ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-08-02

EURUSD มีแนวโน้มร่วงลงในรอบสัปดาห์ แม้ว่าดอลลาร์สหรัฐฯจะอ่อนค่าลงก่อนการรายงาน NFP

EURUSD มีแนวโน้มร่วงลงในรอบสัปดาห์ แม้ว่าดอลลาร์สหรัฐฯจะอ่อนค่าลงก่อนการรายงาน NFP

ความเชื่อมั่นในตลาดซบเซา ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับสภาวะการลงจอดอย่างนุ่มนวล (soft landing) ของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลาง นอกจากนี้ บรรยากาศการซื้อขายที่มีความระมัดระวังก่อนการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐฯประจำเดือนกรกฎาคมในวันนี้ ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะความเสี่ยงในตลาด โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า สภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของตลาด ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบสองสัปดาห์ ขณะที่ยุติการร่วงลงติดต่อกันสองวัน อย่างไรก็ดี การตอบสนองต่อการดีดตัวขึ้นของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯของตลาดในหลากหลายทิศทาง เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้รับการยอมรับมากขึ้น

ท่ามกลางการเคลื่อนไหวดังกล่าว ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) มีแนวโน้มที่จะปิดสัปดาห์ในแดนบวกเล็กน้อย แต่คู่เงิน EURUSD,คู่เงิน GBPUSD,คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน USDCAD ยังคงมีแนวโน้มที่จะร่วงลงอย่างหนักในรอบสัปดาห์ ในทางกลับกัน คู่เงิน NZDUSD,คู่เงิน USDCHF,คู่เงิน USDJPY, ราคาน้ำมันดิบ และราคาทองคำ ยังคงเคลื่อนไหวในแดนบวกอย่างแข็งแกร่งตลอดทั้งสัปดาห์

ไม่เพียงแต่สกุลเงินหลักบางสกุลเท่านั้น ดัชนีหุ้นหลักของสหรัฐฯและสกุลเงินดิจิทัลก็ไม่สามารถตอบสนองเชิงบวกต่อการอ่อนค่าลงของดอลลาร์สหรัฐฯ รวมไปถึงแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของ Fed ได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (DJI30) เตรียมเผชิญกับการปิดสัปดาห์ด้วยการร่วงลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 สัปดาห์ ขณะที่ดัชนี Nasdaq 100 ยังคงถูกกดดันเป็นสัปดาห์ที่สามติดต่อกัน ในขณะเดียวกัน BTCUSD และ ETHUSD ยังคงปรับตัวลงท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับการไหลออกของเงินทุนอย่างหนักจากกองทุน ETF และการเทขายของผู้ร่วมตลาดรายใหญ่ (whales)

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันดิบ WTI มีราคาเสนอซื้อเป็นบวกโดยพลิกกลับจากการอ่อนตัวลงของวันก่อนหน้าจากระดับสูงสุดในรอบสองสัปดาห์ ล่าสุดปรับตัวขึ้นเล็กน้อยไปที่ประมาณ $77.00
  • ทองคำ (Gold) พุ่งสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบสองสัปดาห์ โดยเพิ่มขึ้น 0.90% ระหว่างวันอยู่ที่ประมาณ $2,469
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) พยายามรักษาระดับการฟื้นตัวของวันก่อนหน้าจากระดับต่ำสุดในรอบสองสัปดาห์ แต่ยังคงอ่อนตัวลงอยู่ที่ระดับ 104.20
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดลบเล็กน้อย ตลาดหุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ปรับตัวลดลง ขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร ร่วงลงเล็กน้อยในช่วงเปิดการซื้อขาย
  • BTCUSD และ ETHUSD ลดลงมากกว่า 1.5% ระหว่างวันไปที่ประมาณ $64,200 และ $3,150 ตามลำดับ
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

ดอลลาร์สหรัฐฯชะลอการร่วงลงท่ามกลางปัจจัยสำคัญทางเศรษฐกิจที่ผันผวน…

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ดอลลาร์สหรัฐฯปรับตัวขึ้นแรงที่สุดในรอบหนึ่งสัปดาห์ เนื่องจากสัญญาณการจ้างงานสหรัฐฯที่อ่อนตัวลงประกอบกับตัวเลขดัชนี PMI ที่ปรับลดลง ทำให้ความกังวลเกี่ยวกับสภาวะการลงจอดอย่างนุ่มนวล (soft landing) ของเศรษฐกิจสหรัฐฯกลับมาอีกครั้ง อย่างไรก็ดี ปัจจัยนี้ยังกระตุ้นให้เกิดสภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในตลาด และสนับสนุนความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างเช่น ดอลลาร์สหรัฐฯ เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ฟรังก์สวิส (CHF) และทองคำด้วยเช่นกัน นอกเหนือไปจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ส่วนใหญ่มีทิศทางเป็นลบแล้ว ความวิตกกังวลทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลางและสหรัฐฯ ยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของตลาดและสนับสนุนสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำอีกด้วย

ในบรรดาปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญ ความพร้อมของฮิซบอลเลาะห์ที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านในการแก้แค้นการโจมตีของอิสราเอลและความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-จีนจะได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เช่นเดียวกับการรายงานข่าวที่บ่งบอกถึงการรวมตัวของพายุขนาดใหญ่ในอ่าวเม็กซิโก

ด้วยเหตุนี้ ราคาน้ำมันดิบจึงไม่ตอบสนองต่อการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯ และปัญหาทางเศรษฐกิจของจีน โดยมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบสี่สัปดาห์ การพุ่งสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบอาจเป็นผลมาจากปัญหาความไม่สงบในตะวันออกกลาง และทิศทางที่ยังไม่แน่นอนของ OPEC เกี่ยวกับการลดกำลังการผลิตน้ำมัน ยิ่งไปกว่านั้น ราคาทองคำกำลังมุ่งสู่การขยับตัวสูงขึ้นรายสัปดาห์มากที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน นอกจากนี้ คู่เงิน USDCHF ยังร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบหกเดือน ขณะที่ปรับลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ห้า โดยคู่เงิน USDJPY ยังคงถูกกดดันอยู่ที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม เนื่องจากสภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของตลาดและดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลง ร่วมกับความเชื่อมั่นเชิงบวกของผู้กำหนดนโยบายญี่ปุ่นเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจ

ในอีกทางหนึ่ง ความคิดเห็นที่ไม่น่าประทับใจนักจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาผสมผสานของยูโรโซนได้สร้างแรงกดดันด้านลบต่อราคาคู่เงิน EURUSD ในขณะเดียวกัน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) และความพร้อมที่จะดำเนินการตามนั้นในอนาคต ยังทำให้คู่เงิน GBPUSD ยังคงอยู่ในช่วงแนวโน้มขาลง โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า คู่เงิน USDCAD ไม่สามารถปรับตัวสอดคล้องกับการปรับตัวขึ้นของราคาสินค้าส่งออกหลักของแคนาดาอย่างน้ำมันดิบได้ ท่ามกลางแนวโน้มการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางแคนาดา (BoC) ขณะที่ คู่เงิน NZDUSD ได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ของตลาดที่สนับสนุนการเลื่อนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) อย่างไรก็ตาม คู่เงิน AUDUSD ยังต้องแบกรับภาระจากปัญหาทางเศรษฐกิจของจีนและข้อมูลเศรษฐกิจภายในประเทศที่ส่วนใหญ่ไม่ดีนัก ซึ่งรวมไปถึงบรรยากาศการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของตลาดอีกด้วย

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY, US Dollar, Silver
  • สัญญาณขายแรง: AUDUSD, NZDUSD, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold, DJI30, USDCNH
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, EURUSD, Crude Oil

การรายงานอัตราเงินเฟ้อของสวิสและตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯอยู่ในความสนใจ…

ถัดไป ทุกสายตาจะจับจ้องไปที่รายละเอียดการรายงานการจ้างงานของสหรัฐฯประจำเดือนกรกฎาคม โดยเฉพาะตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (NFP) ซึ่งเป็นตัวเลขที่สำคัญ โดยการที่รายงานการจ้างงานของสหรัฐฯมีความสำคัญมากขึ้นในครั้งนี้ เนื่องจากตลาดมีความกังวลครั้งใหม่เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งของ Fed ในปี 2024 เมื่อเทียบกับการคาดการณ์เดิมที่ 2 ครั้ง ดังนั้น เทรนด์ตลาดฝั่งขาลงของดอลลาร์สหรัฐฯ ควรเตรียมตัวรับมือกับการแข็งค่าขึ้นต่อไปของดอลลาร์สหรัฐฯด้วยเช่นกัน ในกรณีที่ตัวเลข NFP และ/หรือ การเติบโตของอัตราค่าจ้างปรับลดลง ตามที่ตลาดคาดการณ์กันไว้ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (NFP) คาดว่าจะลดลงเหลือ 175,000 ตำแหน่ง จากเดิมที่ 206,000 ตำแหน่ง ในขณะที่อัตราการว่างงานมีแนวโน้มที่จะคงที่อยู่ที่ 4.1% นอกจากนี้ ค่าจ้างเฉลี่ยต่อชั่วโมงอาจปรับลดลงเหลือ 3.7% YoY จากเดิมที่ 3.9% ถึงกระนั้นตัวเลขเมื่อเทียบรายเดือนคาดว่าจะคงที่อยู่ที่ 0.3%

นอกเหนือไปจากข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐฯแล้ว ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสวิตเซอร์แลนด์ ประจำเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นตัวชี้วัดอัตราเงินเฟ้อสำคัญของสวิตเซอร์แลนด์ ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่เทรดเดอร์สายโมเมนตัม โดยเฉพาะคู่สกุลเงินอย่างฟรังก์สวิส (CHF) ให้ความสนใจ อย่างไรก็ดี คาดว่า ตัวเลขดัชนี CPI เมื่อเทียบเป็นรายปีจะคงที่อยู่ที่ 1.3% แต่ตัวเลขเมื่อเทียบรายเดือนดูเหมือนมีแนวโน้มที่จะลดลงเหลือ -0.2% จากเดิมที่ 0.0% ซึ่งหากเป็นไปตามการคาดการณ์ ปัจจัยนี้อาจท้าทายแรงเทขายคู่เงิน USDCHF ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !