วันจันทร์ ตลาดมีความผันผวนหลังดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นจากการรายงานข่าวที่ระบุว่า ทรัมป์จะดำเนินการเรียกเก็บภาษีนำเข้ากับแคนาดา เม็กซิโก และจีน อย่างไรก็ดี บรรยากาศการซื้อขายในตลาดเริ่มปรับตัวดีขึ้นเมื่อรัฐบาลทรัมป์เลื่อนการจัดเก็บภาษีกับแคนาดาและเม็กซิโกออกไป ขณะที่จีนยังคงแสดงท่าทีระมัดระวัง ซึ่งส่งผลให้ความกังวลเรื่องสงครามการค้าลดลง แม้ความกังวลจะผ่อนคลายลง แต่ข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ และท่าทีเชิงเข้มงวดทางนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยังคงหนุนให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าอย่างต่อเนื่องในวันอังคารนี้
คู่เงิน EURUSD เผชิญแรงกดดันจากท่าทีสนับสนุนการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ขณะที่ คู่เงิน GBPUSD ยังคงประสบปัญหาท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร โดยคู่เงิน USDJPY ได้รับแรงหนุนหลังธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) แสดงท่าทีสนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดน้อยกว่าที่คาด ทางด้านสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD) และดอลลาร์นิวซีแลนด์ (NZD) ยังคงอ่อนค่าจากความกังวลเรื่องสงครามการค้า ในขณะที่ คู่เงิน USDCAD พุ่งสูงขึ้นจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับลดลงและแนวโน้มการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางแคนาดา (BoC)
ทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยที่ได้รับความนิยม ขณะที่ ราคาน้ำมันดิบร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบหนึ่งเดือน แม้ว่าทรัมป์จะแสดงมุมมองเชิงบวกต่อการซื้อขายในตลาดคริปโต ถึงกระนั้น ทั้ง Bitcoin และ Ethereum ยังคงเผชิญแรงกดดันจากแรงเทขายเนื่องจากนักลงทุนกำลังรอจังหวะเข้าซื้อที่ดีกว่า
แม้ดอลลาร์สหรัฐฯจะกลับมาอ่อนค่าลงในวันจันทร์ แต่การรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของยุโรปที่ผสมผสานกันในหลากหลายทิศทาง ประกอบกับท่าทีของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ส่งสัญญาณถึงความเป็นไปได้ที่จะยังคงปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมได้ส่งผลกระทบให้คู่เงิน EURUSD ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบสามสัปดาห์ โดยปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่เจ็ด
ทางด้านคู่เงิน GBPUSD กลับมาฟื้นตัวเล็กน้อยหลังจากร่วงลงติดต่อกันสองวัน ด้วยแรงหนุนจากดัชนี PMI ของสหราชอาณาจักรที่แข็งแกร่งกว่าที่คาดการณ์ไว้ และดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลง อย่างไรก็ตาม ความกังวลครั้งใหม่เกี่ยวกับเศรษฐกิจอังกฤษ รวมถึงการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม ยังคงกดดันให้ค่าเงินปอนด์ (GBP) เผชิญแรงเทขายอีกครั้ง
คู่เงิน USDJPY ยังคงทำหน้าที่เป็นตัวชี้วัดความเสี่ยงในตลาด โดยได้รับแรงหนุนจากดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้น และความคาดหวังว่าความตึงเครียดทางการค้าจะไม่รุนแรงถึงขั้นเกิดสงครามการค้าเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ ความคิดเห็นของคาซึโอะ อูเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ยังส่งผลต่อสถานการณ์โดยรวมด้วยเช่นกัน โดยเขาย้ำเป้าหมายของ BoJ ในการรักษาอัตราเงินเฟ้อที่ 2% อย่างยั่งยืน ซึ่งทำให้ความหวังเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งใหญ่ของ BoJ ลดลง
สกุลเงินที่เชื่อมโยงกับสินค้าโภคภัณฑ์ยังคงเผชิญแรงกดดัน แม้ตลาดจะมีความเชื่อมั่นเชิงบวกมากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลทรัมป์ยังไม่ได้ยกเลิกการจัดเก็บภาษีนำเข้ากับจีน ซึ่งเป็นผู้บริโภคสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ที่สุดของโลก อย่างไรก็ตาม การที่จีนไม่ได้แสดงท่าทีตอบโต้ที่รุนแรง รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน ล้วนช่วยจำกัดการปรับลดลงของสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย ดอลลาร์นิวซีแลนด์ และดอลลาร์แคนาดา ถึงกระนั้น คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ยังคงปรับลดลง หลังจากดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นปี 2020 ขณะที่ คู่เงิน USDCAD พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2003 โดยราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลง ร่วมกับความกังวลเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางแคนาดา (BoC) และความไม่แน่นอนทางการเมืองในออตตาวา (Ottawa) นั้นยังคงกดดันค่าเงินดอลลาร์แคนาดา (CAD)
ราคาทองคำพยายามรักษาระดับราคาจากการปรับตัวขึ้นสามวันติดต่อกัน หลังเกิดการดึงกลับจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ถึงกระนั้นทองคำก็ยังคงเป็นที่นิยมของนักลงทุนที่มองหาสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีนำเข้าของทรัมป์ และนโยบายการเงินจากธนาคารกลางหลายแห่ง โดยบรรยากาศการลงทุนที่ระมัดระวังก่อนการประกาศตัวเลขรายงานการจ้างงานของสหรัฐฯในวันศุกร์ยังช่วยสนับสนุนราคาทองคำ
ในทางกลับกัน ราคาน้ำมันดิบกลับไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข่าวที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเชลล์ออยล์ (Shale Oil) ของสหรัฐฯ และการที่ซาอุดีอาระเบียปฏิเสธการเรียกร้องให้เพิ่มกำลังการผลิตของทรัมป์ โดยราคาน้ำมันดิบพลิกกลับการปรับตัวขึ้นในช่วงแรก โดยร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบหนึ่งเดือน เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความต้องการพลังงานที่ลดลง ขณะที่อุปทานเพิ่มสูงขึ้น
Bitcoin (BTCUSD) และ Ethereum (ETHUSD) เกิดการดึงกลับของระดับราคา โดยกลับตัวจากการฟื้นตัวในวันก่อนหน้า เนื่องจากได้รับผลกระทบจากความกังวลเรื่องสงครามการค้า และดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่า นอกจากนี้ บรรยากาศการลงทุนที่หลีกเลี่ยงความเสี่ยง และการชะลอตัวของเงินทุนที่ไหลเข้าสู่กองทุน ETF ยังยิ่งสร้างแรงกดดันมากขึ้น ประกอบกับการที่นักลงทุนยังรอจังหวะที่ดีกว่าในการเข้าซื้อ
การตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินมาตรการภาษีนำเข้าของสหรัฐฯจะมีผลต่อทิศทางตลาด เป็นผลให้นักลงทุนจึงยังต้องติดตามการรายงานข่าวสารอย่างใกล้ชิด โดยมีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญเพิ่มเติมได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อสินค้าจากโรงงาน (Factory Orders) และตำแหน่งงานว่าง JOLTS ประจำเดือนธันวาคม หากรัฐบาลทรัมป์ปรับลดภาษีนำเข้าจากจีน อาจส่งผลให้ตลาดมีบรรยากาศการซื้อขายที่ดีขึ้นและช่วยสนับสนุนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ ในกรณีที่ข้อมูลเศรษฐกิจมีการรายงานในทิศทางเชิงบวกก็อาจยิ่งหนุนให้ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น ซึ่งจะกดดันคู่เงิน EURUSD คู่เงิน GBPUSD รวมถึงสกุลเงินที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ และราคาน้ำมันดิบหาก OPEC+ ยังคงกำลังการผลิตตามเดิม ในทางกลับกัน ทองคำและเงินเยนอาจกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง หากตลาดยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอน
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด!