ก่อนจะไปทำความรู้จักนโยบายการคลัง ทุกท่านจะต้องเข้าทำความเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานของระบบการเงิน (Financial infrastructure) ก่อน เนื่องจากเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ทำให้สภาวะเศรษฐกิจมีความสมบูรณ์แบบ พูดง่ายๆ ก็คือ นโยบายการคลังเป็นข้อกำหนดที่รัฐสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้อย่างราบรื่น โดยเงินภาษีที่เราจ่ายกันทุกปีก็เป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักของนโยบายการคลังเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เพื่อทำความเข้าใจนโยบายการคลังให้มากขึ้น ลองมาดูปัจจัยอื่นๆ ที่มีความสำคัญต่อนโยบายการคลังและช่วยกระตุ้นสภาวะเศรษฐกิจได้
ในบทความวันนี้ เราจะมาหาคำตอบกันว่านโยบายการคลังคืออะไร แล้วรัฐบาลสามารถนำเสนออะไรผ่านนโยบายการคลังได้บ้าง พร้อมองค์ประกอบสำคัญต่างๆ ของนโยบายการคลัง ที่ทำให้นโยบายการคลังแตกต่างจากนโยบายการเงิน
นโยบายการคลัง (Fiscal policy) คือ นโยบายที่รัฐใช้ในการควบคุมหรือขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพื่อทำให้เศรษฐกิจมีการเติบโตและมีความมั่นคง โดยการนำเงินภาษีที่เก็บจากประชาชนมาเป็นเครื่องมือในการออกนโยบายการคลัง หลักการนโยบายการคลังเริ่มต้นใช้ในสหราชอาณาจักรจากไอเดียของนักเศรษฐศาสตร์อย่าง John Maynard Keynes ซึ่งเป็นแนวคิดที่ส่งผลต่อปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ, ภาวะเงินเฟ้อ, อุปสงค์และอุปทาน และอัตราการจ้างงาน เป็นต้น
หลักการสำคัญของนโยบายการคลังนั้นไม่เพียงแค่เพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้ดีขึ้น แต่ยังช่วยป้องกันสภาวะเศรษฐกิจจากวิกฤติต่างๆ (เช่น ภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือการควบคุมอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ) และสร้างสเถียรภาพทางเศรษฐกิจ
รัฐบาลมีเครื่องมือพื้นฐาน 2 อย่างที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายหลักของนโยบายการคลัง ดังนี้:
ยิ่งรัฐบาลใช้เงินมากเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสที่กระแสเงินสดจะกลับคืนมายังเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้ความต้องการสินค้าที่ผลิตโดยภาคเอกชนและผู้ให้บริการเพิ่มขึ้น
ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลจะมีเครื่องมือหลัก 2 อย่าง ได้แก่ นโยบายการคลังและนโยบายการเงิน ซึ่งแม้นโยบายทั้งสองอาจมีคล้ายกัน แต่ก็มีความแตกต่างที่สำคัญบางประการ ดังนี้:
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะใช้เครื่องมือที่แตกต่างกัน แต่นโยบายทั้งสองก็มีเป้าหมายเดียวกัน คือ การพัฒนาสภาวะทางเศรษฐกิจ และให้เศรษฐกิจมีการเคลื่อนไหวและเติบโตอย่างราบรื่น
บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน