ความเชื่อมั่นของตลาดโลกผันผวนในช่วงต้นวันจันทร์ ท่ามกลางการลดลงของแรงกดดันให้ Fed ทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้และวิกฤติเศรษฐกิจในจีน นอกจากนี้ อีกสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นก็คือ รายงานการจ้างงานของสหรัฐฯในวันศุกร์ที่มีทิศทางเป็นบวกและท่าทีที่ระมัดระวังของตลาดก่อนการรายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯในสัปดาห์นี้ ถึงกระนั้นก็ตาม ดอลลาร์สหรัฐฯก็ยังพยายามรักษาระดับการพุ่งสูงขึ้นครั้งแรกในรอบสี่สัปดาห์ ขณะที่วันหยุดของญี่ปุ่นจำกัดการเคลื่อนไหวของตลาดตราสารหนี้ในเอเชีย
ท่ามกลางความผันผวนเหล่านี้ คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD ยังคงมีความไม่แน่นอน แต่คู่เงิน USDJPY นั้นร่วงลงมากที่สุดในบรรดาคู่สกุลเงินหลัก G10 ในวันศุกร์ อีกทั้ง คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ยังคงถูกกดดันเนื่องจากความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับจีน ขณะที่คู่เงิน USDCAD ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย
นอกจากนี้ ราคาทองคำทดสอบแนวรับขาขึ้นที่มีอายุสามเดือนหลังจากปรับตัวลดลงเป็นสัปดาห์แรกในรอบสี่สัปดาห์ ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบร่วงลงอย่างหนัก เนื่องจากอุปสงค์และอุปทานนั้นบ่งชี้ว่าเอื้อต่อแรงเทขาย
ทางฝั่งของ BTCUSD และ ETHUSD ร่วงลงต่อเนื่องสี่วัน เนื่องจากความเชื่อมั่นในหมู่นักลงทุนคริปโตลดน้อยลง ท่ามกลางการดำเนินการการอนุมัติ Spot ETF ของ SEC สหรัฐฯ
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
น้ำมันดิบได้รับความสนใจจากตลาดโดยร่วงลงเกือบ 1.5% เนื่องจาก Aramco ของซาอุดีอาระเบียได้กล่าวถึงการปรับลดราคาสำหรับทุกภูมิภาค โดยสถานการณ์นี้ร่วมกับการออกจาก OPEC ของแองโกลาและความหวาดกลัวทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับจีนนั้นจะส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันดิบด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ รายละเอียดการจ้างงานของสหรัฐฯในเดือนธันวาคมที่ออกมาดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ยังช่วยให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯหยุดการปรับตัวลดลงติดต่อกันสามสัปดาห์ ซึ่งในทางกลับกันก็ยังช่วยหนุนช่วงแนวโน้มขาลงของราคาน้ำมันด้วยเช่นกัน โดยข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตร (NFP) เพิ่มขึ้นเป็น 2.16K จาก 1.73K (แก้ไข) เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ 170K ในขณะที่อัตราการว่างงานและรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงที่มีตัวเลขอยู่ที่ 3.7% และ 0.4% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของตลาดที่ 3.8% และ 0.3% ตามลำดับ อีกทางด้านหนึ่ง คำสั่งซื้อโรงงานของสหรัฐฯในเดือนพฤศจิกายนยังปรับตัวดีขึ้นเป็น 2.6% เมื่อเทียบกับการประมาณการของนักวิเคราะห์ที่ 2.1% และการรายงานก่อนหน้านี้ที่ -3.4% MoM อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวเลขค่าดัชนี US ISM Services PMI ของเดือนธันวาคมลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบเจ็ดเดือนที่ 50.6 จากที่เผยแพร่ก่อนหน้านี้ที่ 52.7 และที่คาดการณ์ไว้ที่ 52.6 ซึ่งจะจำกัดการปรับตัวสูงขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯในภายหลัง
ทั้งนี้ ตัวเลขข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่ปรับตัวดีขึ้นนั้นได้ลดความเป็นไปได้ที่ Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมกราคมและการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย อีกทั้งยังช่วยหนุนเงินดอลลาร์สหรัฐฯอีกด้วย
โดยในบรรดาผู้กำหนดนโยบายของ Fed นั้น Lorie Logan ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งดัลลัสดูมีท่าทีเอนเอียงไปทางนโยบายการเงินที่แข็งกร้าวขณะกล่าวว่า “เราไม่ควรมองข้ามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากภาวะทางการเงินที่ผ่อนคลายเมื่อเร็วๆ นี้” ในขณะเดียวกัน Thomas Barkin ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งริชมอนด์ได้ออกมากล่าวว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯไม่มีปัญหาที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้กลับสู่ระดับปกติเมื่อมีความเชื่อมั่นว่าเงินเฟ้อกำลังลดลง นอกจากนี้ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ Janet Yellen ยังได้ย้ำคำกล่าวก่อนหน้านี้ของเธอที่อธิบายถึงสภาวะการลงจอดอย่างนุ่มนวล (soft landing) ของเศรษฐกิจสหรัฐฯและได้พยายามหนุนช่วงแนวโน้มขาขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯด้วยเช่นกัน
นอกจากการพูดคุยของ Fed แล้ว ความกังวลในตลาดการเงินของจีนยังส่งผลกระทบราคาน้ำมันอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น Zhongzhi ซึ่งเป็นผู้จัดการความมั่งคั่งภาคการเงินนอกระบบที่สำคัญของจีนได้ล้มละลาย ซึ่งยิ่งทำให้ความกังวลเกี่ยวกับสภาพที่ย่ำแย่ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีนทวีความรุนแรงขึ้น
ในทางกลับกัน การเลือกตั้งทั่วไปที่ใกล้จะมาถึงในไต้หวัน กลายเป็นจุดความกังวลทางภูมิรัฐศาสตร์ ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯกับจีนเกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียนี้ นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศของจีนยังเตรียมรับมือกับการคว่ำบาตรผู้จัดจำหน่ายอาวุธทางทหาร 5 รายในสหรัฐฯ หลังจากวอชิงตันตัดสินใจขายอาวุธให้กับไต้หวัน
หลังจากสัปดาห์ที่ผ่านมาที่มีกิจกรรมทางการเงินมากมาย วันจันทร์นี้จึงมีข้อมูลให้ติดตามน้อยลงและภาวะเฉื่อยชาในตลาดยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในฝั่งเอเชีย เนื่องจากญี่ปุ่นยังไม่มีการทำการซื้อขาย อย่างไรก็ตาม การรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯถือเป็นเหตุการณ์สำคัญของสัปดาห์นี้ ซึ่งช่วยหนุนการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินดอลลาร์ได้ในกรณีที่ตัวเลข CPI ปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ ตลาดได้คาดการณ์ว่ามีความเป็นไปได้สูงมากที่ Fed จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม โดยอาจทำให้ดอลลาร์สหรัฐฯร่วงลงได้หากอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯอ่อนตัวลง
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !