ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-06-04

AUDUSD สิ้นสุดการพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องสามวัน ท่ามกลางตลาดที่ผันผวนและข้อมูลเศรษฐกิจออสเตรเลียที่น่าผิดหวัง

AUDUSD สิ้นสุดการพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องสามวัน ท่ามกลางตลาดที่ผันผวนและข้อมูลเศรษฐกิจออสเตรเลียที่น่าผิดหวัง

ความเชื่อมั่นของตลาดยังคงผันผวน เนื่องจากบรรยากาศการซื้อขายที่มีความระมัดระวังก่อนการรายงานข้อมูล/กิจกรรมสำคัญประจำสัปดาห์นี้ ขัดแย้งกับความคาดหวังที่เกิดจากการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดของสหรัฐฯ นอกจากนี้ พาดหัวข่าวทางภูมิรัฐศาสตร์เกี่ยวกับตะวันออกกลางและจีนในหลากหลายทิศทาง ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งท้าทายแนวโน้มของตลาด

ด้วยเหตุนี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) จึงค่อยๆฟื้นตัวที่ระดับต่ำสุดในรอบสองเดือน โดยยุติการปรับลดลงติดต่อกันสามวันหลังจากร่วงลงมากที่สุดในรอบสามสัปดาห์ สำหรับคู่เงิน EURUSD แกว่งตัวที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม ขณะที่เทรดเดอร์เตรียมพร้อมสำหรับการประกาศรายงานการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันพฤหัสบดี และการรายงานข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐฯในวันศุกร์ที่จะถึงนี้ นอกจากนี้ แม้จะมีการคาดการณ์สูงมากว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันช่วงแนวโน้มขาขึ้นของค่าเงินยูโร (Euro) แต่การที่ยังไม่มีข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ส่งผลดีต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD) ก็ยังคงช่วยหนุนให้ยูโรแข็งค่าขึ้น

คู่เงิน GBPUSD พยายามรักษาแนวโน้มขาขึ้นสามวันไว้ แต่ไม่สำเร็จ โดยล่าสุดปรับตัวลงจากระดับสูงสุดในรอบ 11 สัปดาห์ เนื่องจากความกังวลทางการเมืองในสหราชอาณาจักรประกอบกับการฟื้นตัวขึ้นของดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ว่าจะมีความคลุมเครือเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในปี 2024 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯมีการรายงานในหลากหลายทิศทาง

นอกจากนี้ คู่เงิน USDJPY ยังแกว่งตัวอยู่ใกล้ระดับต่ำสุดในรอบสองสัปดาห์ โดยมีสาเหตุหลักมาจาก ฐานการเงินของญี่ปุ่นที่อ่อนแอสร้างความกังวลว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) อาจจะมองโลกในแง่ดีเกินไปเกี่ยวกับสภาวะเงินเฟ้อ โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ซบเซายังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กดดันให้คู่เงินเยนปรับลดลง

ในอีกทางหนึ่ง คู่เงิน AUDUSD เผชิญแรงกดดันจากข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าผิดหวัง ทั้งผลกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทที่ตกต่ำ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำสัปดาห์และดุลบัญชีเดินสะพัด ขณะที่คู่เงิน NZDUSD ปรับตัวตามคู่เงิน AUDUSD เนื่องจากการเผชิญกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในนิวซีแลนด์ ส่งผลต่อท่าทีการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) โดยทางด้านคู่เงิน USDCAD ต้องเผชิญกับแรงกดดันสองด้านทั้งจากราคาน้ำมันดิบที่ตกต่ำ และความคาดหวังว่าจะได้เห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลางแคนาดา (BoC)

ทางฝั่งของราคาน้ำมันดิบแตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน แม้ดอลลาร์สหรัฐฯจะอ่อนค่าลง สืบเนื่องมาจากความกังวลของนักลงทุนในตลาดเกี่ยวกับความต้องการพลังงานที่อาจจะลดลง และการคาดการณ์ว่าข้อตกลงการลดกำลังการผลิตน้ำมันจะผ่อนคลายมากขึ้น รวมไปถึงความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ลดลง ในทางกลับกัน ราคาทองคำยังคงทรงตัวอยู่ในแนวรับหลังจากพุ่งสูงขึ้นมากที่สุดในรอบ 2 สัปดาห์จากความคาดหวังว่าอัตราดอกเบี้ยจะมีแนวโน้มปรับลดลง ร่วมกับความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ในจีนและความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์

ทั้งนี้ ตลาดสกุลเงินดิจิทัลยังคงผันผวน เป็นผลมาจากความคาดหวังเกี่ยวกับการอนุมัติ spot ETF ไม่สอดคล้องกับความกังวลเกี่ยวกับกรอบเวลาในการเปิดตัวกองทุน ETF ซึ่งรวมถึงจุดยืนที่เข้มงวดของสำนักงาน ก.ล.ต.สหรัฐฯ (SEC) ต่อสกุลเงินดิจิทัล ด้วยเหตุนี้ ETHUSD จึงร่วงลงต่อเนื่องสามวัน ขณะที่ BTCUSD พยายามรักษาแนวโน้มขาขึ้น 3 วันเช่นกัน

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันดิบ WTI ร่วงลงเป็นวันที่ห้าติดต่อกันที่ประมาณ $73.30 แตะระดับต่ำสุดในรอบห้าเดือน
  • ทองคำ (Gold) ชะลอตัวจากการพุ่งสูงขึ้นของวันก่อนหน้า ขณะที่ร่วงลงเล็กน้อยไปที่ราวๆ $2,345
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) ดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบสองเดือนโดยล่าสุดพุ่งสูงขึ้นรายวันครั้งแรกที่ประมาณ 104.10
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดผสมแต่ หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ร่วงลง ขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร ยังคงปรับลดลงในช่วงเปิดการซื้อขาย
  • BTCUSD พุ่งสูงขึ้นเล็กน้อยที่ประมาณ $68,900 แต่ ETHUSD ยังคงได้รับแรงกดดันติดต่อกันสามวันที่ประมาณ $3,760
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

ข้อมูลเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ตลาดยังคงผันผวนก่อนการรายงานปัจจัยสำคัญ…..

ดอลลาร์สหรัฐฯเริ่มต้นสัปดาห์ด้วยการอ่อนค่าลง สืบเนื่องมาจากตัวเลขค่าดัชนี PMI ภาคการผลิต ISM ของสหรัฐฯที่ปรับลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบสามเดือน ประกอบกับโมเดล GDPNow ของธนาคารกลางสหรัฐฯประจำแอตแลนตาคาดการณ์ว่าตัวเลข GDP ในไตรมาส 2 ปี 2024 จะขยายตัวต่ำกว่าที่คาด นอกจากนี้ ข้อมูลเศรษฐกิจยังสอดคล้องกับข้อมูลอัตราเงินเฟ้อที่น่าผิดหวังที่เผยแพร่ก่อนหน้านี้ ซึ่งทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความสามารถของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในการรักษาอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันในปี 2024 อย่างไรก็ตาม จีนยังไม่สามารถกระตุ้นความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้ แม้จะมีการลงทุนอย่างหนัก ประกอบกับการที่อิสราเอลต่อต้านข้อตกลงหยุดยิงในฉนวนกาซา เว้นแต่จะโค่นล้มกลุ่มฮามาสยังช่วยพยุงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯอีกด้วย

อีกทางด้านหนึ่ง บรรยากาศแนวโน้มก่อนการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังได้ท้าทายช่วงแนวโน้มขาขึ้นของคู่เงิน EURUSD แม้ว่าจะมีข่าวดีเกี่ยวกับการที่เศรษฐกิจของยูโรโซนสามารถ "ลงจอดอย่างนุ่มนวล" (soft landing) ได้ ขณะที่ ภาวะความไม่แน่นอนทางการเมืองของสหราชอาณาจักร (UK) ได้ส่งผลกระทบต่อคู่เงิน GBPUSD หลังจาก Nigel Farage ประกาศเข้าร่วมชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้สร้างแรงกดดันต่อพรรคอนอนุรักษ์นิยม อีกทั้ง ข่าวสารที่รายงานในหลากหลายทิศทางเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจของอังกฤษก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ท้าทายแรงเทซื้อค่าเงินปอนด์ด้วยเช่นกัน

ในอีกทางหนึ่ง ดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลงยังส่งผลให้คู่เงิน USDJPY ร่วงลง แต่ถึงกระนั้น ความคิดเห็นของผู้ว่าการ BoJ Kazuo Ueda ยังคงทดสอบแรงเทขายคู่เงินเยน โดยก่อนหน้านี้ ผู้ว่าการ BoJ Ueda ได้ออกมากล่าวว่า หากเงินเฟ้อเคลื่อนไหวตามที่คาดการณ์ไว้ ก็จะมีการปรับนโยบายการเงิน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดของญี่ปุ่นชี้ให้เห็นว่าภาวะเงินเฟ้อเริ่มจะชะลอตัว ซึ่งสถานการณ์นี้จะเป็นการสนับสนุนการคงนโยบายการเงินเดิมของธนาคารกลางญี่ปุ่น และยังเป็นการช่วยหนุนราคาคู่เงินเยนไว้อีกด้วย

ทั้งนี้ คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ได้รับผลกระทบจากบรรยากาศการซื้อขายในตลาดที่มีความระมัดระวังและความเชื่อมั่นที่ผันผวนจากสภาวะเศรษฐกิจในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ แม้ว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนตัวลงจะทดสอบแรงเทขายกลุ่มสกุลเงิน Antipodean ก็ตาม ในทางกลับกัน ราคาน้ำมันดิบที่ปรับลดลงและแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของ BoC ยังส่งผลกระทบต่อค่าเงินดอลลาร์แคนาดา (CAD) โดยที่ทองคำยังคงเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยที่ดึงดูดนักลงทุนในช่วงที่ตลาดผันผวน ถึงแม้ว่าตลาดโดยรวมที่ซบเซาจะท้าทายแรงเทซื้อ XAUUSD ในภายหลังก็ตาม

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY, US Dollar, Silver
  • สัญญาณขายแรง: AUDUSD, NZDUSD, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold, DJI30, USDCNH
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, EURUSD, Crude Oil

คำสั่งซื้อของโรงงานสหรัฐฯ และข่าวการเมืองจะดึงดูดนักเทรดรายวัน…

ในขณะที่ การเคลื่อนไหวในช่วงเริ่มต้นสัปดาห์ชะลอตัวในช่วงต้นวันอังคาร เทรดเดอร์ควรระมัดระวังการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯก่อนการรายงานคำสั่งซื้อโรงงานและข้อมูลที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ อีกสิ่งสำคัญที่ต้องจับตามองก็คือพาดหัวข่าวเกี่ยวกับความวิตกกังวลทางการเมืองในอินเดีย สหราชอาณาจักร และตะวันออกกลาง นอกจากนี้ ความวิตกกังวลก่อนการประกาศนโยบายการเงินประจำสัปดาห์นี้จากทางฝั่งยุโรป แคนาดา และอินเดีย จะส่งผลต่อทิศทางการเคลื่อนไหวของตลาด ดังนั้น หากไม่มีปัจจัยเซอร์ไพรส์อะไรเกิดขึ้น ก็มีความเป็นไปได้สูงที่ตลาดจะอยู่ในสภาวะทรงตัว

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !