ตลาดโลกยังคงผันผวนในช่วงต้นวันอังคาร หลังจากเริ่มต้นสัปดาห์อย่างซบเซา ขณะที่ เทรดเดอร์กำลังรอคอยการรายงานข้อมูลกิจกรรมเศรษฐกิจประจำเดือนเมษายนครั้งแรกสำหรับประเทศเศรษฐกิจหลัก นอกเหนือไปจากความวิตกกังวลก่อนการรายงานข้อมูลแล้ว การขาดความเคลื่อนไหวของ Fed และปฏิทินเศรษฐกิจที่เบาบางยังส่งผลต่อการจำกัดการเคลื่อนไหวของตลาดในช่วงหลังอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯจึงยังขาดทิศทางที่ชัดเจนหลังจากพุ่งสูงขึ้นในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาขณะที่ คู่เงิน EURUSD พยายามรักษาระดับการฟื้นตัวของสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเมื่อเร็วๆนี้ได้เพิ่มสูงขึ้นจากการรายงานตัวเลขดัชนี PMI ของเยอรมนีและสหภาพยุโรปที่มีทิศทางเป็นบวก อย่างไรก็ตาม คู่เงิน GBPUSD ยังคงมีราคาเสนอซื้อเป็นบวกก่อนการรายงานดัชนี PMI ของสหราชอาณาจักร ในขณะที่ คู่เงิน USDJPY ปรับตัวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวสูงขึ้น แม้ว่าจะขาดโมเมนตัมขาขึ้นที่ระดับสูงสุดในรอบ 34 ปีก็ตาม
ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD กำลังค่อยๆฟื้นตัว ในขณะที่ คู่เงิน USDCAD กดดันฝั่งขาลง ท่ามกลางราคาน้ำมันที่ซบเซา อีกทั้ง ราคาทองคำยังคงถูกกดดันที่แนวรับสำคัญที่ประมาณ $2,310-05 ซึ่งประกอบด้วยเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอกซ์โพเนนเชียล (EMA) 21 วัน และเส้นแนวโน้มขาขึ้นอายุสองเดือน
ควรสังเกตว่า หุ้นมีการเคลื่อนไหวในทิศทางขาขึ้น ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรแกว่งตัวอยู่ภายในกรอบการซื้อขายรายสัปดาห์
ทางฝั่งของ BTCUSD และ ETHUSD ปรับตัวลงจากช่วงต้นสัปดาห์ หลังมีข่าวค่าธรรมเนียมการขุด Bitcoin ปรับลดลงเป็นประวัติการณ์ ท่ามกลางตลาดสกุลเงินดิจิทัลที่ไม่มีการรายงานข่าวเชิงบวก
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ไม่ว่าจะเป็นเพราะการขาดข่าวร้ายแรงที่ส่งผลเชิงลบต่อความเสี่ยงของตลาด หรือช่วง blackout สองสัปดาห์ของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) รวมไปถึงปฏิทินเศรษฐกิจที่เบาบางในวันจันทร์ ดอลลาร์สหรัฐฯก็ยังคงทรงตัวอยู่ภายในกรอบการซื้อขายประจำสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯไม่สามารถตอบสนองต่อแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางสหรัฐฯตามการคาดการณ์ของตลาดและความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีน อย่างไรก็ตาม วอลล์สตรีทเจอร์นัล (WSJ) มีการรายงานข่าวที่บ่งชี้ว่า สหรัฐอเมริกากำลังร่างมาตรการคว่ำบาตรที่อาจตัดธนาคารบางแห่งของจีนออกจากระบบการเงินโลก
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา การรายงานตัวเลขความเชื่อมั่นผู้บริโภคของยูโรโซนในเดือนเมษายนปรับตัวดีขึ้นเป็น -14.7 จาก -14.9 เมื่อเทียบกับที่คาดการณ์ไว้ที่ -14.4 แต่กลับไม่สามารถหนุนช่วงแนวโน้มขาขึ้นของคู่เงิน EURUSD ได้ท่ามกลางความคิดเห็นที่มีท่าทีสนับสนุนการผ่อนคลายนโยบายการเงินจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ทั้งนี้ ผู้ว่าการธนาคารกลางไซปรัสและสมาชิกคณะกรรมการธนาคารกลางยุโรป Christodoulos Patsalides ได้ออกมากล่าวว่า "การตัดสินใจของธนาคารกลางนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูล" นอกจากนี้ สมาคมอุตสาหกรรมเยอรมนี (BDI) ยังมีการระบุว่า ตัวเลขการผลิตของเยอรมนีมีแนวโน้มลดลงอย่างน่ากังวลมาหลายปีแล้ว
ในขณะเดียวกัน คู่เงิน GBPUSD แตะที่ระดับต่ำสุดในรอบปีในระหว่างช่วงที่ราคาปรับตัวลงติดต่อกัน 3 วันเมื่อวันจันทร์ และยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดันที่บริเวณระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน โดยยังคงเผชิญกับแรงกดดันจากความกังวลที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร ซึ่งขัดแย้งกับแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE)
แม้ดัชนี PMI ของญี่ปุ่นจะปรับตัวดีขึ้นในเดือนเมษายน แต่คู่เงิน USDJPY ยังคงแกว่งตัวใกล้กับระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1990 ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) โดยตัวเลขค่าดัชนี PMI ภาคการผลิตของธนาคาร Jibun ของญี่ปุ่นในเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นเป็น 49.9 จาก 48.2 ในขณะที่ ตัวเลขค่าดัชนี PMI ด้านบริการปรับตัวดีขึ้นเป็น 54.6 เมื่อเทียบกับการรายงานครั้งก่อนที่ 54.1 ทั้งนี้ ผู้ว่าการ BoJ Kazuo Ueda ได้ออกมากล่าวว่า “แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อยังค่อนข้างต่ำกว่า 2% ดังนั้นจำเป็นต้องรักษาเงื่อนไขทางการเงินที่ผ่อนคลายในขณะนี้” ในขณะเดียวกันการรายงานข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นที่ชี้ให้เห็นว่าแรงกดดันด้านราคาเริ่มชะลอตัวลงในเดือนมีนาคมนั้นได้สนับสนุนนโยบายการเงินผ่อนคลายของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ด้วยเช่นกัน
ในอีกทางหนึ่ง ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจออสเตรเลียมีความผันผวน คู่เงิน AUDUSD ยังสามารถรักษาการฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในรอบปีไว้ได้ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับความคาดหวังอย่างระมัดระวังของตลาด เนื่องจากการขาดข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงเชิงลบที่สำคัญจากตะวันออกกลาง รวมไปถึงความหวังที่จะได้เห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากจีน ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย ทั้งนี้ มีการรายงานค่าดัชนี PMI ของธนาคาร Judo ในเดือนเมษายนในหลากหลายทิศทาง โดยตัวเลขค่าดัชนี PMI ภาคการผลิตและคอมโพสิตปรับปรุงเป็น 49.9 และ 53.7 จาก 47.3 และ 53.3 ตามลำดับ ในขณะที่ ตัวเลขค่าดัชนี PMI ด้านบริการลดลงเหลือ 54.2 เมื่อเทียบกับการรายงานก่อนหน้านี้ที่ 54.4 นอกจากนี้ การรายงานรายสัปดาห์ของข้อมูลความเชื่อมั่นผู้บริโภค ANZ-Roy Morgan ของออสเตรเลียยังปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุดในปี 2024 เป็น 80.3 จากการรายงานก่อนหน้าที่ 83.5
แม้จะขาดโมเมนตัมในการฟื้นตัว แต่คู่เงิน USDCAD กลับสามารถยุติการร่วงลงติดต่อกัน 5 วันได้ ในขณะที่ คู่เงิน NZDUSD พลิกผันจากการฟื้นตัวที่เกิดขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ ท่ามกลางการปรับลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ นอกจากนั้น คู่เงิน USDCHF ขยับตัวสูงขึ้นในขณะที่รักษาระดับการฟื้นตัวของวันก่อนหน้า แม้ว่าธนาคารแห่งชาติสวิส (SNB) จะเพิ่มอัตราส่วนสำหรับข้อกำหนดสำรองขั้นต่ำสำหรับธนาคารจาก 2.5% เป็น 4.0%
ทั้งนี้ ราคาทองคำร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสองสัปดาห์ ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบพยายามรักษาระดับการฟื้นตัวของวันก่อนหน้า ท่ามกลางความวิตกกังวลทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ปรับลดลงและพาดหัวข่าวที่มีการรายงานออกมาในหลากหลายทิศทางที่เกี่ยวข้องกับความต้องการพลังงานจากลูกค้ารายใหญ่อย่างจีน
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเบื้องต้น (PMI) ประจำเดือนเมษายนจากโซนยูโร สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา จะมีความสำคัญต่อการกำหนดการเคลื่อนไหวรายวันของตลาด อีกข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญคือ ยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐอเมริกาประจำเดือนมีนาคมและดัชนีการผลิตของธนาคารกลางสหรัฐฯประจำริชมอนด์สำหรับเดือนเมษายน
ควรสังเกตว่า การพักฐานของตลาดเมื่อเร็วๆนี้มีแนวโน้มที่จะยังคงดำเนินต่อไปจนถึงวันศุกร์ก่อนการรายงานตัวเลขดัชนีราคา PCE พื้นฐานของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ให้ความสำคัญ อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ที่เหนือความคาดหมายจากการรายงานตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากตัวเลขออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ (ยกเว้นสหรัฐฯ) อาจส่งผลให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น และส่งผลกระทบต่อราคาทองคำ ราคาน้ำมันดิบ และคู่เงิน EURUSD มากที่สุด
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !