การวิเคราะห์ทางเทคนิค หมายถึง กระบวนการในการวิเคราะห์รูปแบบหรือแพทเทิร์นราคาของสินทรัพย์ (หรือคู่เงิน) หนึ่งๆ โดยการวิเคราะห์ทางเทคนิคใช้ในขั้นแรกเพื่อระบุแนวโน้ม (Trend) หลังจากนั้นจึงค่อยใช้เพื่อระบุแนวรับและแนวต้านในกราฟราคา หรือในกรอบเวลา (Timeframe) ต่างๆ
นี่เป็นภาพหน้าจอที่แสดงการวิเคราะห์ทางเทคนิคของคู่เงิน NZD/USD ใน timeframe 4 ชั่วโมง (H4) ท่านสามารถติดตาม บทวิเคราะห์ทางเทคนิค จาก MTrading ได้ด้วยนะ!
การวิเคราะห์ทางเทคนิคนั้นมีหลายประเภท แต่ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่นักเทรด ได้แก่ 3 ประเภท ดังต่อไปนี้:
รูปแบบกราฟ (Chart pattern) - เทรดเดอร์นักวิเคราะห์จะนิยมใช้เครื่องมือช่วยวาด เช่น ระดับฟีโบนัชชี (Fibonacci level), เส้นแนวนอน (Horizontal line) และเส้นแนวโน้ม (Trend line) เพื่อระบุรูปแบบโดยทั่วไปของกราฟราคาต่างๆ (เช่น รูปแบบแสดงความต่อเนื่อง หรือ Consolidation pattern, รูปแบบการฟอร์มตัวสามเหลี่ยมสมมาตร หรือ Symmetrical triangle formation และรูปแบบอื่นๆ) ซึ่งรูปแบบเหล่านี้จะช่วยให้เทรดเดอร์เข้าใจความ 'แข็งแกร่ง' หรือความ 'อ่อนแอ' ของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดได้
รูปแบบของแท่งเทียน (Candle pattern) - รูปแบบนี้จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถดูราคาเปิด (Open), ราคาปิด (Close), ราคาสูงสุด (High) และราคาต่ำสุด (Low) ของแต่ละช่วงเวลาได้ตามกรอบเวลาที่ต่างกัน ซึ่งมีประโยชน์มากๆ สำหรับการวิเคราะห์พฤติกรรมนักลงทุนภายในระยะเวลาสั้นๆ
อินดิเคเตอร์ (Indicator) - นักวิเคราะห์ forex จะใช้อินดิเคเตอร์ในการวัดพฤติกรรมราคา เพื่อดูตำแหน่งความเคลื่อนไหวของตลาด อินดิเคเตอร์ที่ว่านั้นรวมไปถึง 'สัญญาณ (Signal)' ซึ่งจะแจ้งเตือนให้เทรดเดอร์ได้รับรู้เมื่อตลาดเกิดสภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือขายมากเกินไป (Oversold) และยังสามารถใช้ระบุการเปลี่ยนแปลงโมเมนตัมที่เกิดขึ้นในตลาดได้อีกด้วย (ในกรณีที่ราคาพุ่งหรือร่วง หรือจังหวะที่ตลาดมีความผันผวน เป็นต้น)
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ อินดิเคเตอร์ Forex ได้ที่นี่
อย่างไรก็ตาม ตลาดจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆ กัน 3 แบบ ต่อไปนี้: ขึ้น, ลง และ Sideway นั่นเอง และโดยทั่วไป ราคาจะเคลื่อนที่แบบคดเคี้ยวไปมา ดังนั้น พฤติกรรมราคาจึงแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ได้แก่
มีวิธีมากมายที่เทรดเดอร์ใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคในการเทรด แต่วิธีการเหล่านั้นล้วนใช้ข้อมูลในอดีตเพื่อประกอบการวิเคราะห์ (เช่น รูปแบบกราฟในอดีต) เพื่อระบุโอกาสที่กราฟจะเคลื่อนไหวมาบรรจบเช่นเดิมอีกครั้ง
ด้วยเหตุนี้เอง นักเทรดจึงรวบรวมข้อมูลต่างๆ เหล่านั้น เพื่อวิเคราะห์ศึกษาสภาวะของตลาดในปัจจุบัน รวมไปถึงการหาจุด 'เข้า' และ 'ออก' ที่เหมาะสมในการเทรดอีกด้วย
ในขณะที่การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานนั้นมุ่งเน้นพิจารณาการเปลี่ยนแปลงจากข่าว หรือข้อมูลสำคัญทางเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อดูว่ามันส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินอย่างไร แต่การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคจะเน้นติดตามความเคลื่อนไหวของราคาที่เกิดขึ้นในตลาด
ข้อมูลดังกล่าวใช้เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคที่ได้รับการพัฒนามาจากทฤษฎีดาว (Dow theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีที่กล่าวว่า 'ราคาเป็นอินดิเคเตอร์ที่แม่นยำ และสะท้อนถึงข้อมูลสำคัญทั้งหมด) ดังนั้น อะไรก็ตามที่มีผลกระทบต่ออุปสงค์ (Supply) และ อุปทาน (Demand) ก็จะปรากฎบนกราฟราคาเหล่านั้น
ในขณะเดียวกัน การศึกษาข้อมูลมากล้นจนเกินไปก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องดี โดยเฉพาะข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์ต่อความเคลื่อนไหวของราคา หรือข้อมูลที่วัดค่าไม่ได้ เพราะนั่นถือว่าเป็นข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ และไม่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์นั่นเองครับ
เทรดเดอร์นักวิเคราะห์กราฟเทคนิคจะให้ความสำคัญกับ 'แนวโนม (Trend)' ที่เกิดขึ้นในตลาด โดยตลาดสามารถปรับตัวไปได้ทั้งในทิศทาง 'ขาขึ้น (Uptrend)' หรือที่เรียกว่า 'ตลาดกระทิง (Bullish market)' ซึ่งเป็นช่วงจังหวะที่ราคาปรับตัวขึ้นสูงกว่า High เดิม และราคาปรับตัวลงต่ำกว่า Low เดิม (ทำให้เกิดช่องว่างขนาดใหญ่บริเวณตำแหน่งทั้ง 2) ในขณะเดียวกัน ทิศทาง 'ขาลง (Downtrend)' หรือที่รู้จักกันในชื่อ 'ตลาดหมี (Bearish market)' ซึ่งเป็นจังหวะที่ช่องว่างระหว่างตำแหน่ง high และ low มีขนาดแคบกว่า และระยะระหว่าง 2 ตำแหน่งดังกล่าวห่างกันไม่มาก เมื่อเทียบกับตลาดกระทิง
นอกจากนั้น ยังมี 'เทรนด์แนวนอน (Horizontal trend)' หรือที่เรียกกันว่า 'ตลาดที่เคลื่อนไหวในกรอบ (Ranging market)' ซึ่งเป็นจังหวะที่เหล่านักเทรดทั้งฝั่ง bull และ bear จะไม่ค่อยประทับใจเท่าไหร่นัก เนื่องจากเป็นช่วงที่ตลาดไม่ได้เอื้อให้ฝั่งใดฝั่งหนึ่งเลย ซึ่งเป็นนัยว่าทั้ง 2 ฝั่งนั้นกำลังถือไพ่เสมอกันในตลาด
เมื่อตลาดเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ นั่นหมายความว่า ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เปรียบ ไม่มีฝั่งไหนโดดเด่น จึงทำให้ตลาดไม่มีเทรนด์เกิดขึ้น เพราะมันวิ่งไปวิ่งมาอย่างรวดเร็วแบบไร้ทิศทางนั่นเอง
มีการวิเคราะห์ว่า ตลาดมักเคลื่อนไหวในกรอบแคบเป็นเวลาราวๆ 60% ของช่วงเวลาทั้งหมด ซึ่งหมายความว่า นักเทรด forex จะต้องมีสมาธิและโฟกัสกับการเทรดให้ดีๆ เพื่อที่จะระบุและจับจังหวะเทรนด์ได้ แล้วทำกำไรจากเทรนด์เหล่านั้น!
นักวิเคราะห์กราฟเทคนิคส่วนใหญ่กล่าวว่า นักเทรด หรือ นักลงทุน มักจะทำการเทรดตามรูปแบบหรือแพทเทิร์นที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนแล้ว ดังนั้น พฤติกรรมการเทรดตามการคาดการณ์ความเป็นไปได้จากในอดีต ทำให้เราสามารถระบุรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตได้นั่นเองครับ
ยิ่งไปกว่านั้น การวิเคราะห์ข้อมูลจากเหตุการณ์ในอดีต เช่น ภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือ สงครามการค้า ทำให้เทรดเดอร์สามารถคาดการณ์ทิศทางของตลาดที่อาจเคลื่อนไหวในรูปแบบเดิม เมื่อมีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นอีกในอนาคต
ตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยขึ้นทั่วโลก เทรดเดอร์อาจอ้างอิงแพทเทิร์นของตลาดในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2008 แล้วนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลตลาดในปัจจุบัน เพื่อหาว่ารูปแบบกราฟทั้ง 2 ช่วงเวลามีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร
แน่นอนครับ สัญญาณเหล่านั้นจะแจ้งเตือนให้เทรดเดอร์ได้รู้ว่าจังหวะไหนควรเทรดอย่างไร โดยสัญญาน 'ซื้อ (Buy)' จะบ่งบอกว่าเทรดเดอร์ควรเริ่มคู่เงินดังต่างๆ และสัญญาน 'ขาย (Sell)' จะช่วยระบุว่าเทรดเดอร์ควรขายคู่เงินต่างๆ ไปเสีย
นอกจากนั้น ยังมี 'สัญญาณหลอก (False signal) ซึ่งหมายถึงจังหวะที่มีความผิดปกติเกิดขึ้น เนื่องจากสัญญาณที่เกิดขึ้นนั้นไม่ถูกต้อง และเทรดเดอร์เองไม่ควรเทรดตามสัญญาณดังกล่าว ตัวอย่างเช่น สัญญาณหลอกที่เกิดขึ้นในเวลาที่เชื่องช้า, ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และประเภทความผิดปกติอื่นๆ เป็นต้น
การวิเคราะห์กราฟเทคนิคสามารถวิเคราะห์ได้ด้วยตัวเทรดเดอร์เอง และยังสามารถใช้โปรแกรมอัตโนมัติ เช่น ซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์ เป็นตัวช่วยวิเคราะห์ได้เช่นกัน โดยซอฟต์แวร์เหล่านั้นจะสามารถดึงข้อมูลจากในอดีตมาใช้วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของราคาคู่เงินและสกุลเงินต่างๆ ได้
เทรดเดอร์สามารถศึกษาและคาดการณ์อย่างสมเหตุสมผลเกี่ยวกับสภาวะตลาดที่จะกำลังจะเกิดขึ้นได้ จากการพิจารณาแพทเทิร์นและการประเมินความเป็นไปได้ของทิศทางราคาในอนาคต
การคำนวณความเป็นไปได้จะทำให้เทรดเดอร์สามารถหาข้อยืนยันได้ว่า มีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่กราฟราคาจะยังคงขยับไปด้วยแพทเทิร์นแบบเดิม หรือมีโอกาสไหมที่ราคาจะเปลี่ยนไปในทิศทางอื่น แม้เราต่างรู้ดีว่า ใช่ว่าโอกาสเหล่านั้นจะถูกต้องแม่นยำเสมอไป แต่มันก็ถือเป็นกลยุทธ์น่าเชื่อถือ เนื่องจากการใช้ข้อมูลจริงในการวิเคราะห์คาดการณ์ ซึ่งแตกต่างจากการเทรดแบบไร้เหตุผล หรือปราศจากข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และเต็มไปด้วยความเสี่ยง
ในปัจจุบัน เทรดเดอร์ส่วนมากมักจะวิเคราะห์ข้อมูลทั้งจากปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิค แล้วใช้การวิเคราะห์ทั้ง 2 แบบเปรียบเทียบกัน ด้วยหลักการที่ว่า หากข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ทั้ง 2 วิธีนั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน นั่นแสดงว่าโอกาสที่การคาดการณ์ดังกล่าวจะมีความถูกต้องนั้นสูงมาก และมันก็คุ้มค่าที่จะเสี่ยงในการทำกำไร
ก่อนหน้านี้ เราได้กล่าวว่า นักวิเคราะห์กราฟเทคนิคจะใช้ข้อมูลในอดีตเพื่อเปรียบเทียบกับเทรนด์ความเคลื่อนไหวปัจจุบันในตลาด และยังมีอีกหนึ่งวิธีที่เหล่าเทรดเดอร์ศึกษาข้อมูลจากในอดีต ได้แก่ การทดสอบการเทรด forex ย้อนหลัง (Backtesting)
Backtesting หรือที่รู้จักกันดีว่า 'การทดสอบการเทรดย้อนหลัง' เป็นวิธีการวิเคราะห์โดยการใส่ข้อมูลในอดีตเข้าไปในระบบเพื่อทดสอบกลยุทธ์การเทรดต่างๆ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์ควรระลึกไว้เสมอว่า ข้อมูลในอดีตเหล่านั้นไม่ได้เป็นตัวการันตีรูปแบบแพทเทิร์นหรือความเป็นไปได้ ได้เสมอไป ดังนั้น เทรดเดอร์ควรศึกษาข้อมูลต่างๆ อย่างระมัดระวัง และค่อยๆ พิจารณาปัจจัยต่างๆ จนมั่นใจ แล้วค่อยเทรดเพื่อกำไรอย่างคุ้มค่านะครับ!
ติดตามบทเรียน forex เพิ่มเติม และอัปเดตบทเรียนใหม่ๆ ก่อนใคร ที่ ห้องเรียน forex
บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน