ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-05-24

EURUSD กลับสู่ช่วงแนวโน้มขาลงหลังจากช่วงขาขึ้น 5 สัปดาห์ ขณะการรายงานคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯ

EURUSD กลับสู่ช่วงแนวโน้มขาลงหลังจากช่วงขาขึ้น 5 สัปดาห์ ขณะการรายงานคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯ

ตลาดการเงินซบเซาลงในช่วงเช้าวันศุกร์ เนื่องจากความคึกคักในตลาดหุ้นลดลงหลังจากข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯมีการรายงานตัวเลขที่แข็งแกร่งในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ซึ่งข้อมูลดังกล่าวกระตุ้นความกังวลเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และยังส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น นอกจากนี้ ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ทวีความรุนแรงยังเป็นอีกปัจจัยที่ท้าทายแนวโน้มเชิงบวกของตลาดที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้

ท่ามกลางปัจจัยเหล่านี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ยังคงกลับตัวจากการร่วงลงของวันก่อนหน้า ขณะที่ คู่เงิน EURUSD ดูเหมือนว่าจะยุติแนวโน้มขาขึ้น 5 สัปดาห์ นอกจากนี้ คู่เงิน GBPUSD ยังคงมีแนวโน้มเชิงบวกในช่วงสัปดาห์นี้ แม้จะปรับลดลงเป็นวันที่สองติดต่อกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากข้อมูลเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรที่ปรับตัวดีขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ ส่วนทางด้าน คู่เงิน USDJPY พุ่งสูงขึ้นสามวันติดต่อกัน โดยท้าทายแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) เนื่องจากตัวเลขการเติบโตของอัตราเงินเฟ้อญี่ปุ่นชะลอตัว

คู่เงิน AUDUSD ร่วงลงมากที่สุดในบรรดาสกุลเงินกลุ่ม G10 ขณะที่ทำหน้าที่เป็นตัวชี้วัดความเสี่ยง (Risk Barometer) โดยคู่เงิน NZDUSD ยังคงถูกกดดันจากข้อมูลการค้าของนิวซีแลนด์ (NZ) ที่ถดถอยลง นอกจากนี้ คู่เงิน USDCAD ได้รับผลกระทบจากดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้นและราคาน้ำมันที่ปรับตัวลง ส่วนทางฝั่งราคาทองคำมุ่งหน้าสู่การปิดสัปดาห์ด้วยการร่วงลงมากที่สุดในรอบสัปดาห์นับตั้งแต่ปลายปี 2023

ทั้งนี้ BTCUSD ร่วงลงเป็นวันที่สี่ติดต่อกัน โดยได้รับแรงกดดันจากดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้นและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับกฎระเบียบเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลในอนาคตของสำนักงาน ก.ล.ต. สหรัฐฯ (US SEC) อย่างไรก็ตาม ETHUSD มีแนวโน้มพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบสัปดาห์นับตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม 2021 แม้จะมีการร่วงลงเล็กน้อยในภายหลัง หลังจาก US SEC อนุมัติ Spot ETH ETFs อย่างเหนือความคาดหมาย

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันดิบ WTI ปรับลดลงเป็นวันที่ห้าติดต่อกัน โดยร่วงลงเล็กน้อยที่ประมาณ $76.80
  • ทองคำ (Gold) ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยไปที่ $2,336 โดยยุติการร่วงลงติดต่อกันสามวันแต่ยังคงมีแนวโน้มที่จะร่วงลงในรอบสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดของปี 2024
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) ยังคงอยู่ในแนวรับใกล้ระดับสูงสุดประจำสัปดาห์ที่ประมาณ 105.00 หลังจากพุ่งสูงขึ้นในช่วงสี่วันที่ผ่านมาติดต่อกัน
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดลบ และส่งผลกระทบต่อ หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร ปรับลดลงเล็กน้อยในช่วงเปิดการซื้อขาย
  • BTCUSD และ ETHUSD ร่วงลงระหว่างวันไปที่ประมาณ $67,100 และ $3,690 ตามลำดับ
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

ดอลลาร์สหรัฐฯมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นในรอบสัปดาห์...

ตัวเลขที่แข็งแกร่งจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของ S&P Global สหรัฐฯประจำเดือนพฤษภาคม ประกอบกับตัวเลขผู้ขอรับสิทธิ์การว่างงานของสหรัฐฯที่ปรับลดลงได้ช่วยหนุนให้ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นในวันก่อนหน้า ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นในรอบสัปดาห์ โดยปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ห้าติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า บรรยากาศการซื้อขายอย่างระมัดระวังก่อนการรายงานข้อมูลคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯในวันนี้และช่วงวันหยุดยาวที่ใกล้จะถึงนี้ อาจจำกัดการเคลื่อนไหวล่าสุดของดอลลาร์สหรัฐฯอีกด้วย

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา Raphael Bostic ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำแอตแลนตาออกมากล่าวว่า "เราอาจจะต้องอดทนรออัตราเงินเฟ้อปรับลดลงเหลือ 2% นานขึ้นอีกสักหน่อย ก่อนที่จะปรับอัตราดอกเบี้ย" ซึ่งความเห็นของ Bostic ส่งผลให้ตลาดคาดการณ์ว่า Fed จะมีการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด ซึ่งหมายความว่า Fed น่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินสองครั้งในปี 2024 ซึ่งน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่สามครั้ง ความคิดเห็นนี้ยังส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯพลิกกลับจากการอ่อนค่าลงในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า

นอกเหนือไปจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ปรับตัวดีขึ้นและการประชุมของ Fed แล้ว ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มสูงขึ้นในจีนและตะวันออกกลางล่าสุด ยังช่วยให้ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น อีกทั้ง การรายงาน Sky News Arabia ยังได้ปฏิเสธความหวังในการหยุดยิงในฉนวนกาซาเมื่อวันพฤหัสบดี ขณะที่สงครามการค้าจีน-อเมริกาและความตึงเครียดระหว่างจีน-ไต้หวันที่ทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาท้าทายสภาวะการพร้อมรับความเสี่ยงของตลาด แม้ว่าตลาดหุ้นจะมีแนวโน้มขาขึ้นก็ตาม

นอกจากดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้นแล้ว ข้อมูลดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของยูโรโซนประจำเดือนพฤษภาคมที่ถดถอยลง รวมถึงความคิดเห็นที่ไม่ค่อยน่าประทับใจนักจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังสร้างแรงกดดันด้านลบต่อราคาคู่เงิน EURUSD อีกด้วย แม้ว่าตัวเลขค่าดัชนี PMI ของยูโรโซนประจำเดือนพฤษภาคมจะออกมามีทิศทางเป็นบวก แต่ก็ไม่สามารถกระตุ้นแรงเทซื้อยูโรได้ แม้ว่าจะมีการรายงานตัวเลขเบื้องต้นของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของยูโรโซนประจำเดือนพฤษภาคม ซึ่งลดลงจาก -14.2 มาอยู่ที่ -14.3 แต่ Francois Villeroy de Galhau สมาชิกคณะกรรมการธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวว่า ข้อมูลค่าแรงล่าสุดมีตัวเลขสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อย แต่เนื่องจากข้อมูลนี้มาจากเยอรมนีเป็นหลัก เราจึงไม่ควรตีความข้อมูลนี้มากเกินไป ซึ่งความเห็นดังกล่าวบ่งชี้ว่าธนาคารกลางยุโรปอาจจะยังคงมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยต่อไป

คู่เงิน GBPUSD ยังคงถูกกดดันเป็นวันที่สองติดต่อกัน หลังจากตัวเลขยอดค้าปลีกของสหราชอาณาจักร (UK) ประจำเดือนเมษายนปรับตัวลง และเมื่อประกอบกับตลาดที่ยังคงไม่เชื่อมั่นในสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) แม้ว่าข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของอังกฤษล่าสุดจะมีทิศทางดีขึ้น และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหราชอาณาจักรประจำเดือนพฤษภาคมจะปรับตัวขึ้นจาก -18 เป็น -17 ก็ตาม แต่ปัจจัยเหล่านี้ยังคงส่งผลกระทบต่อคู่เงินเคเบิล โดยน่าสังเกตว่าการยกเลิกการแถลงการณ์ต่อสาธารณะทั้งหมดของ BoE ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนกรกฎาคม ดูเหมือนว่าจะส่งผลต่อค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงในช่วงหลังด้วยเช่นกัน

อีกทางด้านหนึ่ง ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของญี่ปุ่นลดลงเหลือ 2.5% YoY ในเดือนเมษายน เมื่อเทียบกับการรายงานก่อนหน้าที่ 2.7% ส่วนดัชนี CPI พื้นฐานซึ่งไม่รวมอาหารและพลังงานก็ลดลง 2.4% YoY จากการรายงานครั้งก่อนที่ 2.9% เช่นกัน โดยแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง กำลังสร้างแรงกดดันให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มเติม ซึ่งช่วยหนุนให้คู่เงิน USDJPY พุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรขยับตัวขึ้น และความคาดหวังเชิงบวกอย่างระมัดระวังในตลาด

นอกจากนี้ คู่เงิน AUDUSD ร่วงลงมากที่สุดในบรรดาสกุลเงิน G10 ท่ามกลางแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed ที่มีมากกว่าธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) รวมไปถึงความกังวลที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจจีน ในขณะเดียวกัน คู่เงิน NZDUSD ยังคงถูกกดดันแม้ว่าเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) จะพยายามลดความกังวลเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยก็ตาม โดยตัวเลขการค้านิวซีแลนด์ที่ปรับลดลงประจำเมษายนยังสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่อคู่เงินกีวีอีกด้วย

ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน USDCAD กำลังพุ่งทะยานขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้นร่วมกับราคาน้ำมันดิบซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของแคนาดาที่ปรับลดลงได้กระตุ้นคู่เงิน Loonie โดยราคาน้ำมันดิบยังได้รับผลกระทบจากแนวโน้มที่ธนาคารกลางในประเทศตะวันตกจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นเวลานานและความคาดหวังว่ากลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่จะลดกำลังการผลิตน้อยลงอีก

ทั้งนี้ ราคาทองคำเตรียมพร้อมสำหรับการร่วงลงรายสัปดาห์ครั้งใหญ่ที่สุดของปี 2024 ท่ามกลางดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้นและความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับสถานการณ์ในจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในลูกค้าทองคำรายใหญ่ที่สุดของโลก

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY, US Dollar
  • สัญญาณขายแรง: AUDUSD, NZDUSD, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, BTCUSD, EURUSD

การรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯถูกจับตามองก่อนช่วงวันหยุดยาว...

ตัวเลขคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯประจำเดือนเมษายน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมหาวิทยาลัยมิชิแกน (UoM) และการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภคประจำเดือนพฤษภาคมจะเป็นข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญที่จะชี้นำการเคลื่อนไหวของตลาดระหว่างวัน นอกจากนี้ ความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางของสหรัฐฯและยุโรปก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญเช่นกัน ควรสังเกตว่าการปรับตัวที่ดีขึ้นล่าสุดของข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯได้ส่งผลต่อความคาดหวังเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของ Fed และผลักดันค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯให้ปรับตัวขึ้น ดังนั้น ความผิดหวังที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันจากข้อมูลที่กำหนดไว้จะต้องรุนแรงมากเพื่อดึงดูดช่วงแนวโน้มขาลงของดอลลาร์สหรัฐฯ มิฉะนั้น คาดว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯจะเกิดการดึงกลับเพียงเล็กน้อยในกรณีที่คาดการณ์ว่าสถิติจะปรับตัวลดลง

แม้จะมีตัวเลขคำสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐฯ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมหาวิทยาลัยมิชิแกน (UoM) และการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภคในอีก 5 ปีข้างหน้า แต่คาดว่าตลาดจะมีการเคลื่อนไหวไม่มากนัก เป็นผลมาจากช่วงก่อนวันหยุดยาวเนื่องในวันหยุดนักขัตฤกษ์ของสหรัฐฯและสหราชอาณาจักรในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค CB ของสหรัฐฯ ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของ Fed และดัชนีผู้จัดการการผลิต (PMI) ของจีนในสัปดาห์หน้า อาจส่งผลให้ตลาดมีการซื้อขายที่คึกคักในช่วงสัปดาห์ที่สั้นลงเนื่องจากวันหยุดนี้

โดยคาดว่าดอลลาร์สหรัฐฯจะยังคงแข็งค่าขึ้น เนื่องจากความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นล่าสุดว่า Fed จะดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวด รวมไปถึงความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับจีนที่เพิ่มสูงขึ้น ในอีกทางหนึ่ง ปัจจัยเหล่านี้ยังสร้างแรงกดดันด้านลบต่อราคาทองคำและราคาน้ำมันดิบ และยังท้าทายการแข็งค่าขึ้นก่อนหน้านี้ของสกุลเงินหลักและสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯอีกด้วย

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !