่ายกิจการระหว่างประเทศ กล่าวระหว่างการประชุมรัฐมนตรีคลังกลุ่มประเทศ G20 ที่บราซิลว่า “G20 ต้องเพิ่มการเฝ้าระวังต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่มากเกินไปและการเก็งกำไรที่เพิ่มมากขึ้น” โดยแถลงการณ์นี้ส่งผลให้ช่วงแนวโน้มขาลงของคู่เงิน USDJPY พักตัว ก่อนการประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อโตเกียวประจำเดือนกรกฎาคมที่อ่อนตัวลง และการคงตัวเลขการประเมินเศรษฐกิจของรัฐบาลในเดือนกรกฎาคม นอกจากนี้ แนวรับ 200-EMA ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 12 สัปดาห์ และความเชื่อมั่นที่ผันผวนก่อนการประกาศดัชนีราคาการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE) ของสหรัฐฯประจำเดือนมิถุนายน ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ท้าทายแรงเทขายคู่เงินเยน

ในทางกลับกัน รอยเตอร์ได้มีการรายงานข่าวเกี่ยวกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯในออสเตรเลียทางตอนเหนือ ท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐฯ ซึ่งอาจกระตุ้นความกังวลทางภูมิรัฐศาสตร์และสนับสนุนความต้องการดอลลาร์สหรัฐฯในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนยังคงมีอิทธิพลเหนือกว่า และส่งผลกระทบต่อสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans อย่าง ดอลลาร์ออสเตรเลีย ดอลลาร์นิวซีแลนด์ และดอลลาร์แคนาดา

ถึงกระนั้น การแทรกแซงตลาดของจีนเพื่อป้องกันค่าเงินหยวน และตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภค ANZ – Roy Morgan ของออสเตรเลียในเดือนกรกฎาคมที่ปรับตัวดีขึ้น ยังทำให้คู่เงิน NZDUSD สามารถรักษาระดับได้ที่ระดับต่ำสุดในรอบสามเดือน ขณะที่ท้าทายแนวโน้มขาลงติดต่อกันหกวัน ในขณะเดียวกัน คู่เงิน AUDUSD ก็ค่อยๆฟื้นตัวขึ้นที่ระดับต่ำสุดในรอบ 12 สัปดาห์ ท่ามกลางบรรยากาศการซื้อขายที่มีระมัดระวังของตลาดหลังจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯมีการรายงานออกมาผสมผสาน นอกจากนี้ คู่เงิน USDCAD ยังถอยกลับจากระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2023 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ขณะที่ดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบเจ็ดสัปดาห์

โดยการปรับตัวลดลงของตลาดหุ้น และความหวังที่จะได้เห็นการลงจอดอย่างนุ่มนวลของเศรษฐกิจในประเทศเศรษฐกิจหลัก รวมถึงการคาดการณ์การปรับลดลงของอัตราดอกเบี้ย ยังทำให้ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบหลายวัน และทำสถิติปรับตัวขึ้นรายวันสูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม นอกจากนี้ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และความหวังเกี่ยวกับความต้องการพลังงานจากสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูร้อน ยังช่วยหนุนราคาน้ำมันดิบด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ ราคาทองคำร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 13 วัน ก่อนดีดตัวกลับจากเส้น 50-SMA เนื่องจากการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯที่ขัดกันกับการปรับลดลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปัจจัยเหล่านี้ ยังทำให้ราคาทองคำมีแนวโน้มปรับลดลงเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน ท่ามกลางตลาดที่ซบเซาและบรรยากาศการซื้อขายที่ผันผวน ก่อนการประชุมนโยบายการเงินของสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักรในสัปดาห์หน้า นอกจากนี้ ปัญหาเศรษฐกิจของจีนและแนวโน้มตลาดที่ไปในหลากหลายทิศทางเกี่ยวกับความต้องการทองคำของอินเดีย ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลก ยังท้าทายราคาโลหะมีค่าในภายหลังอีกด้วย

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY, US Dollar, Silver
  • สัญญาณขายแรง: AUDUSD, NZDUSD, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold, DJI30, USDCNH
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, EURUSD, Crude Oil

จับตามองดัชนีราคา PCE พื้นฐานของสหรัฐฯ ก่อนการประชุม FOMC…

เนื่องจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อและการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯล่าสุดมีการรายงานออกมาในหลากหลายทิศทาง รวมไปถึงยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed หลังผ่านเดือนกันยายน การรายงานดัชนีราคาการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE) ของสหรัฐฯประจำเดือนมิถุนายนในวันนี้ จึงเป็นข้อมูลสำคัญที่ต้องจับตามอง โดยคาดการณ์ว่าตัวเลขหลักจะลดลงเหลือ 2.5% YoY จาก 2.6% ขณะที่ ตัวเลขเมื่อเทียบเดือนต่อเดือนอาจคงที่ที่ 0.1% หากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลง ซึ่งมีแนวโน้มอย่างมาก Fed อาจทบทวนท่าทีสนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดล่าสุดเกี่ยวกับการปฏิเสธการปรับลดอัตราดอกเบี้ยมากกว่าสองครั้งในปี 2024 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) และเป็นผลให้สินค้าโภคภัณฑ์ชะลอการร่วงลงในรอบสัปดาห์ได้ อย่างไรก็ตาม หากการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจมีการเซอไพรส์เชิงบวกก็จะเป็นการเปิดทางให้ Fed อาจมีท่าทีที่แข็งกร้าวในการประชุม FOMC ในสัปดาห์หน้า และจะสามารถสนับสนุนการฟื้นตัวล่าสุดของดอลลาร์สหรัฐฯได้