เช้าวันพุธ ตลาดยังคงมีทิศทางที่ไม่ชัดเจนประกอบกับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่ดี และความกังวลเกี่ยวกับท่าทีที่แข็งกร้าวของ Fed ที่จะตรึงดอลลาร์สหรัฐฯให้แข็งค่าต่อไป อย่างไรก็ตาม การพักการเทรดเพื่อรอดูข้อมูลสำคัญประจำสัปดาห์นี้ และความกังวลที่แพร่หลายเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในเดือนมิถุนายนล้วนเป็นความท้าทายต่อช่วงแนวโน้มขาขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯ
ด้วยเหตุนี้ คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD จึงยังคงได้รับแรงกดดัน ในขณะที่ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ขยายการฟื้นตัวจากวันก่อนหน้าอย่างไม่แน่ชัดนัก ทางด้านของคู่เงิน USDJPY ยังคงรักษาระดับการฟื้นตัวจากช่วงต้นสัปดาห์โดยแตะที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1990 ขณะที่ คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ได้รับผลกระทบจากดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้นและบรรยากาศที่ระมัดระวังของนักลงทุนในตลาด
อีกทางด้านหนึ่ง ราคาทองคำพยายามรักษาระดับการฟื้นตัวในช่วงสองวันก่อนหน้า ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงกดดันหลังจากการกลับตัวจากการพุ่งสูงขึ้นเมื่อวันจันทร์ ท่ามกลางความกังวลด้านพลังงานที่ปรับลดลง
ทางฝั่งของ BTCUSD อยู่ในแนวโน้มขาขึ้นห้าวัน ในขณะที่ ETHUSD มีราคาเสนอซื้อเป็นบวกโดยพลิกกลับจากการดึงกลับของวันก่อนหน้าจากระดับสูงสุดในรอบสัปดาห์
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ตัวเลขคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯที่แข็งแกร่งในวันก่อนหน้าประกอบกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค CB และดัชนีการผลิตของธนาคารกลางสหรัฐฯประจำดัลลัสและริชมอนด์ที่อ่อนแอลง สร้างความสับสนให้กับนักเทรดดอลลาร์สหรัฐฯก่อนการเปิดเผยตัวเลข GDP ไตรมาส 4 ของสหรัฐฯและดัชนีราคา PCE พื้นฐาน ซึ่งเป็นตัววัดอัตราเงินเฟ้อที่ Fed ให้ความสำคัญ อย่างไรก็ตาม ข่าวที่แสดงความเสี่ยงเชิงลบได้หนุนความแข็งแกร่งของดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะเดียวกัน ความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าก็ท้าทายความเชื่อมั่นในตลาดและสร้างแรงหนุนต่อดอลลาร์สหรัฐฯด้วยเช่นกัน อีกทางด้านหนึ่ง จีนได้ร้องเรียนต่อองค์การการค้าโลก (WTO) เกี่ยวกับเงินอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของสหรัฐฯ และจากกระแสข่าวล่าสุด คาดการณ์ว่าจีนมีโอกาสชนะ แต่อย่างไรก็ตาม คดีนี้อาจจะยืดเยื้อเป็นเวลานาน และสหรัฐฯอาจใช้ประเด็นด้านความมั่นคงของชาติมาเป็นข้อต่อสู้ ซึ่งในทางกลับกัน ทางฝั่งยุโรปก็มีการวางแผนที่จะเก็บภาษีรถยนต์ไฟฟ้าจีนย้อนหลัง ทำให้ปักกิ่งตกอยู่ในภาวะสงครามการค้าสองด้าน ซึ่งอาจจะทำให้โอกาสที่จะชนะนั้นลดลง
ในอีกทางหนึ่ง ความหายนะทางภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลาง รัสเซีย และยูเครน ยังท้าทายการมองโลกในแง่ดีของตลาด และเป็นผลให้แรงเทซื้อ USD ยังคงมีความหวัง
เมื่อพิจารณาถึงความแข็งแกร่งของเงินดอลลาร์สหรัฐฯและความวิตกกังวลของตลาด ราคาทองคำยังคงผันผวน ขณะที่สัญญาณเชิงบวกจากจีนได้ช่วยพยุงราคาทองคำด้วยเช่นกัน
ในเช้าวันนี้ ตัวเลขกำไรภาคอุตสาหกรรมของจีนที่แข็งแกร่ง โดยปรับตัวสูงขึ้น 10.2% ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ เมื่อเทียบกับการรายงานก่อนหน้า -2.3% ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เมื่อร่วมกับความคาดหวังที่จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากจีน และบรรยากาศที่ผ่อนคลายมากขึ้นในตลาดจากการคาดการณ์ว่า Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนยังช่วยสร้างความหวังให้กับแรงเทซื้อทองคำอีกด้วย
อีกทางด้านหนึ่ง สมาชิกคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) Naoki Tamura กล่าวว่า "จากแนวโน้มเศรษฐกิจและราคาในปัจจุบัน BOJ มีแนวโน้มที่จะคงนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไปในระยะปัจจุบัน" เมื่อปัจจัยนี้ประกอบกับดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้นจึงส่งผลให้ราคาคู่เงิน USDJPY พุ่งแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990
นอกจากนี้ ตัวเลขดัชนี CPI รายเดือนของออสเตรเลียประจำเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 3.4% YoY เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.5% ขณะที่ ดัชนี CPI พื้นฐาน เพิ่มขึ้นจาก 3.8% เป็น 3.9% YoY เช่นเดียวกับดัชนี CPI รายเดือน เพิ่มขึ้นจาก 0.4% เป็น 0.5% MoM
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังของนิวซีแลนด์ได้ออกมาปรับลดการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อสำหรับปีงบประมาณ (FY) 2024 เหลือ 3.3% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 4.1% นอกจากนี้ รายงานอัปเดทประจำครึ่งปียังคาดการณ์การเติบโตของ GDP ประจำปีสำหรับปีงบประมาณ 2024 ไปที่ 0.1% ซึ่งลดลงจากตัวเลขการคาดการณ์เดิมที่ 1.5%
อีกทั้ง ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงหลังพุ่งสูงขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ หลังจากผลสำรวจปริมาณคงคลังน้ำมันดิบประจำสัปดาห์จากสถาบันปิโตรเลียมแห่งอเมริกา (API) พบว่ามีปริมาณคงคลังเพิ่มขึ้นถึง 9.337 ล้านบาร์เรล ซึ่งสูงกว่าการลดลงของสัปดาห์ก่อนที่ 1.519 ล้านบาร์เรล และตัวเลขที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ -1.3 ล้านบาร์เรล นอกเหนือไปจากปริมาณคงคลังน้ำมันดิบประจำสัปดาห์แล้ว รายงานที่ระบุว่ากลุ่ม OPEC+ จะไม่มีการปรับเปลี่ยนการผลิตจนถึงเดือนมิถุนายน ยังส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันดิบอีกด้วย โดยการรายงานดังกล่าวยังท้าทายข่าวสารช่วงสุดสัปดาห์ที่ระบุว่า รัสเซียกำลังผลักดันให้บริษัทพลังงานภายในประเทศลดการผลิตน้ำมันดิบเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการลดกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC+
การขาดแคลนข้อมูล/เหตุการณ์สำคัญในวันพุธ ประกอบกับบรรยากาศการระมัดระวังก่อนการเปิดเผยตัวเลข GDP ไตรมาส 4 ของสหรัฐฯในวันพฤหัสบดีและดัชนีราคา PCE พื้นฐานในวันศุกร์จะจำกัดการเคลื่อนไหวของตลาด สิ่งเดียวกันนี้อาจช่วยให้ช่วงแนวโน้มขาขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯยังคงควบคุมตลาดและสร้างแรงกดดันด้านลบต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะทองคำและน้ำมันดิบ
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !