ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

จะตั้ง Stop Loss ตรงไหนและเมื่อไหร่ดี?

Stop-loss order หรือคำสั่งหยุดการขาดทุนเป็นองค์ประกอบสำคัญในกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง ซึ่งหากนำไปใช้อย่างถูกต้องก็อาจส่งผลให้การเทรดของท่านมีความเสี่ยงที่น้อยลงได้ คำสั่งดังกล่าวถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันนักลงทุนจากการสูญเสียเงินทุนในกรณีที่ออเดอร์มีการเคลื่อนไหวที่ไม่คาดคิดหรือคาดเดาไม่ได้ ประโยชน์หลักของการใช้คำสั่งหยุดการขาดทุนคือ ท่านไม่จำเป็นต้องคอยตรวจสอบออเดอร์และนั่งเฝ้าหน้าจออยู่ตลอด 24 ชั่วโมง

None

เมื่อตั้งออเดอร์ Stop-loss ไว้แล้ว คำสั่งจะดำเนินการโดยอัตโนมัติเมื่อตลาดเข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ล่วงหน้า โดยในวันนี้ ท่านจะได้เรียนรู้วิธีวางออเดอร์ Stop-loss รวมถึงออเดอร์ตัดขาดทุนประเภทอื่นๆ

ออเดอร์ Stop Loss คืออะไร?

ออเดอร์หยุดการขาดทุน (Stop-loss order) เป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้นักเทรดสามารถจำกัดความเสี่ยงในการซื้อขายได้ โดยท่านต้องมีแผนสำรองเสมอไม่ว่าจะใช้กลยุทธ์ก็ตาม กลยุทธ์การตัดขาดทุนจะช่วยให้ท่านรักษาเงินทุนไว้ได้แม้ว่าตลาดจะเคลื่อนไหวสวนทางกับออเดอร์ของท่าน ดังนั้น ด้วยเครื่องมือนี้ นักเทรดจะได้รับ Trigger offset ที่จะดำเนินการปิดออเดอร์ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไข Stop-loss โดยอัตโนมัติ เมื่อมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นหรือเมื่อหลักทรัพย์ถึงระดับราคาที่กำหนดไว้

ตัวอย่าง: สมมติว่าท่านต้องการซื้อหุ้นที่ราคา $30 ในการป้องกันการขาดทุน ท่านจะต้องตั้ง Stop loss ที่ระดับ $29.50 หมายความว่าท่านจะออกจากการซื้อขายโดยอัตโนมัติเมื่อราคาแตะถึง $29.50 ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ท่านขาดทุนเพิ่มเติม หากราคายังคงยืนต่ำกว่า $29.50 การหยุดการขาดทุนจะไม่ถูกดำเนินการ

Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

เอาล่ะ มาดูประเด็นสำคัญที่ท่านต้องพิจารณาเมื่อใช้ออเดอร์ Stop-loss แต่ละประเภทต่างๆ:

  1. ช่วยให้ท่านลดความเสี่ยงในการซื้อขายได้
  2. เมื่อความหลักทรัพย์ถึงระดับราคาที่กำหนดแล้ว คำสั่ง Stop-loss จะถูกดำเนินการอัตโนมัติ คำสั่ง Stop-loss มีหลายประเภท ซึ่งรวมถึง Market, Limit, Trailing stop-loss และอีกมากมาย
  3. การเลือกระดับออเดอร์ Stop-loss จะเป็นวิธีการแก้ปัญหาเชิงกลยุทธ์ตามเทคนิคของท่าน ทางที่ดีควรใช้วิธีการลดความเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วย

เอาล่ะ คราวนี้ลองมาดูคำสั่งหยุดการขาดทุนประเภทหลักๆ กัน

ประเภทออเดอร์ Stop Loss

เราสามารถตั้งคำสั่ง Stop loss ได้หลายวิธี แต่วิธีหลักๆ ที่เทรดเดอร์นิยมใช้กัน ได้แก่:

  • คำสั่งตลาด (Market Order) – เป็นคำสั่งหยุดการขาดทุนประเภทหลักที่จะถูกใช้เมื่อราคาหลักทรัพย์ถึงระดับที่กำหนดไว้ล่วงหน้า แม้ว่าราคาจะเป็นราคาก่อนหน้าหรือราคาปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกัน ก็อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เพราะบางครั้งราคาในตลาดไม่ตรงกับราคาที่ท่านกำหนดไว้ นักเทรดมืออาชีพเรียกสถานการณ์นี้ว่า Slippage แต่ในแง่ดีคือน้อยครั้งที่สถานการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นสำหรับซื้อขายสกุลเงิน สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หุ้น และตราสารยอดนิยมอื่นๆ
  • คำสั่งลิมิต (Limit Order) – ต่างจากประเภทก่อนหน้าที่ปิดการซื้อขายที่ราคาเมื่อราคาเกินระดับที่กำหนดไว้ โดยคำสั่งลิมิตจะดำเนินการปิดคำสั่งซื้อขายเฉพาะในกรณีที่ราคามีการขาดทุนหรือระดับที่ดีกว่า วิธีนี้จะช่วยป้องกันการเกิด Slippage ได้ แต่ในขณะเดียวกัน เทรดเดอร์อาจเสียโอกาสออกปิดคำสั่งซื้อขายในกรณีที่ราคาเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากตลาดเริ่มเคลื่อนไหวสวนทางกับคำสั่งของท่าน

วิธีตั้งออเดอร์ Stop Loss ทำอย่างไร?

เมื่อพิจารณาถึงปัญหาบางที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ Stop Loss ทั้ง 2 ประเภท หลายท่านอาจสงสัยว่าจะตั้ง Stop-loss ตรงไหนและตั้งอย่างไรดี คำตอบขึ้นอยู่กับว่าท่านต้องการจะเทรดในระยะสั้นหรือระยะยาว

วิธีตั้ง Stop Loss สำหรับคำสั่งซื้อ

เทรดเดอร์มือใหม่มักตั้ง Stop loss แบบมั่วๆ โดยไม่มีหลักการใดๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องระวัง เพราะในบางครั้งแม้เราจะตั้ง Stop loss ในตำแหน่งที่เหมาะสมแล้วก็ตาม แต่ก็สามารถเกิดข้อผิดพลาดได้เมื่อราคาเคลื่อนไหวสวนทางกับคำสั่งของท่าน แม้จะเผื่อระดับไว้สำหรับความผันผวนแล้วก็ตาม

การใช้ระดับ "Swing low" เป็นวิธีที่ปลอดภัยและง่ายที่สุดในการวางคำสั่ง Stop loss สำหรับคำสั่งซื้อ เมื่อราคาร่วงแต่มีการเด้งกลับอย่างรวดเร็ว

วิธีตั้ง Stop Loss สำหรับคำสั่งขาย

เช่นเดียวกัน หากท่านกำลังถือคำสั่งขาย Short ท่านก็ไม่ควรออเดอร์ Stop loss แบบสุ่มๆ และแน่นอนว่าท่านอาจต้องเผื่อระดับตำแหน่งให้เพียงพอสำหรับความผันผวนด้วยเช่นกัน ซึ่งจะช่วยป้องกันการขาดทุนได้หากราคาไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์

ในกรณีนี้ ขอแนะนำให้ท่านตั้ง Stop loss ที่ระดับ “Swing high” เมื่อราคามีการปรับขึ้นเล็กน้อยก่อนจะร่วงต่อ

สรุปเกี่ยวกับการตั้ง Stop Loss

คำสั่ง Stop loss จะช่วยลดความเสี่ยงในการเทรดได้ ถึงแม้อาจไม่สามารถรับประกันความปลอดภัยได้ 100% แต่เราขอแนะนำให้ท่านใช้ Stop loss ในบริหารความเสี่ยงเหล่านี้ ที่สำคัญไม่ควรตั้งออเดอร์ Stop loss แบบสุ่มๆ และควรใช้ออเดอร์ Stop loss หลายๆ ประเภท เพื่อให้กลยุทธ์ของท่านมีประสิทธิภาพและปราศจากความเสี่ยง นอกจากนี้อย่าลืมฝึกฝนและทดสอบทักษะการเทรดและการตั้ง Stop loss อยู่เสมอค่ะ

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน