ความเชื่อมั่นในตลาดยังคงมีทิศทางที่ดี แม้จะมีบรรยากาศการซื้อขายอย่างระมัดระวังด้วยโมเมนตัมเชิงบวกของวันก่อนหน้า แต่ยังปรับตัวลงด้วยความคาดหวังเกี่ยวกับการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจและเหตุการณ์สำคัญในวันนี้ นอกจากนี้ ข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐฯ และการประชุมของ Fed ล่าสุดยังได้จุดประกายความหวังว่า Fed อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลงและทำให้สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงน่าสนใจมากขึ้น
คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD ได้ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบปี เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลงและความคาดหวังว่า Fed อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ย ในทางตรงกันข้าม คู่เงิน USDJPY กลับไม่สามารถปรับตัวขึ้นได้ เนื่องจากมีสัญญาณที่ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ประกอบกับตัวเลขดัชนี PMI ประจำเดือนสิงหาคมที่น่าผิดหวัง แม้ว่า คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD จะพุ่งสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบเดือน แต่ทั้งคู่กลับขาดแรงผลักดันขาขึ้น สืบเนื่องมาจากความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน ส่วนทางด้าน คู่เงิน USDCAD ยังคงเผชิญกับแรงกดดัน แม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะอ่อนตัวลง ขณะที่มีข้อมูลดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของแคนาดาที่ปรับตัวดีขึ้นเป็นปัจจัยสนับสนุน
แม้ว่าเทรดเดอร์จะได้เห็นปริมาณสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ แต่ก็ยังไม่สามารถรักษาระดับราคาน้ำมันดิบไว้ได้ เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์น้ำมันที่ชะลอตัวและปัญหาอุปทานที่เริ่มคลี่คลายในตะวันออกกลาง
นอกจากนี้ ราคาทองคำได้ปรับตัวลดลงจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่เคยทำไว้เมื่อไม่นานมานี้ ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 30 ปีฟื้นตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 13 วัน
เมื่อพูดถึงสกุลเงินดิจิทัล BTCUSD และ ETHUSD ต่างก็ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยได้รับแรงหนุนจากดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลงและความเชื่อมั่นครั้งใหม่ว่าอดีตประธานาธิบดี Donald Trump อาจมีอิทธิพลต่อสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสกุลเงินดิจิทัล หากได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การโอนย้าย Bitcoin จำนวนมากจากวอลเล็ทของ Mt. Gox ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพของการปรับตัวขึ้นล่าสุด
โดยภาพรวม ตลาดกำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ซับซ้อนและสัญญาณที่ขัดแย้งกัน โดยมีความเชื่อมั่นจากความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยและข่าวบวกเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัล อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและความกังวลด้านภูมิรัฐศาสตร์ยังคงเป็นปัจจัยที่สร้างความกังวลและส่งผลให้ตลาดไม่สามารถเคลื่อนไหวไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งอย่างชัดเจนได้
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
การแก้ไขเบื้องต้นของตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (NFP) สำหรับปีที่สิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2024 ซึ่งเผยแพร่โดยสำนักงานสถิติแรงงานสหรัฐฯ (BLS) แสดงให้เห็นการปรับลดตัวเลขลงอย่างมีนัยสำคัญถึง -818,000 ตำแหน่ง นั่นหมายความว่าโดยเฉลี่ยแล้ว มีการลดลงของงานประมาณ 68,000 ตำแหน่งต่อเดือน ซึ่งทำให้ค่าเฉลี่ยการจ้างงานต่อเดือนลดลงมาอยู่ที่ 174,000 ตำแหน่ง ซึ่งการเติบโตของการจ้างงานที่ชะลอตัวลงนี้ยังส่งผลให้เกิดความรู้สึกเชิงลบต่อภาพรวมของตลาดแรงงานในสหรัฐฯ
เนื่องจากข้อมูลการจ้างงานที่อ่อนแอและการหารืออย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จึงเป็นผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯเผชิญกับแรงกดดันที่ทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง การประชุมล่าสุดของคณะกรรมการ FOMC เปิดเผยว่าส่วนใหญ่ของผู้กำหนดนโยบายเห็นว่าอาจจะเหมาะสมที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไป โดยท่าทีที่มีแนวโน้มดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายนี้ยังส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลงอีก
ด้วยปัจจัยดังกล่าว ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความแข็งแกร่งของดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุล ปรับลดลงเป็นวันที่สี่ติดต่อกันแตะระดับต่ำสุดในรอบปีที่ประมาณ 100.90 อย่างไรก็ตาม ดัชนี DXY ได้ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงการซื้อขายของตลาดเอเชียในเช้าวันพฤหัสบดี ซึ่งบ่งชี้ว่าอาจมีการทรงตัวหรือการฟื้นตัวขึ้นชั่วคราว
การอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐฯได้ช่วยผลักดันให้คู่เงิน EURUSD พุ่งสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบปี การปรับตัวขึ้นนี้เกิดขึ้นแม้ว่าจะมีความคิดเห็นเชิงสนับสนุนการผ่อนคลายนโยบายการเงินจาก Fabio Panetta สมาชิกคณะกรรมการบริหารของธนาคารกลางยุโรป (ECB) โดยระบุว่าค่าเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนั้นไม่ได้เป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายของ ECB แต่เป็นผลมาจากการอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐฯ
เช่นเดียวกันกับคู่เงิน GBPUSD ที่ปรับตัวขึ้นสู่ระดับสูงสุดใหม่ที่ไม่เคยเห็นมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2023 โดยการปรับตัวขึ้นนี้ยังคงเกิดขึ้น แม้ว่าข้อมูลเศรษฐกิจในสหราชอาณาจักรจะมีการรายงานในหลากหลายทิศทาง ประกอบกับธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ยังคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ซึ่งบ่งชี้ว่าตลาดให้ความสนใจการอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐฯมากกว่าการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดของสหราชอาณาจักร
คู่เงิน USDJPY ยังคงค่อนข้างทรงตัว โดยพยายามหาทิศทางที่ชัดเจน ข้อมูลดัชนี PMI ที่ผสมผสานกันจากญี่ปุ่นและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับความสามารถของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมยังส่งผลให้คู่เงินเยนขาดโมเมนตัม
คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ต่างก็แสดงสัญญาณของการทรงตัวหลังจากการปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยคู่เงิน AUDUSD กำลังรักษาตำแหน่งของตนหลังจากถอยกลับจากระดับสูงสุดในรอบเดือน โดยได้รับแรงหนุนจากการรายงานข้อมูลดัชนี PMI ของออสเตรเลียที่เป็นบวก อย่างไรก็ตาม คู่เงิน NZDUSD ได้ยุติการปรับตัวขึ้นในช่วงสี่วันที่ผ่านมาท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนที่ยังคงอยู่ ในขณะเดียวกัน คู่เงิน NZDUSD ก็กำลังเผชิญกับแรงกดดัน แม้ราคาน้ำมันดิบจะปรับตัวลง เนื่องจากข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของแคนาดาที่แข็งแกร่งมีน้ำหนักมากกว่าผลกระทบของราคาน้ำมันที่ลดลง
อีกทางด้านหนึ่ง สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) รายงานการลดลงของปริมาณสต็อกน้ำมันดิบที่มากกว่าการคาดการณ์ โดยสต็อกน้ำมันดิบปรับลดลง 4,649,000 บาร์เรล เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ที่ 2,672,000 บาร์เรล ถึงแม้ว่าจะมีการลดลงของปริมาณสต็อกน้ำมันดิบ แต่ความกังวลเกี่ยวกับความต้องการพลังงานที่ปรับลดลงของจีนและความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ผ่อนคลายลงในตะวันออกกลางยังส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบ WTI อยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์
ทั้งนี้ ราคาทองคำ (XAUUSD) ปรับตัวลดลงเป็นวันที่สองติดต่อกัน หลังจากแตะระดับสูงสุดในรอบปี ความอ่อนแอของราคาทองคำนี้เชื่อมโยงกับบรรยากาศการซื้อขายในตลาดที่มีความระมัดระวัง ก่อนที่จะมีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญทางเศรษฐกิจที่จะถึงนี้ รวมไปถึงการรายงานตัวเลขเบื้องต้นของดัชนี PMI ของเดือนสิงหาคม และการประชุมประจำปีของธนาคารกลางสหรัฐฯที่ Jackson Hole
นักลงทุนในตลาดจะโฟกัสไปที่สัญญาณของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสกุลเงินต่างๆ และด้วยปัจจัยดังกล่าว เทรดเดอร์จะมุ่งความสนใจไปที่การรายงานข้อมูลดัชนี PMI ประจำเดือนสิงหาคมครั้งแรกสำหรับประเทศเศรษฐกิจหลักด้วยเช่นกัน
ดอลลาร์สหรัฐฯอาจยังคงอ่อนค่าลง หาก Fed ตัดสินใจดำเนินการปรับลดอัตราดอกเบี้ยโดยเริ่มต้นในเดือนกันยายน ในอีกทางหนึ่ง นักลงทุนในตลาดต่างจับตามองการประชุม Jackson Hole เพื่อมองหาสัญญาณของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมและผลกระทบที่อาจมีต่อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง นอกจากนี้ ข้อมูลดัชนี PMI ในเดือนสิงหาคมจะมีความสำคัญต่อการประเมินสภาพเศรษฐกิจและยังมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของสกุลเงินอีกด้วย
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !