ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-07-19

EURUSD ยังคงแนวโน้มขาขึ้นเป็นเวลา 3 สัปดาห์ติดต่อกัน ในขณะที่ยังคงปรับลดลงหลังการประชุม ECB

EURUSD ยังคงแนวโน้มขาขึ้นเป็นเวลา 3 สัปดาห์ติดต่อกัน ในขณะที่ยังคงปรับลดลงหลังการประชุม ECB

สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงในตลาดยังคงซบเซาในช่วงเช้าวันศุกร์ เนื่องจากความกังวลด้านภูมิรัฐศาสตร์จากสหรัฐฯ จีน และตะวันออกกลาง ประกอบกับความคลุมเครือเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในปี 2024 ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่องจากระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนในวันก่อนหน้า ในขณะที่ท้าทายสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงอย่าง หุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ และสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans ด้วยเช่นกัน

การฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯยังได้รับแรงหนุนจากการยุติการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งส่งผลกระทบต่อราคาคู่เงิน EURUSD นอกจากนั้น คู่เงิน GBPUSD มีแนวโน้มที่จะปิดสัปดาห์ด้วยการปรับลดลง แม้ว่าก่อนหน้านี้ราคาจะปรับตัวสูงขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบปีในช่วงต้นสัปดาห์ก็ตาม ท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจอังกฤษที่ผันผวน รวมถึงความกังวลว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) อาจจะไม่สามารถรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยไว้ได้ในระยะยาว

คู่เงิน USDJPY ฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในรอบหลายวัน ขณะที่ชะลอตัวจากการร่วงลงในรอบสัปดาห์ หลังผู้กำหนดนโยบายจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ปรับลดตัวเลขการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงวิพากษ์วิจารณ์ค่าเงินเยนที่อ่อนตัวลง นอกจากนี้ โอกาสที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนที่เพิ่มสูงขึ้น ยังช่วยให้คู่เงินเยนสามารถทรงตัวจากการปรับลดลงในรอบสัปดาห์ได้อีกด้วย

อีกทางหนึ่ง สกุลเงินกลุ่ม Antipodeans ได้แก่ ดอลลาร์ออสเตรเลีย ดอลลาร์นิวซีแลนด์ และดอลลาร์แคนาดา กำลังอ่อนค่าลง เนื่องจากปัจจัยกดดันหลายประการจากปัญหาเศรษฐกิจของจีนและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวลดลง รวมถึงการขาดสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดจากธนาคารกลางของแต่ละประเทศ

นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบไม่สามารถปรับตัวขึ้นได้แม้จะมีการรายงานการดึงสต๊อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับความต้องการพลังงานที่น้อยลงจากจีน ในขณะที่ ราคาทองคำยังคงมีการดึงกลับจากจุดสูงสุดตลอดกาล ท่ามกลางการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตามทองคำยังมีแนวโน้มปิดสัปดาห์ด้วยการปรับตัวสูงขึ้น สะท้อนถึงสถานะสินทรัพย์ปลอดภัยของตลาด

เมื่อพูดถึงสกุลเงินดิจิทัล BTCUSD และ ETHUSD ยังขาดแรงผลักดันขาขึ้น แต่ยังมีแนวโน้มที่จะมีปรับตัวสูงขึ้นเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน ท่ามกลางความคึกคักของตลาดคริปโต ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ได้รับความสนใจมากในช่วงหลังคือ การที่ความนิยมของ Donald Trump ขึ้นนำในผลสำรวจคะแนนเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และการเปิดตัว spot ETH ETF

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันดิบ WTI ยังคงปรับลดลงเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน โดยลดลง 0.20% ระหว่างวันไปที่ประมาณ $82.10
  • ทองคำ (Gold) ชะลอการปรับตัวขึ้นในรอบสัปดาห์ โดยร่วงลงติดต่อกันสามวัน ขณะที่ลดลง 0.90% ในรอบวันไปที่ประมาณ $2,423
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) ขยายการดีดตัวขึ้นของวันก่อนหน้าจากระดับต่ำสุดในรอบสี่เดือน โดยมีราคาเสนอซื้อเป็นบวกที่ประมาณ 104.30
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดลบ ตลาดหุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ปรับตัวลดลง ขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร ยังคงปรับตัวลงในช่วงเปิดการซื้อขาย
  • BTCUSD และ ETHUSD ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจนที่ประมาณ $64,200 และ $3,420 ตามลำดับ ในขณะที่พยายามรักษาระดับการพุ่งสูงขึ้นเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

ท่าทีของ ECB และความเชื่อมั่นที่ผันผวน ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯดีดตัวสูงขึ้น...

ความไม่แน่นอนทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐฯ ประกอบกับธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ยังไม่มีแนวทางในการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดที่ชัดเจน และการยอมรับมากขึ้นว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อาจเลื่อนการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน ด้วยเหตุนี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 สัปดาห์

เมื่อวานนี้ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ดำเนินการสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด โดยยังคงนโยบายการเงินแบบเดิมเอาไว้ นอกจากนี้ ธนาคารกลางยุโรปยังปฏิเสธเสียงเรียกร้องเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนอีกด้วย โดยเน้นย้ำถึงการตัดสินใจที่ยังยึดตามข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการรายงานออกมา อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปที่อ่อนแอลงเมื่อไม่นานมานี้ ประกอบกับการที่ธนาคารกลางยุโรปไม่ได้แสดงความมุ่งมั่นอย่างชัดเจนในการรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด และทำให้คู่เงิน EURUSD ร่วงลงจากระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน

นอกเหนือไปจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับธนาคารกลางยุโรป (ECB) แล้ว ความตึงเครียดทางการเมืองที่เข้มข้นขึ้นในสหรัฐฯ ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจของจีน และดัชนีการผลิตของธนาคารกลางสหรัฐฯประจำฟิลาเดลเฟียที่ปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 เดือน ยังส่งผลให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ฟื้นตัวจากการร่วงลงก่อนหน้าและปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง ที่น่าสังเกตคือ คำแนะนำของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปจนถึงปลายปี 2024 ยิ่งช่วยหนุนการดีดตัวขึ้นตัวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ

นอกจากนี้ รายงานเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ประธานาธิบดี Joe Biden ของสหรัฐฯจะถอนตัวจากการเลือกตั้งประธานาธิบดี และการรายงานที่ไม่น่าประทับใจนักจากการประชุมเต็มคณะครั้งที่สามของจีน ยังท้าทายสภาวะการพร้อมรับความเสี่ยงของตลาดในเช้าวันศุกร์อีกด้วย

แม้ปัจจัยสำคัญทางเศรษฐกิจที่กล่าวไปข้างต้น จะช่วยให้ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นและท้าทายช่วงแนวโน้มขาขึ้นของคู่เงิน EURUSD แต่คู่เงิน GBPUSD กลับไม่ได้รับแรงหนุนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหราชอาณาจักรที่พุ่งสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี เนื่องจากตัวเลขการจ้างงานที่ออกมาในหลากหลายทิศทาง ส่งผลให้เงินปอนด์สเตอร์ลิงอ่อนค่าลงต่อเนื่องจากจุดสูงสุดในรอบปีในวันก่อนหน้า ก่อนที่จะมีการเปิดเผยข้อมูลยอดค้าปลีกของสหราชอาณาจักร

ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน USDJPY ปรับตัวสอดคล้องกับการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ยังคงมีแนวโน้มที่จะร่วงลงเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน ท่ามกลางสัญญาณเงินเฟ้อที่ผสมผสานจากญี่ปุ่น นอกจากนี้ ความเห็นจากผู้กำหนดนโยบายของญี่ปุ่นที่วิพากษ์วิจารณ์ค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง ซึ่งส่งผลต่อความกังวลของตลาดเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ยังดึงดูดแรงเทขายคู่เงินเยนอีกด้วย นอกเหนือไปจากนั้น การแทรกแซงตลาดเพื่อปกป้องค่าเงินเยนของญี่ปุ่น ยังส่งผลกระทบต่อคู่เงิน USDJPY แม้ว่าจะมีการฟื้นตัวขึ้นล่าสุดก็ตาม ในขณะเดียวกัน การที่รัฐบาลญี่ปุ่นปรับลดการประมาณการการเติบโตสำหรับปีงบประมาณปัจจุบันที่สิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2025 ก็ดูเหมือนจะส่งผลดีต่อการฟื้นตัวล่าสุดของคู่เงินเยนด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ คู่เงิน AUDUSD ร่วงเป็นวันที่ 5 ติดต่อกัน ขณะที่ คู่เงิน NZDUSD ขยายการปรับลดลงจากวันก่อนหน้าแตะจุดต่ำสุดใหม่ในรอบ 2 เดือน ทว่า คู่เงิน USDCAD กลับมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นเป็นสัปดาห์แรกในรอบ 6 สัปดาห์ ท่ามกลางราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลงและความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางแคนาดา (BoC) ในช่วงปลายปี 2024

โดยราคาน้ำมันดิบแบกรับภาระจากปัญหาเศรษฐกิจของจีนและการแข็งค่าขึ้นล่าสุดของดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ราคาทรุดตัวลงเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำยังคงร่วงลงเป็นวันที่สามติดต่อกันเช่นกัน แต่ยังคงอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน เนื่องจากความไม่แน่นอนในตลาดทำให้เทรดเดอร์หันมาลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY, US Dollar, Silver
  • สัญญาณขายแรง: AUDUSD, NZDUSD, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold, DJI30, USDCNH
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, EURUSD, Crude Oil

ยอดค้าปลีกสหราชอาณาจักร/แคนาดา, การประชุมของ Fed และข่าวภูมิรัฐศาสตร์อยู่ในความสนใจ

หลังจากที่ได้เห็น 'Turnaround Thursday' แล้ว เทรดเดอร์ยังคงมองหาสัญญาณเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed และการถอนตัวจากการแข่งขันการลงเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯของประธานาธิบดีสหรัฐฯ Joe Biden เพื่อรักษาระดับการฟื้นตัวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่ต้องติดตามคือ ความเคลื่อนไหวทางภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลาง ในขณะเดียวกัน ยอดค้าปลีกรายเดือนจากสหราชอาณาจักรและแคนาดาก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งสำหรับทิศทางตลาดระหว่างวัน

สรุปภาพรวม ตลาดยังอยู่ในภาวะ consolidation และยังช่วยหนุนการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯต่อเนื่องจากเมื่อวานนี้ ในอีกทางหนึ่งกลับอาจส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์และสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans ด้วยเช่นกัน

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !