การดีเบตระหว่าง Joe Biden และ Donald Trump ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯกลับไม่ได้เป็นแรงหนุนแก่นักเทรดที่อาศัยโมเมนตัมของตลาดมากนัก เนื่องจากบรรยากาศการซื้อขายที่มีความระมัดระวังยังคงปกคลุมตลาดก่อนการประกาศข้อมูลดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE Price Index) ของสหรัฐฯสำหรับเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ให้ความสำคัญ การเคลื่อนไหวของตลาดยังถูกจำกัดด้วยข่าวภูมิรัฐศาสตร์ที่มีการรายงานในหลากหลายทิศทางจากจีน รัสเซีย และตะวันออกกลาง รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวครั้งต่อไปของธนาคารกลางรายสำคัญทั่วโลก อันเนื่องมาจากข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดจากประเทศเศรษฐกิจหลักที่มีความผันผวน เหนือสิ่งอื่นใด ตลาดที่อยู่ในสภาวะ consolidation จากการปรับพอร์ตการลงทุนในช่วงสิ้นเดือนและสิ้นไตรมาสยังทำให้นักเทรดอยู่ในสภาวะที่ไม่แน่นอนอีกด้วย
ด้วยปัจจัยดังกล่าว ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ขยับตัวขึ้นเตรียมพร้อมสำหรับแนวโน้มขาขึ้นเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ในขณะที่ คู่เงิน EURUSD กำลังฟื้นตัวหลังจากร่วงลงติดต่อกัน 3 สัปดาห์ โดยคู่เงิน GBPUSD ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน ทว่า คู่เงิน USDJPY กลับยังคงปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1986
ทางด้านคู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ยังคงอ่อนค่าลง ในขณะที่ คู่เงิน USDCAD พุ่งสูงขึ้นสี่วันติดต่อกันท่ามกลางสินค้าโภคภัณฑ์และสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans ที่ปรับตัวลง อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำชะลอตัวลงจากการฟื้นตัวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาจากแนวรับสำคัญ โดยที่ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบสองเดือน
เมื่อพูดถึงสกุลเงินดิจิทัล BTCUSD ยังคงปรับตัวลงเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน ขณะที่ ETHUSD มีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 สัปดาห์ท่ามกลางความเชื่อมั่นในตลาดคริปโตที่ผันผวนก่อนการเปิดตัว spot ETH ETF
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ตัวเลขคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯประจำเดือนพฤษภาคม และตัวเลข GDP ไตรมาส 1 ที่มีการปรับล่าสุดนั้นออกมาดีเกินคาด แต่เมื่อเจาะลึกลงไปในรายละเอียด ตัวเลขภาคที่อยู่อาศัย อัตราเงินเฟ้อ และตัวเลขการจ้างงานกลับไม่ค่อยน่าประทับใจนัก ข้อมูลดังกล่าวยังทดสอบช่วงแนวโน้มขาขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯก่อนหน้าการเปิดเผยข้อมูลสำคัญทางเศรษฐกิจในวันนี้ ซึ่งก็คือ ดัชนีราคา PCE พื้นฐานของสหรัฐฯประจำเดือนพฤษภาคม นอกจากนี้ Michelle Bowman สมาชิกคณะกรรมการผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยังได้ออกมากล่าวว่า " Fed ยังไม่พร้อมที่จะพิจารณาการปรับลดอัตราดอกเบี้ย" แต่อย่างไรก็ตาม Raphael Bostic ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำแอตแลนตาได้มีการระบุว่า เขาคาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 1 ครั้งในปีนี้ และอีก 4 ครั้งในปี 2025
นอกเหนือไปจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่มีการรายงานออกมาในหลากหลายทิศทางและการประชุมของ Fed แล้ว ความท้าทายต่อสภาวะการพร้อมรับความเสี่ยงที่เคยมีอยู่ยังคงทดสอบแรงเทซื้อดอลลาร์สหรัฐฯก่อนที่จะดึงดูดให้กลับมาสู่ตลาดอีกครั้ง
เมื่อพูดถึงความเสี่ยงทางการเมือง รองรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ Campbell ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการทหารของจีนในทะเลจีนใต้ ในขณะที่สำนักข่าว NBS รายงานว่าสหรัฐฯกำลังเตรียมอพยพชาวอเมริกันออกจากเลบานอนเนื่องจากความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้น เป็นที่น่าสังเกตว่าการดีเบตครั้งแรกระหว่างประธานาธิบดี Joe Biden และคู่แข่งในการเลือกตั้งทั่วไปอย่าง Donald Trump นั้นไม่เป็นการส่งสัญญาณสำคัญใดๆแก่ตลาด แต่การผลักดันนโยบายต่อต้านจีนของ Trump นั้นกลับได้รับความสนใจและส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น ในขณะเดียวกันก็สร้างแรงกดดันด้านลบต่อตลาดสินค้าโภคภัณฑ์และสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans ในอีกทางหนึ่ง เครือข่ายร้านขายยาที่ใหญ่เป็นอันดับสองของสหรัฐฯได้ส่งสัญญาณเตือนถึงภาวะการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ชะลอตัว ขณะที่กำลังวางแผนที่จะปิดร้านค้าขนาดใหญ่บางสาขา พร้อมทั้งคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อมีโอกาสที่จะปรับลดลง โดยปัจจัยนี้ยังส่งผลสนับสนุนนโยบายการเงินในปัจจุบันของธนาคารกลางสหรัฐฯโดยอ้อมอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) จึงมีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ในช่วงขาขึ้นเป็นสัปดาห์ที่สี่ ขณะที่ขยับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม
แม้ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯจะมีทิศทางออกมาดีเป็นส่วนใหญ่ แต่ตัวเลขจากยูโรโซนกลับไม่น่าประทับใจนัก แต่ก็อาจช่วยหนุนให้คู่เงิน EURUSD สามารถปิดตลาดในแดนบวกได้ โดยการฟื้นตัวของยูโรในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาอาจเกี่ยวข้องกับการอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐฯก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐฯจะแถลงตัวเลขอัตราเงินเฟ้อร่วมกับท่าทีที่แข็งกร้าวในการดำเนินนโยบายของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ความวิตกกังวลในตลาด รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของยูโรโซนและแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังส่งผลกระทบต่อคู่เงินสกุลหลัก ด้าน Peter Kažimír เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป คาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง แต่ยังคงไม่ได้ยืนยันการดำเนินการอื่นใด ซึ่งตรงกับการคาดการณ์ของตลาดที่ว่าจะไม่มีเซอร์ไพรส์สำคัญจากการรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซน โดยตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภค ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ และบรรยากาศทางธุรกิจในเดือนมิถุนายนของยูโรโซนก็ไม่สามารถหนุนความเชื่อมั่นเชิงบวกต่อทวีปยุโรปได้เช่นกัน
ในทางกลับกัน รายงานภาวะความมั่นคงทางการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ชี้ว่าครัวเรือนจำนวนมากในสหราชอาณาจักรต้องเผชิญกับแรงกดดันจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น รายงานยังระบุอีกว่า ราคาสินทรัพย์ในตลาดยังคงมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง ทั้งนี้ Michael Saunders อดีตผู้กำหนดนโยบายของ BoE มีการคาดการณ์ที่แตกต่างไปจากคนอื่นในวันพฤหัสฯ โดยคาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 1 ครั้งในเดือนสิงหาคม และคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (cash rate) จะอยู่ที่ 3.5% ณ สิ้นปี 2025 น่าสังเกตว่า ตัวเลข GDP ไตรมาส 1 ของสหราชอาณาจักร (UK) ที่ปรับตัวดีขึ้นในวันศุกร์ได้ทดสอบแรงเทขายคู่เงิน Cable ในภายหลัง ซึ่งส่งผลให้สัญญาณที่ผันผวนจากสหราชอาณาจักรกดดันคู่เงิน GBPUSD แม้ว่าช่วงแนวโน้มขาลงจะพยายามรักษาระดับไว้ได้ยากก็ตาม
คู่เงิน USDJPY พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1986 แม้ตัวเลขดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นและอัตราเงินเฟ้อโตเกียวจะออกมาดีกว่าที่คาด สถานการณ์นี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงความกังวลของตลาดเกี่ยวกับนโยบายการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวดีขึ้น
อีกทางด้านหนึ่ง การฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯท่ามกลางบรรยากาศการซื้อขายที่ระมัดระวังและท่าทีสนับสนุนนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของ Andrew Hauser รองผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ยังส่งผลกระทบต่อคู่เงิน AUDUSD โดยรองผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลียพยายามลดทอนความสำคัญของตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพฤษภาคมที่สูงกว่าการคาดการณ์ โดย Hauser กล่าวว่า "การกำหนดนโยบายโดยอิงจากตัวเลขเพียงตัวเลขเดียวนั้นเป็นความผิดพลาดใหญ่หลวง"
นอกจากนี้ คู่เงิน NZDUSD ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 6 สัปดาห์โดยปราศจากข่าวสำคัญในประเทศ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับจีนและการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯ รวมถึงความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจนิวซีแลนด์ สำหรับคู่เงิน USDCAD มุ่งหน้าสู่การปิดตลาดในแดนบวกครั้งแรกในรอบ 3 สัปดาห์ โดยพุ่งสูงขึ้นเป็นวันที่ 4 ติดต่อกันจนถึงช่วงเช้าวันศุกร์ อย่างไรก็ตาม คู่เงิน Loonie กลับไม่ตอบสนองต่อราคาที่แข็งแกร่งของสินค้าส่งออกหลักของแคนาดาอย่าง น้ำมันดิบ รวมถึงตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของแคนาดาที่ปรับตัวดีขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ ท่ามกลางแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของธนาคารกลางแคนาดา (BoC) และความกังวลเกี่ยวกับธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่มีท่าทีแข็งกร้าวในการดำเนินนโยบายการเงิน
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน แม้จะมีตัวเลขคงคลังรายสัปดาห์ที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่คาดคิดก็ตาม โดยสาเหตุที่เป็นไปได้คือ ความกังวลเกี่ยวกับภาวะขาดแคลนอุปทานและความพร้อมที่จะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากจีน อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งจากแนวรับสำคัญและมุ่งหน้าสู่การปรับตัวสูงขึ้นในรอบสัปดาห์ แม้ว่าดอลลาร์สหรัฐฯจะฟื้นตัวก็ตาม
ตลาดกำลังจับตามองไปที่การรายงานดัชนีราคา PCE พื้นฐานของสหรัฐฯประจำเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ให้ความสำคัญ ขณะที่นักลงทุนในตลาดต้องการสนับสนุนแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed ตามรายงาน dot plot และยังคงรักษาระดับการถือครองดอลลาร์สหรัฐฯต่อไป ดังนั้น หากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อแรงเทซื้อดอลลาร์สหรัฐฯได้ ถึงกระนั้น แนวโน้มที่ดัชนี PMI ของชิคาโก และตัวเลขรายงานสุดท้ายของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมหาวิทยาลัยมิชิแกนประจำเดือนมิถุนายนจะปรับตัวดีขึ้นนั้นยังคงช่วยให้ดอลลาร์สหรัฐฯอยู่ในเรดาร์ของช่วงแนวโน้มขาขึ้นต่อไป นอกจากนี้ ปฏิกิริยาของตลาดสหรัฐฯต่อการดีเบตระหว่าง Biden-Trump ก็อาจส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯยังคงแข็งค่าขึ้นเช่นกัน นอกจากนั้น ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อล่าสุดจากฝรั่งเศสและสเปน ควบคู่ไปกับข่าวสารด้านการเมืองจากยูโรโซน สหราชอาณาจักร จีน รัสเซีย และตะวันออกกลางจะเป็นปัจจัยที่ดึงดูดความสนใจของเทรดเดอร์ที่อาศัยโมเมนตัมในการเทรดด้วยเช่นกัน
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !