ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-06-11

AUDUSD สะท้อนสถานะ “บารอมิเตอร์ความเสี่ยง” โดยดึงดูดช่วงแนวโน้มขาลง ท่ามกลางความผันผวนของตลาด

AUDUSD สะท้อนสถานะ “บารอมิเตอร์ความเสี่ยง” โดยดึงดูดช่วงแนวโน้มขาลง ท่ามกลางความผันผวนของตลาด

ผู้ร่วมตลาดยังคงไม่มีทิศทางที่ชัดเจนในช่วงเช้าของวันอังคาร หลังจากตลาดเปิดทำการอย่างเงียบเหงาในช่วงเริ่มต้นสัปดาห์สำคัญที่มีการประกาศนโยบายการเงินของธนาคารกลางชั้นนำและการรายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อ นอกจากนี้ ข่าวสารทางภูมิรัฐศาสตร์ที่หลากหลายยังเป็นอีกปัจจัยที่จำกัดโมเมนตัมของตลาดอีกด้วย แม้ว่าจะเป็นการกลับมาเปิดตลาดอย่างเต็มรูปแบบหลังจากช่วงวันหยุดยาวในจีน ออสเตรเลีย และฮ่องกง แต่เทรดเดอร์ก็ยังคงไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างชัดเจน

ด้วยปัจจัยดังกล่าว ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ยังคงพยายามรักษาระดับแรงเทซื้อ หลังจากแตะระดับสูงสุดในรอบหนึ่งเดือนเมื่อวันก่อนหน้า ในทางกลับกัน คู่เงิน EURUSD กำลังฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบหนึ่งเดือนเช่นกัน ท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในยุโรป อีกทางด้านหนึ่ง คู่เงิน GBPUSD ก็พลิกกลับการฟื้นตัวของวันก่อนหน้าจากระดับต่ำสุดในรอบสัปดาห์ เนื่องจากข้อมูลการจ้างงานของสหราชอาณาจักรได้สร้างความกังวลเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ประกอบกับสภาพแวดล้อมทางการเมืองที่ไม่แน่นอนในบริเตน

ในขณะที่ความเชื่อมั่นในตลาดส่วนใหญ่ยังคงมีความระมัดระวัง คู่เงิน AUDUSD ซึ่งทำหน้าที่เป็นบารอมิเตอร์ความเสี่ยง ก็ได้ชะลอตัวลงจากการฟื้นตัวในช่วงต้นสัปดาห์จากเส้น 50-SMA โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในจีนและข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอภายในประเทศ เช่นเดียวกันกับ คู่เงิน NZDUSD ที่ปรับตัวลง อีกทั้ง ดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้นยังส่งผลกระทบต่อสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ คู่เงิน USDCAD ไม่ได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันดิบ WTI ที่พุ่งขึ้นแรงที่สุดในรอบ 7 เดือน โดยยังคงเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือนเมื่อวันก่อนหน้า ทั้งนี้ ราคาทองคำปรับลดลงแตะแนวรับที่เพิ่มสูงขึ้นอายุ 10 สัปดาห์ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จะดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากรายงานตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯที่แข็งแกร่งในวันศุกร์ที่ผ่านมา ในขณะที่ความคาดหวังเชิงบวกจากจีนเริ่มลดลง

เมื่อพูดถึงสกุลเงินดิจิทัล BTCUSD ร่วงลงแรงที่สุดในรอบ 1 เดือน โดย ETHUSD ก็ร่วงลงมากที่สุดในรอบสัปดาห์เช่นกัน แม้จะมีการรายงานข่าวว่ามีกระแสเงินทุนในผลิตภัณฑ์การลงทุนด้านคริปโทเคอร์เรนซีเป็นจำนวนมากเป็นประวัติการณ์

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันดิบ WTI ร่วงลงเล็กน้อย อยู่ที่ประมาณ $77.80 หลังจากที่พุ่งสูงขึ้นแรงที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2023
  • ทองคำ (Gold) ชะลอตัวจากการพุ่งสูงขึ้นในวันก่อนหน้า โดยปรับตัวลดลงเล็กน้อยที่ประมาณ $2,300
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจนเหนือระดับ 105.00 ท้าทายแนวโน้มขาขึ้นสองวัน
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดบวกเล็กน้อยแต่ หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ปรับตัวลดลง ขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร พุ่งสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงเปิดการซื้อขาย
  • BTCUSD และ ETHUSD ร่วงลงมากกว่า 2.0% ระหว่างวันที่ประมาณ $67,600 และ $3,550 ตามลำดับ
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

เทรดเดอร์เตรียมพร้อมรับความผันผวนในวันพุธ...

วันหยุดเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาในจีน ออสเตรเลีย และฮ่องกง ประกอบกับปฏิทินเศรษฐกิจที่เบาบางในภูมิภาคอื่นๆ เป็นผลให้ตลาดเปิดทำการอย่างเงียบเหงาในช่วงเริ่มต้นสัปดาห์สำคัญ แม้ว่าจะมีข่าวสารจากจีนและข้อมูลตัวเลขเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรออกมากระตุ้นตลาดในช่วงเช้าของวันอังคาร แต่แรงขับเคลื่อนก็ยังไม่ฟื้นตัว โดยสาเหตุอาจมาจากมุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และความสามารถของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ในการประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม นอกจากนี้ ความลังเลของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม และแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ยังสร้างความสับสนให้กับเทรดเดอร์ ยิ่งไปกว่านั้น ข่าวสารทางภูมิรัฐศาสตร์จากทั้งสหราชอาณาจักร ยูโรโซน สหรัฐฯ และตะวันออกกลาง ยิ่งเพิ่มตัวแปรที่จะส่งผลต่อการตัดสินใจของเทรดเดอร์อีกด้วย

ดอลลาร์สหรัฐฯยังได้รับผลประโยชน์จากความผันผวนของตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการรายงานตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯที่แข็งแกร่งในวันศุกร์ที่ผ่านมา ในขณะที่ คู่เงิน EURUSD ได้รับผลกระทบจากความกังวลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางการเมืองในฝรั่งเศสและเยอรมนี น่าสังเกตว่า ผลสำรวจความคาดหวังของผู้บริโภคโดยธนาคารกลางสหรัฐฯประจำนิวยอร์กชี้ว่า การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในอีก 5 ปีข้างหน้า เพิ่มขึ้นจาก 2.8% เป็น 3.0% ในขณะที่การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในอีก 1 ปีข้างหน้ากลับลดลงเล็กน้อยจาก 3.3% เป็น 3.2% นอกจากนี้ แนวโน้มการจ้างงานของสหรัฐฯในเดือนพฤษภาคมปรับตัวดีขึ้นจากระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ตุลาคม 2021 เป็น 111.44 ซึ่งสอดคล้องกับกระแสข่าวเกี่ยวกับตลาดแรงงานสหรัฐฯที่แข็งแกร่ง รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่คงที่ ซึ่งส่งผลให้ช่วงแนวโน้มขาขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯยังคงปรับตัวสูงขึ้น

ในขณะเดียวกัน ความเชื่อมั่นของนักลงทุนในยูโรโซนตามดัชนี Sentix Investor Confidence ประจำเดือนมิถุนายน ปรับตัวดีขึ้นเป็น 0.3% จาก -1.8% แต่ทว่ายังไม่สามารถกระตุ้นแรงเทซื้อคู่เงิน EURUSD ได้ แม้ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) Christine Lagarde จะส่งสัญญาณถึงการสนับสนุนการดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวด ซึ่งไม่เพียงแต่ท่าทีทางฝั่งของ Lagarde เท่านั้น Joachim Nagel เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางอีกท่านก็ได้แสดงความลังเลที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ ข้อมูลการจ้างงานล่าสุดของสหราชอาณาจักรยังแสดงให้เห็นอีกว่า อัตราการว่างงานและการเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงาน (Claimant Count Change) ที่เพิ่มขึ้น จะเป็นการท้าทายแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) อย่างไรก็ตาม ข้อมูลรายได้เฉลี่ยที่ปรับตัวดีขึ้น ยังช่วยพยุงไม่ให้คู่เงิน GBPUSD ปรับตัวลง ยิ่งไปกว่านั้น ความรู้สึกที่หลากหลายเกี่ยวกับชัยชนะของพรรครัฐบาลในการเลือกตั้งทั่วไป ยังส่งผลกระทบต่อค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงในช่วงหลังอีกด้วย

นอกเหนือไปจากปัจจัยที่กล่าวไปแล้ว ปัญหาใหม่ของจีนยังช่วยดึงดูดแรงเทซื้อดอลลาร์สหรัฐฯอีกด้วย โดยข่าวสารที่บ่งชี้ว่าคณะกรรมาธิการยุโรปเตรียมพร้อมที่จะเก็บภาษีรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของจีนเพิ่มขึ้น ประกอบกับบทความของ Bloomberg ที่รายงานคำสั่งศาลฮ่องกงที่ให้บริษัท Dexin บริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดกลางของจีนเข้าสู่กระบวนการชำระบัญชี ยิ่งซ้ำเติมความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในจีน นอกจากนี้ พาดหัวข่าวที่บ่งชี้ว่าธนาคารในจีนกำลังเทขายคู่เงิน USDCNY ก็ยิ่งสร้างคำถามเกี่ยวกับความสามารถของจีนในการปกป้องเศรษฐกิจและสกุลเงินของตนเองจากดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้น

ด้วยอิทธิพลของจีนในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงความสำคัญของจีนต่อเศรษฐกิจของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD จึงยังคงต้องเผชิญแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจของจีน นอกจากนั้น ข้อมูลชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวออสเตรเลียที่ถดถอยลงก็ยังส่งผลกระทบต่อคู่เงิน AUDUSD ซึ่งเป็นสกุลเงินที่ทำหน้าที่เป็นตัวชี้วัดความเสี่ยง (risk-barometer) อีกด้วย โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า บรรยากาศการลงทุนที่มีความระมัดระวังก่อนการรายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของออสเตรเลียในสัปดาห์นี้ และปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-จีน ก็เป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่ท้าทายคู่เงินออสเตรเลียเช่นกัน

ในทางกลับกัน คู่เงิน USDCAD ยังคงดึงดูดแรงเทซื้อได้ยาก แม้ล่าสุดราคาน้ำมันจะพุ่งสูงขึ้น โดยราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวขึ้นแรงที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2023 เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับลดลงและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน รวมถึงการลดกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC+ ในอีกทางหนึ่ง ราคาทองคำแกว่งตัวภายในกรอบการซื้อขายสองเดือน ขณะที่แรงเทซื้อทองคำของจีนชะลอตัวลง ท่ามกลางความกังวลภายในประเทศและราคาทองคำที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งรวมไปถึงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้น นอกจากนี้ ทิศทางที่ยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในปี 2024 และความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศเศรษฐกิจหลัก ก็ยังเป็นปัจจัยที่ท้าทายช่วงแนวโน้มขาขึ้นของราคาทองคำด้วยเช่นกัน

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY, US Dollar, Silver
  • สัญญาณขายแรง: AUDUSD, NZDUSD, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold, DJI30, USDCNH
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, EURUSD, Crude Oil

จับตามองรายงานของ OPEC และสถานการณ์การเมืองก่อนวันที่วุ่นวาย...

วันอังคารนี้ ตลาดที่เปิดทำการอย่างเต็มรูปแบบจะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถวิเคราะห์ข่าวสารทางภูมิรัฐศาสตร์ได้ดียิ่งขึ้น และยังส่งผลให้แรงขับเคลื่อนของตลาดนั้นเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าความกังวลก่อนการรายงานข้อมูลและเหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจในวันพุธจะจำกัดการเคลื่อนไหวของตลาดก็ตาม อีกทางหนึ่ง ปัจจัยนี้อาจช่วยให้ดอลลาร์สหรัฐฯรักษาระดับการปรับตัวขึ้นในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ ก่อนการประชุม FOMC และการรายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ซึ่งขณะเดียวกันก็สร้างแรงกดดันด้านลบต่อสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงอย่างเช่น สินค้าโภคภัณฑ์ สกุลเงินกลุ่ม Antipodeans และหุ้น อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์พลังงานรายเดือนของ OPEC จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญสำหรับเทรดเดอร์น้ำมัน ดังนั้น เทรดเดอร์ฝั่งขาขึ้นจึงควรติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อ OPEC คาดการณ์ว่าความต้องการพลังงานจะปรับตัวสูงขึ้นในช่วงหลัง

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !