ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ตลาดยังคงเคลื่อนไหวอย่างจำกัด เนื่องจากบรรยากาศการซื้อขายที่มีความระมัดระวังก่อนการรายงานผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ความคึกคักในตลาดหุ้น Wall Street จากวันก่อนหน้าลดลง ร่วมกับข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯมีทิศทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ยังคงปรับลดลง ท่ามกลางความหวังที่ Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเร็วขึ้นและการลดค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (devaluation) ในอนาคต หาก Donald Trump ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯอีกครั้ง ซึ่งโอกาสที่เกิดขึ้นยิ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงหลัง
การอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐฯ ประกอบกับโอกาสที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะยุติการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดที่เพิ่มมากขึ้นนั้นยังเป็นปัจจัยที่ขับเคลื่อนราคาคู่เงิน EURUSD ในขณะที่ คู่เงิน GBPUSD แกว่งตัวอยู่ที่จุดสูงสุดในรอบปี ท่ามกลางรายงานตัวเลขการจ้างงานของสหราชอาณาจักรที่มีการรายงานออกมาในหลากหลายทิศทาง และการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะมีท่าทีที่เข้มงวดมากขึ้นในการดำเนินนโยบายการเงิน โดยคู่เงิน USDJPY ปรับตัวลงแตะระดับต่ำสุดในรอบหลายวัน เนื่องจากการแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของญี่ปุ่น
คู่เงิน AUDUSD ค่อยๆฟื้นตัวขึ้น ขณะที่ คู่เงิน NZDUSD และคู่เงิน USDCAD กลับไม่ได้รับแรงหนุนจากดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนตัวลง ท่ามกลางความกังวลที่กำลังปรากฏขึ้นในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ อันเกิดจากความรู้สึกที่หลากหลายเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน
แม้ว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังจะลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจในจีนยังคงท้าทายแรงเทซื้อน้ำมัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยจากการร่วงลงประจำสัปดาห์ ในขณะเดียวกัน รายงานที่ว่าธนาคารประชาชนจีน (PBoC) จะกลับมาซื้อทองคำอีกครั้ง หลังจากหยุดพักการซื้อไปเป็นเวลาสองเดือน ประกอบกับการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ ยังส่งผลให้แรงเทซื้อทองคำ (XAUUSD) ยังคงอยู่ในภาวะได้เปรียบ
ถึงแม้ว่า BTCUSD และ ETHUSD จะปิดตลาดในแดนลบในวันก่อนหน้า แต่ทั้งคู่ยังคงมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นเป็นสัปดาห์ที่สอง ปัจจัยดังกล่าวสะท้อนถึงความคาดหวังเชิงบวกก่อนการเปิดตัว Ethereum ETF ที่อาจเกิดขึ้นในวันอังคาร รวมถึงความหวังที่จะได้เห็นนโยบายที่เป็นมิตรต่อการเทรดมากขึ้น ท่ามกลางโอกาสที่ Donald Trump จะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯอีกครั้งมีแนวโน้มสูงขึ้น
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
แม้ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมและตัวเลขตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯในเดือนมิถุนายนจะปรับตัวดีขึ้น แต่ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) กลับอ่อนตัวลงมากที่สุดในรอบ 5 สัปดาห์ ขณะที่ทดสอบระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯมาจากการคาดการณ์ว่า Fed จะสนับสนุนการผ่อนคลายนโยบายการเงินและความไม่แน่นอนทางการเมืองก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำนิวยอร์ก John Williams ให้สัมภาษณ์กับ Wall Street Journal ว่า “การปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาจมีความจำเป็นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า” ในทำนองเดียวกัน ผู้ว่าการธนาคารกลาง Christopher Waller ยังกล่าวอีกว่า จากการวิเคราะห์สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น ช่วงเวลาที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนั้นใกล้เข้ามาแล้ว นอกจากนี้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำริชมอนด์ Thomas Barkin ยังระบุว่า “การปรับลดอัตราดอกเบี้ย 25 เบสิสพอยต์ ไม่มีผลอะไรมากนัก ประเด็นสำคัญคือ เมื่อไหร่ที่จะเปลี่ยนทิศทางการสื่อสาร”
โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า รายงาน Beige Book ประจำเดือนของธนาคารกลางสหรัฐฯ ระบุถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง และมีสัญญาณบ่งชี้ที่เพิ่มมากขึ้นว่าบางพื้นที่กำลังเผชิญกับภาวะถดถอยหรือการเติบโตที่ช้าลง
ในทางการเมือง แรงกดดันที่กำลังเพิ่มขึ้นต่อประธานาธิบดีสหรัฐฯคนปัจจุบัน Joe Biden ให้ลงจากตำแหน่งเนื่องจากเหตุผลด้านสุขภาพ ยังช่วยให้ผู้สมัครคู่แข่งอย่าง Donald Trump ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น โดยปัจจัยนี้ยังผลักดันความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีน รวมไปถึงการลดค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (devaluation) ด้วยเช่นกัน
อีกทางด้านหนึ่ง ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนตัวลง ร่วมกับปัจจัยสำคัญทางเศรษฐกิจอื่นๆที่ส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้นนั้นได้ส่งผลให้สกุลเงินหลักอื่นๆขยับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การดึงกลับของตลาดหุ้น Wall Street ยังท้าทายความเชื่อมั่นเชิงบวกอีกด้วย
ทางด้านคู่เงิน EURUSD ในช่วงแรกของการคาดการณ์ อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนในเดือนมิถุนายนยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ประกอบกับการคาดการณ์เกี่ยวกับแถลงการณ์ที่มีท่าทีสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดของประธานธนาคารกลางยุโรป Christine Lagarde และแนวโน้มการดำเนินการผ่อนคลายนโยบายการเงินที่เพิ่มขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ของธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังส่งผลให้ราคาคู่เงิน EURUSD พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบ 4 เดือน
ในทางกลับกัน คู่เงิน GBPUSD พุ่งสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดใหม่นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2023 ขณะที่เทรดเดอร์ลดการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ในเดือนสิงหาคมลง เนื่องจากข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักรปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม รายงานการจ้างงานของสหราชอาณาจักรในวันนี้ที่ออกมาในหลากหลายทิศทางที่ผนวกกับการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯยัง ส่งผลกระทบต่อช่วงแนวโน้มขาขึ้นที่ระดับสูงสุดในรอบปี
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านการเงินของญี่ปุ่น Masato Kanda ให้สัมภาษณ์กับ Kyodo News ว่า “หากนักเก็งกำไรก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวที่รุนแรงเกินควรในตลาด FX เราก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องตอบสนองอย่างเหมาะสม” ซึ่งการแสดงความเห็นนี้ ช่วยเสริมความเชื่อของตลาดที่ว่า กรุงโตเกียวกำลังใช้โอกาสที่ดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลงเข้าแทรกแซงตลาดเพื่อชะลอการปรับลดลงของค่าเงินเยนที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการค้าของญี่ปุ่นประจำเดือนมิถุนายนที่ตกต่ำ ส่งผลให้คู่เงิน USDJPY มีการฟื้นตัวขึ้นจากจุดต่ำสุดในรอบ 6 สัปดาห์ ก่อนที่แรงเทขายจะกลับเข้ามาอีกครั้งก่อนช่วงตลาดยุโรปเปิดทำการ
ทั้งนี้ ดอลลาร์ออสเตรเลีย ดอลลาร์นิวซีแลนด์ และดอลลาร์แคนาดา ดูเหมือนจะเป็นข้อยกเว้น และมีแนวโน้มที่จะปิดตลาดรายสัปดาห์ด้วยการอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ท่ามกลางปัญหาทางเศรษฐกิจของจีน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการจ้างงานและอัตราเงินเฟ้อที่ผสมผสานกันจากออสเตรเลียและแคนาดา ยังช่วยหนุนเสียงเรียกร้องให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ขณะที่ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) ลังเลที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม ประกอบกับข้อมูลสถิติทางเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์ (NZ) ที่ส่วนใหญ่ปรับลดลงนั้นส่งผลกระทบต่อคู่เงิน NZDUSD
นอกจากสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans ราคาน้ำมันดิบก็มีแนวโน้มร่วงลงในรอบสัปดาห์เช่นกัน ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีการฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบเดือน หลังจากรายงานการลดลงของปริมาณคงคลังน้ำมันดิบสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้
ราคาทองคำยังคงแข็งแกร่งแตะระดับสูงสุดตลอดกาลในวันก่อนหน้า ท่ามกลางการรายงานความพร้อมของจีนในการเข้าซื้อทองคำเป็นจำนวนมาก โดยในวันพุธที่ผ่านมา สำนักข่าว Reuters อ้างแหล่งข่าวจากผู้กำหนดนโยบายจีนนิรนามที่ระบุว่า จีนต้องการเพิ่มสัดส่วนทองคำในคลังสำรองจาก 4.9% เป็น 10% ซึ่งจะต้องซื้อทองคำเพิ่มอีก $170 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯตามราคาปัจจุบัน รายงานข่าวยังระบุอีกว่า ปริมาณทองคำที่จีนต้องการซื้อนี้ คิดเป็นประมาณ 70% ของทองคำทั้งหมดที่ขุดได้ทั่วโลกในปีใดก็ตาม และคิดเป็น 70 ล้านออนซ์ ซึ่งมากกว่าปริมาณทองคำที่จีนซื้อทั้งหมดในปีที่แล้วที่ 7 ล้านออนซ์
ทุกคนต่างจับตามองไปที่การประกาศนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันพฤหัสบดีนี้ แม้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะมีแนวโน้มที่จะยังคงมาตรการเดิมไว้ โดยปัจจัยที่ส่งผลให้ตลาดเกิดความกังวลอาจเป็นเพราะข้อมูลเศรษฐกิจของยูโรโซนล่าสุดมีการปรับตัวลง และโอกาสที่เพิ่มขึ้นที่จะได้เห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) หากผู้กำหนดนโยบายไม่สามารถโน้มน้าวการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดได้ ราคาคู่เงิน EURUSD อาจจะชะลอการปรับตัวสูงขึ้นในรอบสัปดาห์ ขณะที่พลิกกลับจากจุดสูงสุดในรอบหลายวัน
นอกเหนือไปจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์ของสหรัฐฯ และดัชนีการผลิตของธนาคารกลางสหรัฐฯประจำฟิลาเดลเฟียยังเป็นข้อมูลที่น่าสนใจของนักลงทุนในตลาดอีกด้วย โดยในอีกทางหนึ่ง สัญญาณยืนยันเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะกลายเป็นสิ่งจำเป็นในการกดดันดอลลาร์สหรัฐฯให้อ่อนค่าลงต่อไป ในทางกลับกัน หากไม่มีสัญญาณดังกล่าว ดอลลาร์สหรัฐฯก็อาจจะสามารถชะลอการร่วงลงในรอบสัปดาห์ที่จุดต่ำสุดในรอบหลายวันได้
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !