ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

ตัดขาดทุนตามสภาวะตลาด (Stop Loss Market) และตัดขาดทุนเอง (Stop Limit) ต่างกันอย่างไร?

เราเชื่อว่าเป้าหมายในการเทรดของเทรดเดอร์หลายๆ ท่านคือการเทรดให้ขาดทุนน้อยที่สุดโดยการใช้เครื่องมือในการจัดการบริหารความเสี่ยงต่างๆ เพื่อป้องกันโอกาสในการสูญเสียเงินทุนของท่านและทำให้ท่านสามารถเข้าและออกจากตลาดได้โดยไร้ความเสี่ยง การตั้ง Stop loss ก็ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือยอดนิยมที่เหล่านักเทรดมักใช้ในการจัดการความเสี่ยงนั่นเอง

None

อย่างไรก็ตาม นักลงทุนอาจเลือกวิธีการตั้ง stop loss ได้หลายๆ แบบ ซึ่งอาจทำให้เทรดเดอร์มือใหม่ที่เพิ่งเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการเทรดสับสนไม่น้อยว่าการตั้งจุดตัดขาดทุน หรือ Stop limit เอง และการตั้งจุดหยุดขาดทุนตามสภาวะตลาด หรือ Stop loss market นั้นต่างกันอย่างไร เอาเป็นว่ารูปแบบการตัดขาดทุนทั้ง 2 นั้นมีเป้าหมายในการหยุดการขาดทุนแบบเดียวกัน เพียงแต่ว่ารูปแบบในการใช้งานนั้นแตกต่างกันเล็กน้อยก็เท่านั้นเองครับ โดยหากเทรดเดอร์ต้องการใช้เทคนิคเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันการเทรดขาดทุนได้จริงๆ ท่านจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการตั้ง stop loss ทั้ง 2 แบบ ซึ่งจะช่วยให้ท่านตัดสินใจได้ว่าวิธีตั้ง stop loss แบบใดที่เหมาะสมกับรูปแบบการเทรดของท่าน และทำไมท่านจึงควรตั้ง stop loss เช่นนั้น

การตั้ง Stop Loss ตามคำสั่งตลาด (Stop Loss Market Order)

หากท่านเคยมีประสบการณ์ในการตัดขาดทุนจากออเดอร์เทรดมาก่อน ท่านอาจเข้าใจ stop loss market ได้ไม่ยากเลยครับ โดยออเดอร์ stop loss ตามสภาวะของตลาดนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ออเดอร์ Buy (buying) และออเดอร์ Sell (selling)

  1. Stop Loss ออเดอร์ Buy – หลักการนี้ง่ายมากๆ ครับ เทรดเดอร์เพียงแค่ใช้เครื่องมือ stop loss ในการเปิดออเดอร์ short อย่างปลอดภัย โดยเมื่อราคาปัจจุบันทะลุระดับราคาของตลาดไปแล้ว เครื่องมือดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการโดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันการเทรดขาดทุนจากราคาที่วิ่งบวกขึ้น
  2. Stop Loss ออเดอร์ Sell – เครื่องมือนี้ช่วยให้เทรดเดอร์เปิดออเดอร์ long ได้ด้วยความเสี่ยงที่น้อยลง โดยเมื่อราคาร่วงลงต่ำกว่าระดับราคาของตลาด ณ ขณะนั้น ระบบจะทำการตัดขาดทุนโดยอัตโนมัติ เพื่อป้องกันการขาดทุนที่อาจมากไปกว่านั้น เนื่องจากเมื่อราคากลับตัวลงแล้วมันก็อาจร่วงลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อออเดอร์เทรดเริ่มมีการขาดทุน ท่านก็จะได้โอกาสในการขายสินทรัพย์นั้นๆ ก่อนที่ราคาจะร่วงไปมากกว่านั้น

เทคนิค stop loss ทั้ง 2 แบบนั้นมีประโยชน์ในการลดการขาดทุนเหมือนกัน โดยท่านอาจเลือกใช้ทั้ง 2 เทคนิคร่วมกันเพื่อป้องกันการเทรดขาดทุนก่อนที่ท่านจะเปิดออเดอร์เทรดไม่ว่าจะ short หรือ long ก็ตาม

การตั้ง Stop Loss เอง (Stop Limit Order) 

สาเหตุที่มือใหม่หัดเทรดมักสับสนว่าความแตกต่างระหว่าง stop limit และ stop loss market คืออะไรกันแน่ นั่นก็เพราะว่าจริงๆ แล้วทั้ง 2 เทคนิคนั้นแทบไม่ต่างกันเลยนั่นเองครับ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการตั้ง stop loss ทั้ง 2 แบบจะเหมือนกันเสียทีเดียว สำหรับการตั้ง stop loss limit จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ:

  • Stop Price – ระบบจะขายออเดอร์ออกโดยอัตโนมัติ
  • Limit Price – ระบบจะเปลี่ยนออเดอร์ sell เป็นออเดอร์ limit โดยใช้ราคา limit หรือราคาที่ดีกว่านั้นในการปิดออเดอร์ 

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

การตั้ง stop loss limit มีข้อเสียตรงที่ว่ารูปแบบดังกล่าวไม่ได้การันตีการดำเนินการแบบ 100% นั่นหมายความว่าในบางครั้งเมื่อราคาหุ้นพุ่งขึ้นหรือร่วงลงอย่างรวดเร็ว stop limit อาจไม่ได้ทำงานจริงตามที่ท่านคาดหวังไว้ ซึ่งในกรณีดังกล่าวท่านอาจต้องใช้เครื่องมือบริหารความเสี่ยงชนิดอื่นแทน

อีกหนึ่งคำถามที่เทรดเดอร์มือใหม่มักสงสัยก็คือเมื่อราคาหุ้นร่วงต่ำกว่าระดับ limit ควรทำอย่างไร? ควรยกเลิกออเดอร์ limit หรือรอให้ราคาแตะระดับต่ำสุด?? ในกรณีนี้ เทรดเดอร์มีแนวโน้มที่จะพลาดจังหวะในการป้องกันการเทรดขาดทุนและการปิดออเดอร์เพื่อป้องกันการขาดทุน และในขณะเดียวกันเทรดเดอร์บางรายอาจไม่ต้องการขายสินทรัพย์ที่ถืออยู่ ณ ราคา limit ที่ตั้งไว้ เนื่องจากพวกเขาอาจสังเกตได้ว่าราคาอาจเกิดการกลับตัวในไม่ช้า

ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้การตั้ง stop loss limit อาจเป็นเทคนิคที่มีความเสี่ยงสำหรับนักเทรดที่ต้องการจะขาย short ในขณะที่เฝ้าระวังให้ราคาพุ่งขึ้นไปด้วยความเสี่ยง

Stop Loss Market เทียบกับ Stop Limit

ลองมาดูตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง stop limit และ stop loss market แบบชัดๆ กันดีกว่าครับ

Stop Loss Market

Stop Limit

ดำเนินการเมื่อราคาแตะระดับ low หรือร่วงลงต่อเนื่อง

ป้องกันการขาดทุนที่มากขึ้นในระหว่างการเทรด

ดำเนินการเมื่อราคาแตะระดับ limit แต่ยังคงออเดอร์ไว้ที่ระดับดีกว่า limit

ไม่สามารถการันตีการป้องกันการเทรดขาดทุนได้ 100%

อาจมีการเทรดขาดทุนได้มากกว่าที่คาดไว้

ใช้ได้ผลดีหากเทรดเดอร์รู้ว่าราคาจะเด้งกลับและเริ่มวิ่งขึ้นในไม่ช้า

สรุปสั้นๆ เกี่ยวกับความแตกต่าง Stop Loss Market และ Stop Limit

ความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่าง stop limit และ stop loss market ก็คือวิธีป้องกันการเทรดขาดทุนที่ต่างกันในระหว่างการเปิดและปิดออเดอร์ โดยข้อดีก็คือทั้ง 2 เทคนิคนั้นเหมาะสำหรับใช้เทรดระยะสั้นและระยะยาวเลยทีเดียวครับ แต่ทั้งนี้รูปแบบการตัดขาดทุนแบบ stop loss limit มีข้อเสียตรงที่ว่ามันไม่ได้ยืนยันการป้องกันการขาดทุนแบบ 100% เว้นเสียแต่ว่าเทรดเดอร์มั่นใจว่าราคาจะมีการเด้งกลับในไม่ช้านั่นเอง

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน