ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ

ข้อแตกต่างระหว่าง IB (Introducing Broker) และ White Label

การเข้าถึงลูกค้าให้ได้มากที่สุดคือความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดสำหรับโบรกเกอร์ผู้ให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ นอกเหนือจากวิธีการและช่องทางการตลาดแบบดั้งเดิม (SEO, โซเชียลมีเดีย, โฆษณา ฯลฯ) โบรกเกอร์ยังใช้ตัวแทนในการทำธุรกิจอีก 2 ประเภท: คือ ผู้แนะนำโบรกเกอร์ (IB) และ White Labels

None

ตัวแทนทั้ง 2 ประเภทจะช่วยให้โบรกเกอร์ได้ขยายฐานลูกค้า โดย IB จะเป็นพาร์ทเนอร์ของโบรกเกอร์ Forex ขณะที่ WL จะได้รับค่าคอมมิชชั่นและผลตอบแทน แม้ทั้งสองจะมีหน้าที่คล้ายๆ กัน แต่ก็มีลักษณะงานบางอย่างที่แตกต่างกัน ในบทความวันนี้ เราจะมาอธิบายความแตกต่างระหว่างการทำงานผ่านโปรแกรมพาร์ทเนอร์ Forex แบบทั่วไปกับการทำงานแบบ White Label

Introducing Broker (หรือ IB) ทำหน้าที่อะไรบ้าง?

การเป็น IB ผู้แนะนำโบรกเกอร์นั้นง่ายมากๆ ใครๆ ก็สามารถเป็น Forex IB ได้ โดยมีหลักการง่ายๆ คือความร่วมมืออย่างโปร่งใสระหว่างโบรกเกอร์และบุคคลที่สามที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำลูกค้าใหม่และรับผลตอบแทนสำหรับการกระทำของลูกค้าเหล่านั้น (เงินฝาก ล็อตซื้อขาย และอื่นๆ)

พูดง่ายๆ IB ก็คือผู้ที่แนะนำและนำพาลูกค้าใหม่ให้มารู้จักกับโบรกเกอร์นั่นเอง

โดยทั่วไป IB จะได้รับค่าคอมมิชชั่นจากรูปแบบผลตอบแทนหลายๆ รูปแบบ อาทิ:

  1. ผลตอบแทนคงที่สำหรับลูกค้าใหม่ทุกรายที่มาเทรดกับโบรกเกอร์ โดยปัจจัยเพิ่มเติมที่มีผบต่อรายได้อาจรวมถึงประเภทบัญชี จำนวนเงินฝาก เป็นต้น
  2. เปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่งรายได้ (จากสเปรด) ตามปริมาณธุรกรรมที่ระหว่างลูกค้าและโบรกเกอร์
Forex Cryptos
มีการกำกับดูแล ไม่มีการกำกับดูแล
สภาพคล่องสูง สภาพคล่องน้อยกว่า
มีความมั่นคงมากกว่า ความผันผวนสูงกว่า
ราคา Swing น้อยกว่า มีความไม่มั่นคง มีโอกาสโดนหลอกได้ง่าย
เหมาะสำหรับนักเทรดที่ไม่ชอบความเสี่ยง ต้องอาศัยการเรียนรู้, มีสินทรัพย์ให้เลือกเยอะกว่า
เหมาะสำหรับการ Day trade เหมาะสำหรับการ Day trade
Industry-best trading conditions
Deposit bonus
up to 200% Deposit bonus 
up to 200%
Spreads
from 0 pips Spreads 
from 0 pips
Awarded Copy
Trading platform Awarded Copy
Trading platform
Join instantly

โดยส่วนใหญ่ Introducing Broker หรือ IB ถือเป็นหุ้นส่วนของโปรแกรมพาร์ทเนอร์ Forex ที่จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของโบรกเกอร์ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบัญชี และเข้าถึงเครื่องมือส่งเสริมการขาย โฆษณา และการสนับสนุนหลายๆ ด้าน

หน้าที่หลักของ IB ที่มีต่อลูกค้า มีดังนี้

  • ผู้แนะนำส่วนตัว – IB คือ ผู้ที่มีประสบการณ์ในตลาดการเงินมาก่อน โดยจะเป็นผู้ช่วยโบรกเกอร์ในการแนะนำนักเทรดมือใหม่ตลอดเส้นทางการเทรด ตั้งแต่การเรียนรู้เกี่ยวกับแพลตฟอร์มไปจนถึงการออกออเดอร์ครั้งแรก
  • การเทรดอย่างปลอดภัย – ในการเป็น IB ท่านจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของโบรกเกอร์ โดยเมื่อบรรลุผลแล้ว นักเทรดสามารถใช้ IB เพื่อรับประโยชน์จากการเทรดที่ปลอดภัย รวมทั้งหลีกเลี่ยงโบรกเกอร์หรือนักเทรดต้มตุ๋นที่ไม่ได้ผ่านการกำกับดูแลของโบรกเกอร์
  • ความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ – โดยส่วนมาก นักเทรดมือใหม่จะยังไม่มีพื้นฐานและทักษะเพียงพอที่จะเริ่มเทรดได้ทันที ไม่มีกลยุทธ์ Forex ที่มั่นคงและต้องการคนที่จะมาช่วยฝึกฝนและสอนเกี่ยวกับการเทรด ซึ่งเป็นหน้าที่ของ IB ในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับตราสารและเงื่อนไขการเทรดต่างๆ รวมถึงช่วยเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมที่สุดและให้ความช่วยเหลือตลอดเส้นทางการลงทุนของลูกค้า
  • การสนับสนุนลูกค้า – โบรกเกอร์จะทำหน้าที่เป็นฝ่ายสนับสนุนลูกค้า โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกค้าดำเนินกิจกรรมการเทรดได้อย่างราบรื่น ขณะที่ IB อาจเป็นผู้ร้องเรียน ช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ตอบคำถาม และอื่นๆ หากเทรดเดอร์มีปัญหาทางเทคนิค (การดำเนินการช้าที่ช้า, ข้อผิดพลาดของระบบ, การทำธุรกรรมที่ล้มเหลว และอื่นๆ) โดย IB จะเป็นผู้เสนอเรื่องให้มีการดำเนินการแก้ไขอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

สรุปง่ายๆ IB จะเปรียบเสมือนตัวกลางระหว่างโบรกเกอร์กับลูกค้า โดยจะช่วยมือใหม่ในการเริ่มต้นและแนะนำพวกเขาต่อไปในการออกออเดอร์และการทำกำไรครั้งแรก ซึ่งจะทำให้ IB ได้รับค่าคอมมิชชั่นจากการดำเนินการต่างๆ

แล้ว White Label (WL) มีหน้าที่อย่างไร?

ถึงแม้ WL จะทำงานในลักษณะเดียวกับ IB แต่ก็มีจุดมุ่งหมายที่ต่างกัน ที่สำคัญ White Label ยังเป็นระบบที่มีความซับซ้อนมากกว่า เนื่องจาก WL จะให้บริการในฐานะโบรกเกอร์ด้วยตนเองผ่านรูปแบบแบรนด์แบบสแตนด์อโลน

พูดง่ายๆ White Label เป็นการสร้างและโปรโมทตนเองในฐานะโบรกเกอร์อีกหนึ่งแบรนด์ (เป็นโบรกย่อย) ไม่ใช่การดึงดูดผู้ติดตามหรือลูกค้าไปยังโบรกเกอร์หลัก โดยเป้าหมายของ WL ไม่ใช่เพื่อแนะนำลูกค้าแต่เพื่อดึงดูดนักเทรดให้มาร่วมเทรดกับโบรกเกอร์ของตัวเอง แต่ WL อาจมีการจดทะเบียนและกำกับดูแลโดยโบรกเกอร์หลักเพื่อใช้สื่อต่างๆ เพื่อให้นักเทรดที่เทรดผ่าน White Label สามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มการซื้อขายได้

โดยทั่วไป White Label จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่:

  1. Limited WL – เป็นโบรกเกอร์รีแบรนด์ที่ให้บริการโดยโบรกเกอร์หลัก โดยอาจมีข้อจำกัดบางประการ ตัวอย่างเช่น WL ที่จำกัดไม่สามารถรับเงินฝากได้ ซึ่งอาจลดความสะดวกของลูกค้า และมีตัวเลือกน้อยลงเพื่อให้โบรกเกอร์สามารถดำเนินงานได้ไวขึ้น
  2. Full WL – จะเป็นการสร้างแบรนด์ใหม่ทั้งหมด โดยสามารถทำธุรกรรมต่างๆ รับเงินฝากและให้ลูกค้าถอนเงินออกจากโบรกเกอร์ได้โดยตรง นอกจากนี้ Full WL ยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการบัญชีของลูกค้า ข้อกำหนดในการเทรด และเงื่อนไขอื่นๆ อีกมากมาย

สรุปข้อแตกต่างระหว่าง IB กับ White Label

แม้ IB และ WL ดูเหมือนจะมีหน้าที่ ความรับผิดชอบที่คล้ายคลึงกัน แต่การเป็น IB นั้นง่ายกว่าและไม่ยุ่งยากเท่ากับการเป็น WL เพียงแค่รับค่าคอมมิชชั่นและนำพาลูกค้าให้มาเทรดกับโบรกเกอร์ โดยที่ IB ไม่จำเป็นต้องจัดการกับปัญหาทางเทคนิคหรือการจัดการบัญชี เพียงช่วยให้ลูกค้าใหม่ได้เริ่มเทรดเป็น ช่วยเสนอแนะกลยุทธ์การเทรด และรับค่าคอมมิชชั่นสำหรับการดำเนินการต่างๆ ของลูกค้า

ส่วน White Label จะมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่มากกว่า ละเอียดกว่า โดยหน้าที่หลักคือการสร้างแบรนด์และบริการการเทรดในฐานะโบรกเกอร์แบบสแตนด์อโลน ซึ่งอาจเป็นการดำเนินที่การเนื่องจากต้องอาศัยจำนวนพนักงาน การสร้างทีม และการทำให้ลูกค้ายอมรับและเชื่อถือได้ อย่างไรก็ดี ท่านสามารถเป็นพาร์ทเนอร์ได้ง่ายๆ ด้วยเงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุดจากการเข้าร่วมโปรแกรมพาร์ทเนอร์ของโบรกเกอร์ Forex ชั้นนำอย่าง MTrading

บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน