ตลาดเปิดวันพุธด้วยบรรยากาศของความระมัดระวัง แต่ยังมีแนวโน้มที่ดีจากการรายงานข่าวจากจีน รวมไปถึงการที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) คลายกังวลของตลาดด้วยการออกมาปฏิเสธการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม ความวิตกกังวลก่อนการรายงานข้อมูลสำคัญของสหรัฐฯและความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีน ยังคงเป็นปัจจัยที่จำกัดโมเมนตัมของตลาด
ด้วยเหตุนี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) จึงยังคงถูกกดดันที่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 1 สัปดาห์ โดยปรับลดลงเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน โดยปัจจัยนี้เมื่อร่วมกับท่าทีของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ออกมาปฏิเสธการปรับลดอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันหลังเดือนมิถุนายนยังช่วยหนุนให้คู่เงิน EURUSD ปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้ง คู่เงิน GBPUSD ยังได้รับประโยชน์จากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลง ในขณะที่แตะระดับสูงสุดในรอบสัปดาห์อีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากรายงานการจ้างงานในสหราชอาณาจักรที่ปรับตัวสูงขึ้นและความคิดเห็นที่สนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE)
นอกจากนี้ คู่เงิน USDJPY พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 แตะระดับสูงสุดในรอบ 14 วัน แต่ยังคงขาดโมเมนตัมขาลง ในขณะเดียวกัน คู่เงิน AUDUSD ก็ปรับตัวขึ้นท่ามกลางสัญญาณเชิงบวกจากจีน โดยไม่ตอบสนองต่อตัวเลขการเติบโตของค่าจ้างที่ถดถอยลงในบ้าน ส่วนทางด้าน คู่เงิน NZDUSD พุ่งสูงขึ้นที่สุดในบรรดาคู่สกุลเงิน G10 เนื่องจากความเชื่อมั่นที่มีทิศทางเป็นบวกของสินค้าโภคภัณฑ์ร่วมกับการเตรียมการของตลาดสำหรับการยุตินโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) เป็นที่น่าสังเกตว่า คู่เงิน USDCAD ยังคงไม่ตอบสนองต่อยอดค้าส่งของแคนาดาที่ตกต่ำและการดึงกลับของราคาน้ำมันซึ่งสร้างความประทับใจให้กับแรงเทขาย
อีกทางด้านหนึ่ง ราคาทองคำขยับตัวสูงขึ้นหลังจากพลิกกลับจากเส้น 21-SMA ในวันก่อนหน้า ขณะที่ราคาน้ำมันดิบมีราคาเสนอซื้อเป็นบวกโดยพลิกกลับการร่วงลงของวันอังคาร ซึ่งเป็นผลมาจากการคาดการณ์อุปสงค์ที่ไม่น่าประทับใจจาก OPEC
ทางฝั่งของสกุลเงินดิจิทัล BTCUSD และ ETHUSD มีราคาเสนอซื้อเป็นบวกโดยพลิกกลับการร่วงลงของวันก่อนหน้าจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่ส่งผลในวงกว้าง อย่างไรก็ตาม ความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับการปฏิเสธ spot Ethereum ETF ประกอบกับท่าทีที่แข็งกร้าวของสำนักงาน ก.ล.ต. ของสหรัฐฯ (SEC) ต่อบริษัทคริปโตขนาดใหญ่ กำลังทดสอบความเชื่อมั่นล่าสุดของตลาดด้วยเช่นกัน
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
แม้ดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ (PPI) ประจำเดือนเมษายนจะมีตัวเลขที่แข็งแกร่ง แต่ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) กลับร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบหลายวัน จนถึงช่วงเวลารายงานข่าวนี้ โดยสาเหตุหลักอาจสืบเนื่องมาจากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ Jerome Powell ได้ช่วยคลายความกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ประกอบกับการปรับลดตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตย้อนหลัง อย่างไรก็ตาม Powell ยังกล่าวอีกว่า "เราไม่ได้คาดหวังว่าจะเป็นไปได้อย่างราบรื่น แต่ตัวเลขเหล่านี้สูงกว่าที่ใครๆคาดการณ์ไว้ และบ่งบอกว่าเราจำเป็นต้องอดทน และปล่อยให้มาตรการทางการเงินที่เข้มงวดดำเนินต่อไป" ซึ่งสิ่งนี้ยังท้าทายช่วงแนวโน้มขาลงของดอลลาร์สหรัฐฯ ก่อนที่จะมีการประกาศดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ (CPI) และยอดค้าปลีกประจำเดือนเมษายนในวันนี้
โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า ข่าวที่บ่งชี้ว่ารัฐบาลจีนเตรียมพร้อมที่จะซื้อบ้านที่ขายไม่ออกเพื่อบรรเทาปัญหาอุปทานล้นในตลาดอสังหาริมทรัพย์นั้น ช่วยให้แรงเทซื้อสินค้าโภคภัณฑ์และสกุลเงิน Antipodeans สามารถรักษาแนวโน้มขาขึ้นจากวันก่อนหน้าไว้ได้ แม้ตลาดจะยังคงมีบรรยากาศการซื้อขายที่ระมัดระวัง
นอกเหนือไปจากความกังวลก่อนการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจแล้ว การที่ Janet Yellen รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯออกมายืนยันและสนับสนุนการขึ้นภาษีศุลกากรใหม่ที่สหรัฐฯเพิ่งประกาศใช้กับจีน และการวิพากษ์วิจารณ์จีนของประธานาธิบดี Joe Biden ยังท้าทายความเชื่อมั่นเชิงบวกในช่วงเช้าวันพุธอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ต่างก็ฟื้นตัวขึ้นจากความหวังที่จะเห็นเงินทุนไหลเข้ามาเพิ่มเติมจากลูกค้ารายหลักของพวกเขาอย่างจีน ทว่า คู่เงิน USDCAD กลับปรับตัวลง ขณะที่ราคาน้ำมันดิบมีราคาเสนอซื้อเป็นบวกโดยพลิกกลับการร่วงลงของวันก่อนหน้า ทั้งนี้ ราคาพลังงานกลับปรับลดลงในวันก่อนหน้า แม้ว่าสถาบันปิโตรเลียมอเมริกัน (API) จะมีการรายงานว่ามีการดึงสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์ของสหรัฐฯสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยการปรับลดลงของราคาน้ำมันนี้ยังอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาเศรษฐกิจของจีน และการที่ OPEC ไม่มีการเปลี่ยนแปลงการประมาณการณ์อุปสงค์-อุปทานสำหรับปี 2024 และ 2025 ในรายงานประจำเดือน นอกจากนี้ กลุ่มพันธมิตรยังได้โอนความรับผิดชอบในการประมาณการณ์เหล่านี้ไปยัง OPEC+ ตั้งแต่รายงานฉบับต่อไปเป็นต้นไป
อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน EURUSD พุ่งสูงขึ้น หลังจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) บางส่วนกล่าวถึงความท้าทายในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยถัดไปหลังเดือนมิถุนายน โดยคู่เงินยูโรยังได้รับแรงหนุนจากตัวเลข ZEW ของสหภาพยุโรปและเยอรมนีที่มีทิศทางเป็นบวก ซึ่งช่วยสนับสนุนให้คู่เงิน EURUSD แตะจุดสูงสุดประจำสัปดาห์ในวันก่อนหน้า และยังคงปรับตัวสูงขึ้นอีกในภายหลัง ในขณะเดียวกัน ตัวเลขการเติบโตของค่าจ้างในสหราชอาณาจักรที่แข็งแกร่ง ได้ทดแทนตัวเลขอัตราว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน และการเปลี่ยนแปลงอัตราการจ้างงานที่ลดต่ำลง ซึ่งช่วยให้คู่เงิน GBPUSD ขยับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ คู่เงินเคเบิลยังได้รับแรงหนุนจากความเห็นที่สนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Huw Pill ผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ด้วยเช่นกัน
ในทางกลับกัน คู่เงิน USDJPY ยังขาดโมเมนตัมขาลง แม้ว่าจะชะลอการปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกัน 3 วัน เนื่องจากนักลงทุนในตลาดไม่ค่อยเชื่อมั่นในนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) มากนัก นอกจากนี้ ราคาทองคำ ยังคงพยายามที่จะขยายการฟื้นตัวจากวันอังคาร ท่ามกลางตัวแปรที่หลากหลายจากจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในลูกค้าหลักของ XAUUSD อีกปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาทองคำคือ ความไม่ชัดเจนที่ดอลลาร์สหรัฐฯจะอ่อนค่าลงเพิ่มเติมก่อนการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
แม้ว่าประธานธนาคารกลางสหรัฐฯจะลดโอกาสในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ผู้กำหนดนโยบายยังคงเน้นย้ำถึงความสำคัญของข้อมูลที่กำลังจะมีการประกาศรายงานสำหรับการตัดสินใจในอนาคต กล่าวอีกนัยหนึ่ง ภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐฯล่าสุด กลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อธนาคารกลางสหรัฐฯในการยืนยันการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปี 2024 ถึงแม้ว่าผู้ร่วมตลาดจะคาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนก็ตาม ดังนั้น หากการรายงานดัชนี CPI ของสหรัฐฯมีตัวเลขที่แข็งแกร่ง เช่นเดียวกับยอดค้าปลีกของสหรัฐฯที่ปรับตัวสูงขึ้น จะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯสามารถพลิกกลับการร่วงลงล่าสุด และสร้างแรงกดดันด้านลบต่อสินค้าโภคภัณฑ์และสกุลเงิน Antipodeans ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีน
ในทางตรงกันข้าม หากข้อมูลสหรัฐฯที่ปรับลดลงหรือมีการรายงานในหลากหลายทิศทาง ปัจจัยนี้จะเป็นแรงหนุนที่ช่วยให้ ทองคำ คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD สามารถข้ามแนวต้านสำคัญระยะสั้นและดึงดูดแรงเทซื้อได้
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด!