ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-06-19

ราคาทองคำแกว่งตัวอยู่ภายในกรอบการซื้อขายระยะสั้นในช่วงวันหยุด Juneteenth

ราคาทองคำแกว่งตัวอยู่ภายในกรอบการซื้อขายระยะสั้นในช่วงวันหยุด Juneteenth

ตลาดโลกยังคงมีความเชื่อมั่นเชิงบวกอย่างระมัดระวัง ในช่วงเปิดตลาดในวันพุธที่ค่อนข้างซบเซา เนื่องจากวันหยุด Juneteenth ของสหรัฐฯ ประกอบกับการพุ่งสูงขึ้นของตลาดหุ้นและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับลดลง ท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ถดถอย ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ยุติการร่วงลง 2 วันติดต่อกัน แม้จะยังขาดแรงผลักดันในการฟื้นตัวขึ้นก็ตาม

คู่เงิน EURUSD ยังคงอยู่ในแนวรับหลังจากพุ่งสูงขึ้น 2 วันติดต่อกัน ขณะที่ คู่เงิน GBPUSD ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 เช่นกัน ในทางกลับกัน คู่เงิน USDJPY ยังคงพยายามรักษาแนวโน้มขาขึ้น 4 วัน โดย คู่เงิน USDCAD ได้รับแรงกดดันที่จุดต่ำสุดในรอบ 1 สัปดาห์ หลังจากร่วงลง 4 วันติดต่อกัน

ทางด้านคู่เงิน AUDUSD พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 สัปดาห์ โดยปรับตัวขึ้นเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน ในขณะที่คู่เงิน NZDUSD ไม่สามารถรักษาระดับการฟื้นตัวขึ้นจากจุดต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์เมื่อวันก่อนหน้าไว้ได้

ในอีกทางหนึ่ง ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง 3 วันที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม ในขณะที่ ราคาทองคำแกว่งตัวภายในกรอบการซื้อขายประจำสัปดาห์

เมื่อพูดถึงสกุลเงินดิจิทัล BTCUSD และ ETHUSD ต่างฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย ขณะที่ปรับตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 วันที่ระดับต่ำสุดในรอบเดือน แม้ล่าสุดจะมีสัญญาณความเชื่อมั่นเชิงบวกในตลาดคริปโตจากจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มสูงขึ้นและเงินทุนที่ไหลเข้าสู่ตลาดมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ความกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันจากสำนักงาน ก.ล.ต.สหรัฐฯ (US SEC) ยังคงเป็นอุปสรรคต่อแรงเทซื้อ

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลงครั้งแรกในรอบสี่วันที่ระดับสูงสุดในรอบเจ็ดสัปดาห์ โดยราคาเสนอขายขยับตัวขึ้นเล็กน้อยที่ประมาณ $80.60
  • ทองคำ (Gold) ยังคงทรงตัวอยู่ที่ประมาณ $2,330 หลังจากปรับตัวขึ้นเล็กน้อยในวันก่อนหน้า
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) ยุติการร่วงลง 2 วันติดต่อกัน แม้จะยังขาดโมเมนตัมขาขึ้น โดยอยู่ที่ระดับประมาณ 105.30
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดบวก แต่ หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ปรับตัวลง ขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร ยังคงไม่มีทิศทางที่ชัดเจนในช่วงเปิดการซื้อขาย
  • BTCUSD และ ETHUSD ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบเดือนที่ประมาณ $65,600 และ $3,550 ตามลำดับ
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

ดอลลาร์สหรัฐฯชะลอการปรับตัวลงในช่วงวันหยุด Juneteenth...

ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ปรับตัวลง 2 วันติดต่อกัน ก่อนที่จะชะลอการร่วงลงในช่วงต้นวันพุธ ท่ามกลางความผันผวนของตลาด โดยสถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนถึงความกังวลของนักลงทุนในตลาดเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดมีการรายงานออกมาในหลากหลายทิศทาง อย่างไรก็ตาม ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) กลับอ่อนตัวลงในวันก่อนหน้า แม้จะมีตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯที่ปรับตัวดีขึ้นและความเห็นที่มีท่าทีสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯหลายท่าน สาเหตุอาจมาจากตัวเลขการเติบโตของยอดค้าปลีกสหรัฐฯประจำเดือนพฤษภาคมที่ออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ นอกจากนี้ การคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจที่ถดถอยลงจากสำนักงานงบประมาณสภาคองเกรสของสหรัฐฯ (CBO) ก็ยิ่งส่งผลกระทบต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการฟื้นตัวล่าสุดของดอลลาร์สหรัฐฯดูเหมือนจะยังเป็นไปได้ยาก เนื่องจากตลาดสหรัฐฯที่ปิดทำการในวันพุธ เนื่องในวันหยุด Juneteenth

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ยอดค้าปลีกสหรัฐฯเพิ่มขึ้น 0.1% MoM ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 0.2% แต่ปรับตัวดีกว่าตัวเลขเดิมที่ -0.2% (ปรับแก้จาก 0.0%) อย่างไรก็ตาม การผลิตภาคอุตสาหกรรมมีตัวเลขการเติบโตที่ 0.9% MoM ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 0.3% และ 0.0% ในการรายงานก่อนหน้า

ซึ่งในอีกทางหนึ่ง สำนักงานงบประมาณสภาคองเกรสของสหรัฐฯ (CBO) คาดการณ์ว่า การขาดดุลการคลังของสหรัฐฯจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.915 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2024 ในขณะที่ ปรับเพิ่มการคาดการณ์ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำปีเป็น 2.0% จากที่คาดการณ์ไว้ที่ 1.5% ในเดือนกุมภาพันธ์ ทั้งนี้ ความกังวลเกี่ยวกับการขาดดุลที่เพิ่มขึ้น ภาวะการชัตดาวน์ของรัฐบาลที่อาจเกิดขึ้น และปัญหาการล้มละลาย ล้วนส่งผลกระทบต่อช่วงแนวโน้มขาขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

เจ้าหน้าที่บางส่วนจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ออกมาแสดงความเห็น โดย Thomas Barkin ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำริชมอนด์ออกมากล่าวว่า "เห็นได้ชัดว่าเราได้พ้นช่วงที่เงินเฟ้อพุ่งขึ้นสูงสุดมาแล้ว" ซึ่งความคิดเห็นนี้บ่งชี้ว่า Fed อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยมากกว่าหนึ่งครั้ง อย่างไรก็ตาม Lorie K. Logan ประธานและซีอีโอของธนาคารกลางสหรัฐฯประจำดัลลัสระบุว่า Fed จำเป็นต้องรอที่จะเห็น "ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ดีขึ้นอีกหลายเดือน" (ก่อนที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย) โดยยังคงสนับสนุนแนวทางการคงอัตราดอกเบี้ยตาม “higher for longer”

ในขณะเดียวกัน John Williams ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำนิวยอร์กกล่าวว่า แนวทางการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนั้นขึ้นอยู่กับการรายงานข้อมูล โดย Adriana Kugler กรรมการธนาคารกลางสหรัฐฯได้ส่งสัญญาณว่า นโยบายของ Fed ยังคงมีงานที่ต้องทำอีกมาก ขณะที่เสริมว่า “การตัดสินใจนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูล” เช่นเดียวกับ Alan Goolsbee ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯประจำชิคาโก ที่ออกมากล่าวว่า ยังคงมีแรงขับเคลื่อนบางส่วนจากอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงอย่างรวดเร็วในปีที่แล้ว

สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้น ประธานคนใหม่ของธนาคารกลางสหรัฐฯประจำเซนต์หลุยส์ ได้ออกมาแสดงความเห็นว่า ความเชื่อมั่นในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนหรืออาจจะยาวไปถึงหลายไตรมาส นอกจากนี้ Susan Collins ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำบอสตัน ยังเตือนว่าไม่ควรตื่นตระหนกจนเกินไปกับภาวะเงินเฟ้อที่อ่อนตัวลงล่าสุด ในขณะเดียวกันยังได้กล่าวถึงสถานการณ์ความเป็นไปได้ที่อาจจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยทั้งหนึ่งครั้งและสองครั้งในปี 2024

ในทางกลับกัน Francois Villeroy de Galhau สมาชิกของคณะกรรมการธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ออกมาแสดงความไม่พอใจต่อการขาดดุลที่เพิ่มขึ้น ขณะที่พยายามรักษาระดับค่าเงินยูโร (EUR) โดยข้อมูลเชิงบวกจากผลสำรวจความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของยูโรโซนโดยสถาบัน ZEW ยังช่วยหนุนแรงเทซื้อคู่เงิน EURUSD อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ตัวเลขผลสำรวจที่น่าผิดหวังจาก ZEW ของเยอรมนีประจำเดือนมิถุนายน รวมถึงความกังวลจากสถานการณ์ทางการเมืองในฝรั่งเศสและเยอรมนี กลับเป็นปัจจัยที่ท้าทายแรงเทซื้อสกุลเงินยูโร

อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน GBPUSD ยังคงปรับตัวสูงขึ้นเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน แม้ว่าข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักรประจำเดือนพฤษภาคมจะออกมาผสมผสานก็ตาม โดยอาจมีสาเหตุมาจากการที่ตลาดเตรียมพร้อมสำหรับการยุตินโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ในวันพฤหัสบดีนี้

ทั้งนี้ คู่เงิน USDJPY ชะลอการพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง 4 วัน โดยยังคงขาดแรงผลักดันเนื่องจากตลาดพันธบัตรสหรัฐฯที่ปิดทำการในวันหยุด แรงเทซื้อคู่เงินเยนยังต้องเผชิญกับความกังวลครั้งใหม่เกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) และการลดลงของตัวเลขการขาดดุลการค้าของญี่ปุ่นในเดือนพฤษภาคม อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจ Tankan ของรอยเตอร์สประจำเดือนมิถุนายนที่ออกมาผสมผสาน ก็เป็นปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ท้าทายแรงเทขายคู่เงิน USDJPY ด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ คู่เงิน AUDUSD ยังคงขยับตัวขึ้นเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน ท่ามกลางความคาดหวังเชิงบวกอย่างระมัดระวังเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจในจีน อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน NZDUSD พลิกกลับการพุ่งสูงขึ้นของวันก่อนหน้า แม้จะมีข้อมูลบัญชีเดินสะพัดไตรมาส 1 ที่มีทิศทางเป็นบวกก็ตาม ขณะที่ Paul Conway หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) ได้ชี้แจงถึงการลดลงของอัตราเงินเฟ้อและส่งสัญญาณถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงปลายปี 2024 โดยเป็นที่น่าสังเกตว่าทางฝั่ง คู่เงิน USDCAD ยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดันเป็นวันที่สี่ติดต่อกัน แม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะขาดโมเมนตัมขาขึ้นที่ระดับสูงสุดในรอบ 7 สัปดาห์

แม้ว่ารายงานปริมาณคงเหลือน้ำมันดิบสหรัฐฯประจำสัปดาห์จากสถาบันปิโตรเลียมอเมริกัน (API) จะแสดงตัวเลขการสะสมน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นอย่างเหนือความคาดหมาย ราคาน้ำมันดิบก็ยังคงปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคมเมื่อวันก่อนหน้า นอกจากนี้ ราคาทองคำยังคงขาดแรงหนุนที่จะปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องหลังจากที่พุ่งสูงขึ้นในวันก่อนหน้า โดยยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบการซื้อขายของสัปดาห์นี้ ท่ามกลางความผันผวนของตลาดและการขาดการรายงานข่าวสารที่สำคัญ รวมไปถึงช่วงวันหยุดในสหรัฐฯ

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY, US Dollar, Silver
  • สัญญาณขายแรง: AUDUSD, NZDUSD, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold, DJI30, USDCNH
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, EURUSD, Crude Oil

ยังไม่มีการรายงาน/อัปเดตข้อมูลที่สำคัญ...

วันหยุด Juneteenth ของสหรัฐฯ ประกอบกับปฏิทินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เบาบางในภูมิภาคอื่น เป็นผลให้วันนี้ตลาดอาจจะไม่มีความเคลื่อนไหวมากนัก อย่างไรก็ตาม สถานการณ์นี้ยังอาจเปิดโอกาสให้เกิดภาวะที่ราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจากผู้ร่วมตลาดที่มีอิทธิพลเพียงไม่กี่ราย ซึ่งจะส่งผลให้นักลงทุนในตลาดต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง โดยภาพรวมแล้ว ดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลงก่อนหน้านี้ อาจจะกลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากสัญญาณส่วนใหญ่จากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed ) ชี้ไปในทิศทางที่จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียวในปี 2024 ซึ่งแตกต่างจากที่คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะมีการปรับลดถึง 3 ครั้ง ปัจจัยนี้อาจส่งผลกระทบต่อสกุลเงินหลักอื่นๆ และสินค้าโภคภัณฑ์ด้วยเช่นกัน

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !