หลังจากตลาดมีความผันผวนในช่วงเริ่มต้นสัปดาห์ เทรดเดอร์ต่างเฝ้ารอการรายงานข้อมูลสำคัญทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯประจำสัปดาห์นี้ ขณะเดียวกันก็พยายามมองโลกในแง่ดีกับสัญญาณการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในช่วงเช้าวันอังคาร อย่างไรก็ตาม อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ฟื้นตัวขึ้น ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมือง ยังช่วยหนุนดอลลาร์สหรัฐฯให้แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากการฟื้นตัวเมื่อช่วงวันจันทร์ที่ผ่านมา
การฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯที่สวนทางกับการอ่อนค่าลงของยูโร (EUR) ก่อนการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันพฤหัสบดีนี้ได้ส่งผลกระทบต่อราคาคู่เงิน EURUSD. ในขณะเดียวกัน คู่เงิน USDJPY ก็เตรียมรับมือกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ในเดือนกรกฎาคมเช่นกัน และยังรักษาระดับแรงเทซื้อไว้ได้เนื่องจากนักลงทุนชาวญี่ปุ่นกลับเข้าสู่ตลาดหลังวันหยุดยาว นอกจากนี้ คู่เงิน GBPUSD ยังคงถูกกดดันท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร แม้ว่าจะมีความเชื่อมั่นเชิงบวกทางการเมืองในประเทศก็ตาม
ทางด้านคู่เงิน AUDUSD,คู่เงิน NZDUSD และคู่เงิน USDCAD ต่างได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่โดยรวมแล้วปรับตัวลง เนื่องมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจของจีน และการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯ แม้จะมีการคาดการณ์ว่า Fed จะดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายก็ตาม
ในอีกทางหนึ่ง ราคาน้ำมันดิบยังคงถูกกดดันเป็นวันที่สามติดต่อกัน เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความต้องการที่ลดลงจากจีนและสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน แต่อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำยังคงอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ขณะที่พยายามท้าทายแนวต้านสำคัญ เนื่องจากนักลงทุนต่างแสวงหาที่หลบภัยแบบดั้งเดิมหรือสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน
เมื่อพูดถึงสกุลเงินดิจิทัล โอกาสในการชนะการลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่เพิ่มขึ้นของ Trump กลับมีผลกระทบมากกว่าการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯ และส่งผลให้สกุลเงินดิจิทัลปรับตัวสูงขึ้นไปถึงจุดสูงสุดใหม่ในรอบเดือน กล่าวคือ BTCUSD และ ETHUSD ต่างก็ทำสถิติพุ่งขึ้นรายวันมากที่สุดในรอบแปดสัปดาห์เมื่อวานนี้ ก่อนที่จะท้าทายช่วงแนวโน้มขาขึ้นสี่วันในช่วงเช้าวันอังคาร
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
การถูกลอบสังหารในช่วงสุดสัปดาห์และการยกฟ้องคดีเอกสารลับของ Donald Trump ผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ช่วยเพิ่มโอกาสที่พรรครีพับลิกันจะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งระดับชาติมากขึ้น เหตุการณ์นี้ยังทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มการเก็บภาษีจากจีนสูงยิ่งขึ้น รวมไปถึงการลดค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (Devaluation) นอกจากนี้ โอกาสที่เพิ่มขึ้นในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ปรับลดลงยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ท้าทายแรงเทซื้อดอลลาร์สหรัฐด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ตลาดที่ยังคงอยู่ในภาวะ consolidation ก่อนที่จะมีการเปิดเผยข้อมูลยอดค้าปลีกของสหรัฐฯในวันนี้และการพูดคุยกันของ Fed เพื่อรักษาแนวโน้มการ "ลงจอดอย่างนุ่มนวล" (soft landing) นั้นช่วยให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบ 5 สัปดาห์และสามารถยุติการร่วงลง 3 วันติดต่อกันได้ โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า บรรยากาศการซื้อขายที่มีความระมัดระวังและการฟื้นตัวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรยังช่วยหนุนการปรับตัวขึ้นของ DXY ในเช้าวันอังคารนี้อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อญี่ปุ่นกลับมาเปิดตลาดหลังวันหยุดยาว
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เกือบจะยืนยันการคาดการณ์ของตลาดเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน โดยอ้างถึงการเปลี่ยนแปลงที่น่ายินดีของข้อมูลอัตราเงินเฟ้อและข้อมูลแรงงาน ในขณะเดียวกัน Mary Daly ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำซานฟรานซิสโกยังได้ออกมากล่าวว่า “ฉันมองเห็นการปรับเปลี่ยนนโยบายในช่วงเวลาที่กำลังจะมาถึง” โดยการพูดคุยกันของ Fed และตัวเลขที่น่าผิดหวังของดัชนีภาคการผลิต Empire State ของสหรัฐฯสำหรับเดือนกรกฎาคม ซึ่งอยู่ที่ -6.6 เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ -6.0 และการรายงานก่อนหน้า ย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งสถานการณ์เดียวกันนี้ยังท้าทายการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงเริ่มต้นสัปดาห์จากจุดต่ำสุดในรอบหลายวัน
โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า การที่ Donald Trump พร้อมที่จะเรียกเก็บภาษีเกือบ 60% จากสินค้าจากจีนและดำเนินการลดค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อเพิ่มความต้องการส่งออกนั้นยังทำให้ความเชื่อมั่นในตลาดเปลี่ยนไปในทางลบและเพิ่มข้อจำกัดในการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯ
อีกทั้ง ช่วงเวลานี้ถือเป็นช่วงที่ยากลำบากสำหรับนักเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ เนื่องจากเศรษฐกิจจีนที่ซบเซาลงตามรายงานตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอในวันจันทร์ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันดิบและสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans ท่ามกลางสถานการณ์เหล่านี้ วอลล์สตรีทเจอร์นัล (WSJ) รายงานว่า "คาดการณ์ว่า Xi Jinping จะยังไม่ประกาศเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในระหว่างการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์จีนในสัปดาห์นี้ เนื่องจากเขายังคงมุ่งเน้นไปที่มาตรการเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของจีนมากกว่าเรื่องอื่นๆ"
นอกเหนือไปจากปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจของจีนและการดีดตัวสูงขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯแล้ว แถลงการณ์จากสถาบันปิโตรเลียมแห่งสหรัฐอเมริกา (API) ยังเน้นให้เห็นถึงผลกระทบของแผนการเก็บภาษีของ Trump ต่อตลาดพลังงาน ซึ่งจะกดดันราคาน้ำมันดิบให้ปรับลดลง ด้วยเหตุนี้ ราคาน้ำมันดิบ WTI จึงขยายการปรับตัวลงจากระดับสูงสุดในรอบสัปดาห์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยลดลงต่อเนื่องเป็นเวลา 3 วัน และลดลงครึ่งเปอร์เซ็นต์มาอยู่ที่ประมาณ $81.50 ในเวลาที่เขียนบทความนี้
นอกจากนี้ เมื่อราคาน้ำมันดิบอ่อนตัวลง และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น รวมถึงการสำรวจแนวโน้มทางธุรกิจที่มีคาดการณ์แนวโน้มเชิงลบจากธนาคารกลางแคนาดา (BoC) ยังส่งผลให้คู่เงิน USDCAD พุ่งสูงขึ้นมากที่สุดในรอบสองสัปดาห์ ในทางกลับกัน คู่เงิน AUDUSD กลับยุติแนวโน้มขาขึ้น 4 วัน ขณะที่ คู่เงิน NZDUSD ปิดตลาดด้วยการร่วงลง
ราคาทองคำยังคงแข็งแกร่ง โดยแตะที่ระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน ขณะที่พุ่งชนแนวต้านที่ระดับราคาที่ประมาณ $2,431-34 โดยได้รับแรงหนุนจากการหันเหไปสู่สินทรัพย์ปลอดภัยของนักลงทุนในตลาด เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้แรงเทซื้อทองคำเพิกเฉยต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯที่ปรับตัวสูงขึ้นและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้น รวมถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศจีน
ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน USDJPY ฟื้นตัวขึ้นจากแนวรับ แม้ว่าจะมีช่วงวันหยุดในญี่ปุ่น ทว่าคู่เงิน GBPUSD กลับร่วงลงจากระดับสูงสุดของปี โดยปรับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 วัน เช่นเดียวกันกับคู่เงิน EURUSD ที่ยุติแนวโน้มขาขึ้น 3 วัน และปรับตัวลงระหว่างวัน ขณะที่นักลงทุนในตลาดกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการประกาศนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในสัปดาห์นี้
แม้ว่าสถานการณ์การเมืองในสหรัฐฯจะเป็นที่น่าจับตามองมากที่สุด แต่ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจอื่นๆก็มีความสำคัญเช่นกันอย่างการรายงานยอดค้าปลีกสหรัฐฯรายเดือน ตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของแคนาดา โดยข้อมูลเหล่านี้จะช่วยจะเสนอทิศทางที่สำคัญแก่เทรดเดอร์ในวันอังคารนี้ นอกจากนี้ ผลสำรวจความเชื่อมั่นนักลงทุนเยอรมันและยูโรโซนจากสถาบัน ZEW ก็เป็นอีกสิ่งที่ควรติดตาม ซึ่งรวมไปถึงแถลงการณ์จากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่จะช่วยชี้นำความเคลื่อนไหวของตลาดในอีกทางหนึ่ง
หากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการประชุม Fed สนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน ดอลลาร์สหรัฐฯอาจจะอ่อนค่าลงจากการปรับตัวขึ้นล่าสุด ส่งผลให้สินค้าโภคภัณฑ์และสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans ฟื้นตัวจากการร่วงลงก่อนหน้าได้ สำหรับคู่เงิน EURUSD แม้ดอลลาร์สหรัฐฯจะอ่อนค่าลง เแต่แรงเทขายคู่เงินยูโรอาจจะยังมีไม่มากนัก เนื่องจากตลาดยังรอการรายงานผลการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันพฤหัสบดีที่จะถึงนี้ โดยคู่เงิน USDJPY อาจจะปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ขณะที่ คู่เงิน GBPUSD ยังขาดโมเมนตัมขาขึ้น เนื่องจากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ประกอบกับความเชื่อมั่นเชิงบวกด้านการเมืองในสหราชอาณาจักร
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !