เทรดเดอร์ยังอยู่ในสภาวะทรงตัวจากความเคลื่อนไหวของตลาดในรอบสัปดาห์ ท่ามกลางปฏิทินทางเศรษฐกิจที่เบาบางและสถานการณ์ที่ยังไม่มีข่าวสารโดดเด่นในช่วงต้นวันศุกร์ สภาพการณ์นี้ยังช่วยให้ดอลลาร์สหรัฐฯสามารถขยายการฟื้นตัวของวันก่อนหน้าจากระดับต่ำสุดในรอบเดือน โดยปัจจัยนี้ยังท้าทายการแข็งค่าขึ้นของสกุลเงินหลักและสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans ในสัปดาห์นี้ อีกทั้ง ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในจีนยังช่วยชะลอการร่วงลงในรอบสัปดาห์ของดอลลาร์สหรัฐฯได้อีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD จึงขยายการร่วงลงของวันก่อนหน้าจากจุดสูงสุดในรอบ 8 สัปดาห์ ในขณะที่ คู่เงิน USDJPY ยังคงรักษาระดับการฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ นอกจากนี้ คู่เงิน AUDUSD ยังปรับลดลงจากระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน ขณะที่ คู่เงิน NZDUSD มีการปรับตัวสอดคล้องกับการยืนยันรูปแบบกราฟขาลงของแท่งเทียน Doji ในวันก่อนหน้า โดยมีการร่วงลงระหว่างวัน
ส่วนทางด้าน คู่เงิน USDCAD ไม่ได้รับแรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นเล็กน้อยของราคาน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของแคนาดา ในขณะที่ ราคาทองคำมีราคาเสนอซื้อเป็นบวกโดยพลิกกลับการดึงกลับของวันพฤหัสบดีจากแนวต้านแนวนอนอายุ 1 เดือน
เมื่อพูดถึงสกุลเงินดิจิทัล BTCUSD พุ่งสูงขึ้นเล็กน้อยหลังจากร่วงลงจากจุดสูงสุดในรอบเดือน ท่ามกลางการพูดคุยเกี่ยวกับแผนของ CME ที่จะเปิดตัวการซื้อขายบิตคอยน์ ทว่า ETHUSD ยังคงไม่มีโมเมนตัมในการฟื้นตัว ท่ามกลางข่าวสารที่หลากหลายเกี่ยวกับ Spot ETH ETF
มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:
ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) พุ่งสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 วันเมื่อวันก่อนหน้า โดยดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 5 สัปดาห์ และยังฟื้นตัวจากเส้น 100-SMA แม้ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯจะไม่น่าประทับใจนัก ถึงกระนั้น DXY ยังคงมีราคาเสนอซื้อเป็นบวกเล็กน้อยในช่วงเช้าวันศุกร์ แม้จะมีแนวโน้มที่จะปิดสัปดาห์ด้วยการปรับลดลง โดยได้รับแรงหนุนจากความเห็นเชิงสนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และข่าวเชิงลบเกี่ยวกับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจจากจีน รวมไปถึงบรรยากาศการซื้อขายที่ค่อนข้างซบเซา
ในวันพฤหัสบดี ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯส่วนใหญ่มีทิศทางเชิงลบ ไม่ว่าจะเป็น ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม และตัวเลขข้อมูลที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม การที่เจ้าหน้าที่ Fed ยังคงส่งสัญญาณว่าจะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ฟื้นตัวขึ้นจากจุดต่ำสุดในรอบเดือน ในบรรดาเจ้าหน้าที่คนสำคัญของคณะกรรม FOMC ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำแอตแลนตา Raphael Bostic ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำคลีฟแลนด์ Loretta Mester และประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำริชมอนด์ Thomas Barkin จะได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยทั้ง 3 ท่านต่างปฏิเสธความกังวลของตลาดที่ว่า ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ (US CPI) ที่อ่อนตัวลงเมื่อเร็วๆนี้ จะผลักดันให้ Fed ปรับลดอัตราดอกเบี้ยบ่อยครั้งในปี 2024
ในอีกทางหนึ่ง จีนรายงานตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง แต่ข้อมูลตลาดที่อยู่อาศัยและข้อมูลการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรกลับเป็นที่น่าผิดหวัง เมื่อประกอบกับยอดค้าปลีกที่เติบโตช้าลง จึงส่งผลให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลกอีกครั้ง โดยการรายงานนี้ยังได้ท้าทายแรงเทซื้อสินค้าโภคภัณฑ์ และสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans อีกด้วย ซึ่งในทางกลับกัน ข่าวสารดังกล่าวกลับช่วยพยุงการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯ
ขณะที่ความกังวลเกี่ยวกับ Fed และการรายงานข่าวจากจีนจะส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐฯชะลอการปรับตัวสูงขึ้นในรอบสัปดาห์ แต่ช่วงแนวโน้มขาขึ้นยูโรก็ชะลอการเคลื่อนไหวเช่นกัน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เกือบทั้งหมดที่ออกมาแสดงความเห็นที่ขัดแย้งล่าสุด ล้วนยืนยันการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน โดย Isabel Schnabel สมาชิกคณะกรรมการบริหารของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ระบุว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนอาจเป็นสิ่งที่เหมาะสม แต่แนวทางหลังจากนั้นยังมีความไม่แน่นอน ในขณะเดียวกัน Martins Kazaks สมาชิกคณะผู้บริหารของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังกล่าวอีกว่า "มีแนวโน้มว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนมิถุนายน แต่หลังจากนั้นอาจมีการเว้นระยะห่าง"
ในทางกลับกัน ความลังเลของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ที่จะสนับสนุนแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของตลาด ยังส่งผลให้คู่เงิน GBPUSD ปรับลดลง การสำรวจโดย Reuters ล่าสุดชี้ว่า การตัดสินใจของ BoE ว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายนหรือสิงหาคม ยังเป็นเรื่องที่ตัดสินได้ยาก นอกจากนี้ Megan Greene ผู้กำหนดนโยบายของ BoE ยังกล่าวว่า การตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับแนวโน้มเงินเฟ้อที่จะลดลงอย่างต่อเนื่องหรือไม่
ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้ว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) Kazuo Ueda ได้ออกมาปฏิเสธการคาดการณ์ของตลาดเกี่ยวกับแผนการที่จะถ่ายเทสินทรัพย์ที่ถือครองอยู่ในกองทุน ETF เพื่อรักษาระดับค่าเงินเยน อย่างไรก็ตาม การออกมาปฏิเสธดังกล่าว ไม่สามารถช่วยพยุงค่าเงินเยนไว้ได้ ท่ามกลางความกังวลต่อนโยบายการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่น และข้อมูลเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่ผันผวน
ทางฝั่งของคู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD กำลังเผชิญแรงกดดันจากข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับจีน ขณะที่ราคาน้ำมันดิบกลับมาฟื้นตัว ท่ามกลางความคาดหวังว่าจะมีความต้องการพลังงานจากจีนเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีแนวโน้มว่าจีนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม รวมไปถึงความคาดหวังว่ากลุ่ม OPEC+ จะลดกำลังการผลิตเพิ่มเติมเช่นกัน นอกจากนี้ ราคาทองคำยังคงอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินครั้งต่อไปของธนาคารกลางชั้นนำทั่วโลก และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ถดถอยลงที่ดึงดูดให้นักลงทุนหันเหมาที่ทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยแบบดั้งเดิม
แม้ว่าปฏิทินเศรษฐกิจในวันศุกร์นี้จะยังไม่มีข้อมูลสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อตลาดมากนัก แต่การรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อยูโรโซนประจำเดือนเมษายนและแถลงการณ์ของผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) หลายท่านอาจดึงดูดความสนใจของเทรดเดอร์ที่อาศัยโมเมนตัมในการเทรด เป็นที่น่าสังเกตว่า การปรากฏตัวต่อสาธารณะของประธาน Fed Jerome Powell ในวันอาทิตย์นี้จะถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด เนื่องจากก่อนหน้านี้ แม้ว่าผู้นำ FOMC จะคลายความกังวลเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน แต่ก็ไม่สามารถสร้างความประทับใจให้กับช่วงแนวโน้มขาขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯได้
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !