ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อและข้อมูลผู้บริโภคของสหรัฐฯที่ปรับตัวลงในวันพุธที่ผ่านมา ทำให้เกิดเสียงเรียกร้องให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2024 อีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประธาน Fed Jerome Powell แสดงความลังเลในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ปัจจัยเหล่านี้ได้ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลงอย่างหนักในวันก่อนหน้า และกระตุ้นการพร้อมรับความเสี่ยงของตลาด อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นในตลาดยังคงคลุมเครือในช่วงต้นวันพฤหัสบดี ก่อนที่จะมีการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ และข่าวสารทางการเมืองระหว่างประเทศที่มีการรายงานในหลากหลายทิศทาง ยังส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯฟื้นตัวเล็กน้อยจากระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือน หลังจากที่ร่วงลงแรงที่สุดในปี 2024 เมื่อวันก่อนหน้า
การอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐฯช่วยหนุนให้คู่เงิน EURUSD พุ่งสูงขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบ 2 เดือน ก่อนจะปรับตัวลงจากระดับราคาที่ประมาณ 1.0894 ขณะที่ คู่เงิน GBPUSD ปรับตัวสูงขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบเดือนเช่นกัน แม้ว่าจะไม่มีปัจจัยหนุนสำคัญ
นอกจากนี้ คู่เงิน USDJPY ยังทำลายแนวโน้มขาขึ้นสามวันโดยร่วงลงมากที่สุดในรอบสองสัปดาห์ และยังถูกกดดันที่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 1 สัปดาห์ ขณะที่ คู่เงิน USDCAD ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบห้าสัปดาห์
อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน AUDUSD พุ่งแตะจุดสูงสุดในรอบ 4 เดือน ก่อนจะถอยตัวลงหลังการรายงานข้อมูลการจ้างงานของออสเตรเลียที่ออกมาในหลากหลายทิศทาง ขณะที่ คู่เงิน NZDUSD พุ่งขึ้นมากที่สุดในรอบ 6 เดือน ก่อนที่จะปรับลดลงจากระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม
นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังมีราคาเสนอซื้อเป็นบวก และรักษาระดับการฟื้นตัวอย่างยอดเยี่ยมจากจุดต่ำสุดในรอบ 11 สัปดาห์ โดยได้รับแรงหนุนจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนตัวลงร่วมกับตัวเลขที่ปรับลดลงของคลังน้ำมันดิบสหรัฐฯประจำสัปดาห์ ขณะที่ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน แตะจุดสูงสุดในรอบเดือนอีกครั้ง
ทางฝั่งของสกุลเงินดิจิทัล BTCUSD และ ETHUSD พุ่งสูงขึ้นรายวันมากที่สุดในรอบกว่า 1 เดือน แม้ต่อมา ราคาจะปรับตัวลง ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับกฎระเบียบของตลาดคริปโตและข่าวสารที่หลากหลายเกี่ยวกับการอนุมัติ Ethereum spot ETF
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ในวันพฤหัสบดี ตลาดมีการเคลื่อนไหวคึกคักเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากที่ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ ยอดค้าปลีก และดัชนีการผลิตของเอ็มไพร์สเตตมีตัวเลขที่ตกต่ำ ตัวเลขเหล่านี้ยิ่งหนุนกระแสเรียกร้องให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในปี 2024 ซึ่งส่งผลให้สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงปรับตัวสูงขึ้น
หลังจากมีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯออกมา Mark Zandi หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Moody ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลก ได้ทวีตข้อความแสดงความกังวลเกี่ยวกับราคาที่อยู่อาศัยที่ยังคงแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง แม้ดัชนี CPI ของสหรัฐฯจะออกมาในทิศทางที่ดี เช่นเดียวกับ Austan Goolsbee ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำชิคาโก ที่กล่าวว่า "ถ้าอัตราเงินเฟ้อภาคที่อยู่อาศัยในข้อมูลดัชนี CPI ประจำเดือนเมษายนปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง นั่นถือเป็นเรื่องที่ดี"
ในทางตรงกันข้าม Neel Kashkari ประธานและซีอีโอของธนาคารกลางสหรัฐฯประจำมินนิอาโปลิส ได้ย้ำจุดยืนถึงการสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดของเขา โดยระบุว่าธนาคารกลางสหรัฐฯมุ่งเน้นไปที่อุปสงค์พื้นฐานในระบบเศรษฐกิจเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อ
นอกเหนือไปจากความวิตกกังวลก่อนการรายงานข้อมูลสำคัญและการฟื้นตัวจากการร่วงลงอย่างหนักของวันก่อนหน้าแล้ว ปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ยังส่งผลต่อการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯอีกด้วย ในบรรดาพาดหัวข่าวสำคัญ ข่าวที่บ่งชี้ว่าจีนมีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับรัสเซียได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก หลังจากมีการอ้างอิงคำพูดของ Xi Jinping ประธานาธิบดีของจีนที่ระบุว่า "จีนจะยังคงเป็นเพื่อนที่ดีและพาร์ทเนอร์ที่ไว้ใจได้ซึ่งกันและกันกับรัสเซียเสมอ"
แม้ว่าการอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐฯที่ได้รับการสนับสนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะผลักดันคู่เงิน EURUSD ให้ปรับตัวสูงขึ้น แต่โมเมนตัมขาขึ้นยังคงถูกจำกัดไว้หลังจาก François Villeroy de Galhau ผู้ว่าการธนาคารกลางฝรั่งเศสและสมาชิกคณะกรรมการธนาคารกลางยุโรป (ECB) ออกมากล่าวว่า (ECB) มีแนวโน้มอย่างมากที่จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมประจำเดือนมิถุนายน
นอกจากนี้ คู่เงิน GBPUSD ยังพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบเดือนจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่ตกต่ำ ในขณะที่ไม่ตอบสนองต่อโอกาสที่มีแนวโน้มสูงขึ้นที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนและข้อมูลเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรที่มีการรายงานในหลากหลายทิศทาง
ทั้งนี้ คู่เงิน USDJPY ร่วงลงมากที่สุดในรอบ 2 สัปดาห์ หลังจากมีการรายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯออกมา และขณะนี้กำลังปรับตัวลงต่อเนื่องสู่ระดับต่ำสุดในรอบเจ็ดวันท่ามกลางข้อมูลการผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นที่มีทิศทางเป็นบวก แม้ว่าตัวเลขGDP ไตรมาสที่ 1 ปี 2024 ของญี่ปุ่น จะส่งสัญญาณชี้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจหดตัวลง แต่ Yoshitaka Shindo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจของญี่ปุ่นระบุว่า ได้มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะยังคงฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ในขณะเดียวกัน คู่เงิน AUDUSD ก็พุ่งขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2023 ท่ามกลางค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่ตกต่ำในวงกว้างและความเชื่อมั่นที่ปรับตัวดีขึ้น ถึงกระนั้น รายงานการจ้างงานของออสเตรเลียที่ผันผวนในวันพฤหัสบดีก็ได้กระตุ้นให้เกิดการดึงกลับของระดับราคา เนื่องจากอัตราการว่างงานพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบสามเดือนที่ 4.1% สำหรับเดือนเมษายน เมื่อเทียบกับการคาดการณ์และการรายงานก่อนหน้าที่ 3.9% นอกจากนี้ แม้ว่าคู่เงิน NZDUSD จะปรับตัวสูงขึ้นตามคู่เงินออสเตรเลียเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯในวันก่อนหน้า แต่กลับชะลอตัวจากการพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบหกเดือนท่ามกลางสภาวะทรงตัวของตลาดในช่วงต้นวันพฤหัสบดี อีกทั้งความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจของจีน ความตึงเครียดระหว่างจีนกับสหรัฐฯ รวมไปถึงปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ ยังส่งผลกระทบต่อสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans อย่างดอลลาร์ออสเตรเลีย ดอลลาร์นิวซีแลนด์ และดอลลาร์แคนาดาอีกด้วย ทั้งนี้ คู่เงิน USDCAD ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 5 สัปดาห์ เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลง ประกอบกับราคาน้ำมันดิบซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของแคนาดาฟื้นตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ในวันพฤหัสบดี ราคาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ แต่กลับฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลง ประกอบกับตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ของสหรัฐฯที่ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น
ทางฝั่งของราคาทองคำยังคงอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยปรับตัวขึ้นเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน ปัจจัยหนุนหลักมาจากแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐฯจะคงนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย และความคาดหวังที่จะได้เห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากจีน รวมถึงรูปแบบกราฟทางเทคนิคที่บ่งชี้ถึง การ breakout อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำยังได้ยืนยันรูปแบบการกลับตัวของกราฟขาขึ้นอายุหนึ่งเดือนเมื่อวันก่อนหน้า
หลังจากผ่านวันที่ผันผวนที่โดยส่วนใหญ่เอื้อต่อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง เทรดเดอร์น่าจะได้เห็นการทรงตัวของราคาจากการเคลื่อนไหวก่อนหน้า ก่อนการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯในวันนี้ ซึ่งมีข้อมูลที่สำคัญอย่าง ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์ ตัวเลขที่อยู่อาศัยและตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมประจำเดือนที่จะได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ถ้าหากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ประกาศออกมามีตัวเลขที่แข็งแกร่ง ดอลลาร์สหรัฐฯก็จะสามารถชะลอการร่วงลงในรอบสัปดาห์ได้
นอกเหนือไปจากการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯแล้ว ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับรัสเซีย จีน และตะวันออกกลาง ก็อาจจะกระตุ้นเทรดเดอร์ที่อาศัยโมเมนตัมในการเทรด และอาจช่วยผลักดันราคาของดอลลาร์สหรัฐฯ รวมไปถึงราคาน้ำมันดิบอีกด้วย
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !