Money Flow Index Indicator หรือ อินดิเคเตอร์ MFI เป็นเครื่องมือในกลุ่ม Oscillator หรือ อินดิเคเตอร์วัดโมเมนตัม (Momentum) ที่เทรดเดอร์มืออาชีพนิยมใช้กัน เพื่อวัดปริมาณเงินที่เข้าและออกของหุ้นหรือสินทรัพย์แต่ละชนิด ซึ่งจะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถรับรู้ถึงความเคลื่อนไหวของราคาในช่วงเวลาต่างๆ โดยอาศัยทั้งราคา (Price) และปริมาณการซื้อขาย (Volume) เพื่อให้เทรดเดอร์สามารถพิจารณาการไหลของกระแสเงิน และแรงซื้อขายในสินทรัพย์หรือตลาดที่พวกเขากำลังเทรดอยู่
เมื่อเทรดเดอร์มีประสบการณ์อยู่ในวงการเทรดนานยิ่งขึ้น ท่านก็จะเข้าใจว่า จริงๆ แล้วแค่ volume เพียงอย่างเดียวไม่ได้เป็นตัวชี้วัดสำคัญในการแกว่งตัวของโมเมนตัม แต่ท่านจะต้องพิจารณาพฤติกรรมของตลาดต่อความเคลื่อนไหว, การเปลี่ยนแปลง และระดับของราคา รวมไปถึงแนวรับแนวต้านต่างๆ นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เทรดเดอร์มืออาชีพนิยมใช้อินดิเคเตอร์ MFI เพื่อยืนยันว่าโมเมนตัมนั้นๆ จะวิ่งขึ้นหรือลง หรือจะพูดให้เข้าใจโดยง่ายก็คือ เครื่องมือ MFI นั้นจะช่วยบ่งบอกความเชื่อมั่นหรืออารมณ์ของตลาดนั่นเองครับ
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ใช้งานอินดิเคเตอร์ชนิดนี้จะต้องมีทักษะในการคำนวณบ้างเล็กน้อย เนื่องจากท่านจะต้องคำนวณตัวเลขต่างๆ ด้วยตนเอง แต่อย่าเพิ่งกังวลไปล่ะครับ! เราขอบอกเลยว่า วิธีคำนวณ MFI นั้นง่ายมากๆ
เทรดเดอร์จะต้องไม่ลืมว่า อินดิเคเตอร์ money flow index นั้นเป็นเครื่องมือประเภท oscillator โดยจะมีค่าการคำนวณ หรือ การแกว่งตัวอยู่ระหว่าง 0-100 ซึ่งเมื่อเทรดเดอร์คำนวณค่าต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ท่านก็จะเห็นเส้นกราฟที่ปรากฎอยู่ในระดับที่แตกต่างกันไป ซึ่งเป็นสัญญาณช่วยระบุว่าตลาดนั้นอยู่ในสภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือขายมากเกินไป (Oversold)
การอ่านอินดิเคเตอร์ MFI นั้นไม่ยุ่งยากเลยครับ ไม่ต้องมีความรู้หรือทักษะด้านการเทรดมากมายก็สามารถอ่านเข้าใจได้โดยง่าย เพียงแค่สังเกตสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้:
เอาล่ะครับ เมื่อทุกท่านได้เรียนรู้หลักการพิจารณาอินดิเคเตอร์ money flow index แล้ว ได้เวลามาทำความเข้าใจวิธีการใช้งานอินดิเคเตอร์ชนิดนี้ เพื่อวัดปริมาณเงินที่เข้าและออก
โดยหลักการพื้นฐาน อินดิเคเตอร์ MFI นั้นถูกออกแบบมาเพื่อบ่งบอกการกลับตัวของราคาเมื่อตลาดอยู่ในสภาวะต่างๆ ตามที่เราได้กล่าวมาข้างต้น และเมื่อมีสัญญาณแจ้งเตือน เทรดเดอร์ก็เตรียมพร้อมที่จะเปิดออเดอร์ หรือ Position เพื่อทำกำไรจากการแกว่งตัวเหล่านั้น แต่ช้าก่อน… เนื่องจากในความเป็นจริงแล้วกระบวนการต่างๆ อาจมีความซับซ้อนมากยิ่งกว่านั้น
นั่นก็เพราะว่า ราคาและอินดิเคเตอร์ MFI นั้นอาจส่งสัญญาณที่ขัดแย้งกันในบางครั้ง หรือที่เทรดเดอร์เรียกกันว่า "Divergence" นั่นเองครับ ตัวอย่างเช่น เมื่อราคาทำ New high ในขณะที่อินดิเคเตอร์ร่วงลงไปยังระดับที่ทำให้เกิด divergence ขาลง (Bearish divergence) เทรดเดอร์ก็อาจเข้าใจผิดได้ว่า แรงกดดันในการขายกำลังจะเกิดขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้วราคากลับร่วงลงมาแทน โดยที่อินดิเคเตอร์ MFI นั้นไม่สามารถติดตามและจับความเคลื่อนไหวเช่นนั้นได้ในทันที เป็นเหตุให้เราพบเห็น divergence ขาขึ้น (Bullish divergence) ในภายหลังนั่นเองครับ
ยิ่งไปกว่านั้น สัญญาณ divergence ก็ไม่ได้หมายถึงการกลับตัวของราคาเสมอไป ตามที่เราได้กล่าวไปแล้วว่า อินดิเคเตอร์อาจส่งสัญญาณหลอก (False signal) ได้เช่นกัน บางครั้งเทรดเดอร์อาจเห็นโอกาสในการทำกำไรจากสัญญาณของอินดิเคเตอร์ต่างๆ แต่ราคากลับเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ท่านไม่คาดคิดหรือวิ่งไปในทิศทางที่ท่านไม่ต้องการ ดังนั้น ไม่ว่าเทรดเดอร์จะใช้เครื่องมือเชิงเทคนิคที่มีความแม่นยำมากแค่ไหนก็ตาม ท่านต้องไม่ลืมที่จะใช้กลยุทธ์บริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพอยู่เสมอทุกๆ ครั้งที่เทรด
การคำนวณอินดิเคเตอร์ money flow มีขั้นตอนเบื้องต้น ดังนี้:
อินดิเคเตอร์ MFI ไม่ได้รวมอยู่ในเครื่องมือเบื้องต้นที่มาพร้อมกับแพลตฟอร์ม MT4 ดังนั้น ท่านจะต้องดาวน์โหลดอินดิเคเตอร์ดังกล่าว โดยท่านสามารถดาวน์โหลดได้แบบง่ายๆ และติดตั้งได้ไม่ยาก เพราะขั้นตอนการติดตั้งนั้นก็เหมือนกับเครื่องมือ oscialltor อื่นๆ ที่เราได้แนะนำมาก่อนหน้านี้
ดาวน์โหลดอินดิเคเตอร์ MFI เพื่อติดตั้งบน MT4
ขั้นตอนต่อมา คือ การเพิ่มอินดิเคเตอร์ลงไปบนแพลตฟอร์ม MT4 โดยการติดตั้งในไม่กี่ขั้นตอน ดังนี้:
เพียงเท่านี้ท่านก็สามารถใช้งานอินดิเคเตอร์ MFI บน MT4 ได้แล้วล่ะครับ โดยอินดิเคเตอร์ดังกล่าวก็จะปรากฎขึ้นในหน้าต่างด้านล่างกราฟราคาของท่าน
ขอให้เทรดเดอร์ทุกท่านโชคดีกับการเทรด แล้วอย่าลืมหมั่นเพิ่มความรู้ในการเทรดเพิ่มเติม ด้วย คลาสสอนเทรดออนไลน์ และ บทเรียนการเทรด จาก MTrading ทุกครั้งที่ท่านมีข้อสงสัยใดๆ สามารถขอคำปรึกษาเพิ่มเติมได้จากทีมงานของเราผ่านทาง Live Chat บนหน้าเว็บไซต์ MTrading.com
บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน