วันหยุดในสหรัฐฯ ประกอบกับปฏิทินทางเศรษฐกิจที่เบาบางในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะจำกัดการเคลื่อนไหวของตลาดในช่วงเช้าวันพฤหัสบดีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อนักลงทุนชะลอการเทรดหลังจากวันที่ผันผวน โดยค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลงเมื่อวานนี้ หลังจากข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญท้าทายแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่คาดว่าจะยังคงอยู่ต่อไปตามแนวทาง “higher for longer” นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนทางการเมืองในสหรัฐฯจากการคาดการณ์เกี่ยวกับการถอนตัวออกจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสมัยถัดไปของประธานาธิบดี Joe Biden รวมไปถึงรายงานการประชุมของ Fed ที่ไม่มีความคืบหน้า ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อดอลลาร์สหรัฐฯด้วยเช่นกัน
ในขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลง คู่เงิน EURUSD กลับปรับตัวสูงขึ้นตอบรับกับความคิดเห็นที่สนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางยุโรป (ECB) โดยไม่ตอบสนองต่อข้อมูลเศรษฐกิจที่มีการรายงานออกมาในหลากหลายทิศทางภายในประเทศ นอกจากนี้ คู่เงิน GBPUSD ก็พุ่งสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบหลายวันเช่นกัน ท่ามกลางดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลง และการปรับตัวเพิ่มขึ้นของตัวเลขดัชนี PMI ภาคบริการของสหราชอาณาจักร (UK) ประจำเดือนมิถุนายน อย่างไรก็ตาม ทั้งคู่เงินยูโรและคู่เงิน GBPUSD ต่างยังคงขาดแรงผลักดันขาขึ้นในช่วงเช้าวันพฤหัสบดี เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐฯกำลังค่อยๆฟื้นตัวก่อนการรายงานตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯในวันศุกร์ที่จะถึงนี้
แม้ดอลลาร์สหรัฐฯจะอ่อนค่าลง แต่คู่เงิน USDJPY ยังคงเป็นข้อยกเว้น โดยพุ่งสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1986 ก่อนที่จะมีการปรับลดลงระหว่างวันในวันนี้ อย่างไรก็ตาม คู่เงิน AUDUSD ทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน และยังคงขยับตัวขึ้นจนถึงตอนนี้ แม้จะมีตัวเลขข้อมูลการค้าของออสเตรเลียประจำเดือนพฤษภาคมที่ไม่ค่อยดีนัก นอกจากนี้ คู่เงิน NZDUSD ยังคงแข็งแกร่งอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบสัปดาห์ โดยปรับตัวสูงขึ้นเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน หลังจากรัฐบาลนิวซีแลนด์ประกาศปรับลดการประมาณการขาดดุลสำหรับช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ
ทางด้านคู่เงิน USDCAD เผชิญแรงกดดันจากช่วงแนวโน้มขาลงเป็นสองเท่า ท่ามกลางราคาน้ำมันที่ ปรับตัวสูงขึ้นและดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลง ซึ่งยังเป็นผลให้เทรดเดอร์คู่เงิน Loonie เพิกเฉยต่อตัวเลขการค้าของแคนาดาที่อ่อนแอได้
ทางฝั่งของราคาน้ำมันดิบ WTI ฟื้นตัวขึ้นจากการดึงกลับจากจุดสูงสุดในรอบ 2.5 เดือนในช่วงกลางสัปดาห์ หลังจากที่ข้อมูลคลังสินค้าและปัจจัยด้านอุปสงค์-อุปทาน (demand-supply matrix) นั้นส่งผลดีต่อระดับราคา ในอีกทางหนึ่ง ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบสองสัปดาห์ แต่ยังคงขาดแรงผลักดันขาขึ้นในภายหลัง เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจของจีนส่งผลกระทบต่อแรงเทซื้อทองคำ แม้ว่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลงจะช่วยหนุนการปรับตัวสูงขึ้นต่อไปของราคาทองคำก็ตาม
ในทางกลับกัน BTCUSD และ ETHUSD ต่างไม่ตอบสนองต่อการอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ร่วงลงเป็นวันที่ 3 ติดต่อกันแตะระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ที่น่าสังเกตคือ การร่วงลงล่าสุดของสกุลเงินดิจิทัลชั้นนำเหล่านี้อาจเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมการขุดและการเตรียมตัวของเทรดเดอร์สำหรับการเปิดตัว spot ETH ETF
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ไม่ว่าจะเป็น ดัชนี PMI ภาคบริการ ISM ของสหรัฐฯ ตัวเลขการเปลี่ยนแปลงการจ้างงาน ADP หรือแม้กระทั่งรายงานการประชุมนโยบายการเงินของคณะกรรมการ FOMC ล่าสุด ล้วนส่งผลกระทบต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองสหรัฐฯที่อาจส่งผลต่อการลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีอีกสมัยของประธานาธิบดี Biden ยังเป็นผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลง ด้วยปัจจัยเหล่านี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) จึงปรับตัวลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ระหว่างที่อยู่ภายในแนวโน้มขาลงต่อเนื่องเป็นเวลา 5 วัน โดยยังขาดโมเมนตัมที่ระดับประมาณ 105.30
เมื่อวันพฤหัสบดี ดัชนี PMI ภาคบริการ ISM ของสหรัฐฯปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปี โดยร่วงลงต่ำกว่าระดับ 50.0 ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะหดตัวของภาคบริการ นอกจากนั้น ตัวเลขการเปลี่ยนแปลงการจ้างงาน ADP ซึ่งเป็นสัญญาณเบื้องต้นสำหรับการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมของสหรัฐฯ (NFP) ในวันศุกร์ก็อ่อนตัวลงด้วยเช่นกัน ขณะที่ ยอดคำสั่งซื้อภาคโรงงานประจำเดือนมิถุนายนยังปรับตัวลงอย่างน่าประหลาดใจ นอกจากนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯประจำแอตแลนตาได้ปรับลดตัวเลขการประมาณการ GDP ไตรมาส 2 ปี 2024 จาก 1.7% ไปที่ประมาณ 1.5%
ในทางกลับกัน รายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ระบุว่าคณะกรรมการส่วนใหญ่ประเมินว่า การเติบโตของเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวลง อีกทั้ง รายงานการประชุมยังระบุอีกว่า “สมาชิกส่วนใหญ่เห็นพ้องว่า นโยบายการเงินปัจจุบันมีความเข้มงวด”
โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ออกมาโต้แย้งความกังวลเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม ในขณะที่ ดัชนี PMI ของยูโรโซนและดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) มีการรายงานในหลากหลายทิศทาง ซึ่งส่งผลกระทบต่อช่วงแนวโน้มขาขึ้นของคู่เงิน EURUSD นอกจากนี้ ตัวเลขคำสั่งซื้อภาคโรงงานของเยอรมนีที่ปรับตัวลงยังเป็นปัจจัยที่กดดันแรงเทซื้อคู่เงินยูโรอีกด้วย
อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน GBPUSD มีแนวโน้มปรับตัวขึ้น ท่ามกลางดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลง และความคาดหวังว่าความวุ่นวายทางการเมืองจะผ่อนคลายลงจากการคาดการณ์ว่า พรรคแรงงานจะได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดด้วยคะแนนเสียงเกิน 212 เสียงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเป็นที่น่าสังเกตว่า คู่เงินเคเบิลทะยานแตะระดับสูงสุดในรอบหลายวัน หลังจากพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์เมื่อวันก่อนหน้า เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯทำให้เกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และยังสร้างแรงกดดันให้ดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลงอีกด้วย อย่างไรก็ตาม พรรคแรงงานดูเหมือนจะเตรียมพร้อมที่จะกลับมาควบคุมอำนาจอีกครั้ง หลังจากนั่งอยู่ในตำแหน่งฝ่ายค้านมาเป็นเวลา 14 ปี สิ่งนี้อาจทำให้ค่าเงินปอนด์สเตอร์ริงแข็งค่าขึ้นก่อนที่จะท้าทายช่วงแนวโน้มขาขึ้นของตลาด ทั้งนี้ รัฐบาลชุดใหม่ยังมีภารกิจที่ยากลำบากในการปกป้องการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจและจัดการกับปัญหา Brexit โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางการขาดดุลของอังกฤษที่เพิ่มขึ้น รวมถึงภาวะเศรษฐกิจมหภาคที่ซบเซา และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจากการดำเนินการของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE)
ส่วนทางด้านคู่เงิน USDJPY ยังคงพยายามปรับตัวตามแรงหนุนที่ได้รับจากการอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐฯ ท่ามกลางการซื้อขายที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1986 ขณะที่เทรดเดอร์ยังขาดความเชื่อมั่นในการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ)
นอกจากนี้ คู่เงิน AUDUSD ยังได้รับแรงหนุนจากข้อมูลยอดค้าปลีกและใบอนุญาตก่อสร้างที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯไม่น่าประทับใจนักก่อนการรายงานตัวเลขการค้าของออสเตรเลียที่กำลังจะประกาศในวันนี้ จะทดสอบช่วงแนวโน้มขาขึ้น โดยคู่เงิน NZDUSD ก็ขยับตัวขึ้นเล็กน้อยเช่นกัน หลังจากรัฐบาลนิวซีแลนด์ (NZ) คาดการณ์ว่าตัวเลขการขาดดุลจะปรับลดลงในอีก 11 เดือนข้างหน้าของปีงบประมาณ โดยคาดว่าจะลดลง 1.0 พันล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ (NZD) เหลือ 7.75 พันล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์
ทั้งนี้ คู่เงิน USDCAD ไม่ตอบสนองต่อตัวเลขการขาดดุลการค้าของแคนาดาที่ปรับตัวลง ท่ามกลางการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ และราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการรายงานข้อมูลสินค้าคงคลัง ตามรายงานของสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ตัวเลขปริมาณสำรองน้ำมันดิบประจำสัปดาห์อย่างเป็นทางการปรับลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม 2023 โดยปัจจัยนี้สอดคล้องกับสัญญาณเบื้องต้นของความต้องการพลังงานของสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูร้อนนี้ ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ท้าทายอุปทาน ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบ WTI ขยับตัวสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 สัปดาห์ นอกจากนี้ ราคาทองคำยังดีดตัวสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ แต่ยังคงขาดแรงผลักดันต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากการอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐฯประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับความต้องการทองคำจากจีนที่ผ่อนคลายลง
เนื่องจากวันหยุดในสหรัฐฯ และปฏิทินทางเศรษฐกิจที่เบาบางในภูมิภาคอื่นๆ เทรดเดอร์อาจจะพบกับบรรยากาศการซื้อขายที่ซบเซา นอกจากนี้ ท่าทีระมัดระวังของนักลงทุนในตลาดก่อนที่จะมีการรายงานตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯในวันศุกร์ อาจส่งผลต่อโมเมนตัมของตลาดด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม รายงานการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) การเลือกตั้งในสหราชอาณาจักร (UK) และปริมาณการซื้อขายที่เบาบาง ก็อาจจะส่งผลให้ราคาของสกุลเงินหลักและสินค้าโภคภัณฑ์พุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !