เลเวอเรจ (Leverage) คือ หนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่นักเทรดมือใหม่ต้องรู้จักก่อนจะเริ่มลงทุนในตลาดการเงิน โดยหากพูดถึงเลเวอเรจในแง่ของการเทรด Forex มันก็เกี่ยวข้องกับทุนที่ท่านใช้ในการลงทุนนั่นเองครับ แต่ไม่ใช่เงินทุนธรรมดาๆ นะ อ้าว… แล้วเลเวอเรจคืออะไรกันแน่? เลเวอเรจ คือ จำนวนเงินที่ยืมมาจากโบรกเกอร์ที่ท่านเลือกเทรดด้วยนั่นเองครับ พูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือเครดิตที่ท่านได้รับมาจากโบรกเกอร์เพื่อยืมมาใช้ลงทุนซื้อสินทรัพย์มาทำกำไรนั่นแหละ
ตามหลักการแล้ว Leverage จะมีค่าเป็นหลายเท่าของจำนวนเงินลงทุนจริงที่ท่านใช้ และไม่มีการกำหนดแน่นอนว่าเลเวอเรจนั้นจะอยู่ที่เท่าไหร่ แล้วแต่ว่าโบรกเกอร์แต่ละเจ้าจะกำหนดค่าเลเวอเรจอย่างไรซึ่งจะแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขและรูปแบบการให้บริการเทรดของโบรกเกอร์นั้นๆ นั่นเองครับ ข้อดีก็คือนักลงทุนจะได้รับผลประโยชน์จากเลเวอเรจแบบเต็มๆ เพราะท่านสามารถลงทุนได้มากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องมีเงินทุนจำนวนมหาศาลอยู่ในมือจริงๆ เลยด้วยซ้ำ แต่หากเทรดเดอร์มีเงินทุนน้อย แถมยังไม่มีเลเวอเรจให้ใช้อีกต่างหาก โอกาสที่ท่านจะเทรดให้ได้กำไรตามที่คาดหวังก็คงเป็นไปได้น้อยเหลือเกิน โบรกเกอร์ผู้ให้บริการจึงมักจะมอบเลเวอเรจให้ท่าน เพื่อให้ท่านสามารถลงทุนได้ง่ายขึ้น!
อย่างไรก็ตาม ยังมีรายละเอียดอีกมากมายที่ท่านควรรู้เกี่ยวกับเลเวอเรจ ถ้าพร้อมแล้ว… ไปดูกันเลยครับ!
จะรู้ได้ยังไงว่าอัตราเลเวอเรจที่ดีที่สุดควรเท่ากับเท่าไหร่? แล้วทำไมต้องใช้เลเวอเรจเท่านั้น? ต้องกำหนดเลเวอเรจเท่าไหร่ให้เหมาะสมกับเงินทุนและไม่เกิดข้อผิดพลาด? เอาล่ะครับ ต้องขอบอกตามตรงว่าคำถามเหล่านี้ไม่มีคำตอบที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับว่าท่านมีสไตล์การเทรดและกลยุทธ์การเทรดแบบไหน รวมถึงท่านสนใจที่จะลงทุนสินทรัพย์ประเภทใด อีกทั้งยังมีปัจจัยสำคัญอื่นๆ อีกมากมายที่ท่านจะต้องพิจารณา
โดยหากท่านเป็นนักเทรด Scalper ที่ต้องการลงทุนในระยะสั้นๆ หรือเทรดเดอร์ที่เน้นเทรดจากราคาที่ทะลุเป้าในการทำกำไรโดยใช้เวลาไม่นาน ท่านก็อาจต้องใช้อัตราเลเวอเรจที่สูงหน่อย แต่หากท่านเป็นนักลงทุนที่ชอบซื้อแล้วถือยาวๆ ท่านก็อาจต้องใช้อัตราเลเวอเรจเพียงไม่มาก
กฎเหล็กของการเทรด Forex คือ การ “เลือกเลเวอเรจที่ทำให้ท่านลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น” ซึ่งโบรกเกอร์โดยส่วนใหญ่จะกำหนดอัตราเลเวอเรจทั่วๆ ไปที่ 1:100 เนื่องจากเป็น Leverage ที่เหมาะทั้งสำหรับนักเทรดมือใหม่และมือโปร
ตัวอย่างการใช้เลเวอเรจ: สมมุติว่าท่านใช้เงินทุนจริง $1,000 โดยใช้เลเวอเรจเท่ากับ 1:100 จำนวนเงินทุนที่ท่านสามารถใช้ลงทุนเทรดได้จะเท่ากับ $100,000 เลยทีเดียว เห็นหรือยังครับว่าเลเวอเรจช่วยเพิ่มโอกาสให้เทรดเดอร์สามารถลงทุนได้ในปริมาณที่มากขึ้น ทั้งที่จริงๆ แล้วใช้เงินทุนจริงเพียงไม่เท่าไหร่เองครับ เหมาะมากๆ สำหรับนักลงทุนที่ชอบใช้ Margin ในการเทรด
ข่าวดี!: MTrading ขอมอบเงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุดในตลาดการเงินให้ท่าน พร้อม อัตราเลเวอเรจเริ่มต้นที่ 1:1000 และมีความยืดหยุ่นตามตราสารและประเภทบัญชี
ตอนนี้หลายท่านคงคิดว่าเลเวอเรจนี่มีประโยชน์มากจริงๆ แต่เราขอบอกเลยว่าการใช้เลเวอเรจก็ใช่ว่าจะไม่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทรดเดอร์เทรดโดยปราศจากการควบคุมอารมณ์และความกังวลในการเทรด จะนั่งรอเฉยๆ ให้เทรดได้ชนะก็อาจเป็นไปได้ยากจริงไหมล่ะครับ? สิ่งสำคัญที่เราอยากบอกก็คือ ท่านควรใช้ Indicator เชิงเทคนิค, ข่าวสาร และบทวิเคราะห์ ให้เป็นประโยชน์ รวมถึงทำความรู้จักเครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยให้ท่านคาดการณ์ตลาดล่วงหน้าได้ ซึ่งได้แก่ ทิศทางของราคาและจังหวะที่ราคาจะกลับตัวนั่นเองครับ
ถึงแม้เลเวอเรจจะเป็นเครื่องที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้ท่านเทรดได้กำไรก็จริง แต่มันก็อาจเป็นดาบสองคมที่ทำให้ท่านเทรดขาดทุนได้มากเช่นกัน ดังนั้น ท่านจะต้องไตร่ตรองการกำหนดอัตราเลเวอเรจอย่างรอบคอบ เพราะหากท่านเทรดโดยไม่ได้วางแผนปริมาณเครดิตให้เหมาะสม ก็อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการลงทุนได้ในที่สุด
เราขอแนะนำให้ท่านหมั่นทดสอบกลยุทธ์เทรดต่างๆ เพื่อดูว่ากลยุทธ์ไหนมีแนวโน้มจะทำกำไรได้จริงก่อนที่ท่านจะเข้าสู่ตลาดจริงๆ โดยท่านสามารถเทรดผ่าน บัญชีเดโม่ ที่มาพร้อมกับเงื่อนไขในการเทรดและเลเวอเรจแบบเดียวกับในบัญชีจริง แต่ไม่ต้องคอยมานั่งกังวลว่าหากเทรดขาดทุนแล้วจะเสียเงินจริงๆ แล้วเมื่อไหร่ที่ท่านพร้อม สามารถเปลี่ยนไปเทรดผ่านบัญชีจริงได้ไม่ยากครับ
เครื่องมือบริหารความเสี่ยงที่ควรใช้ ได้แก่:
ดังนั้น หากท่านต้องการใช้เลเวอเรจเทรดให้ประสบความสำเร็จตามที่ต้องการ อย่าลืมใช้วิธีจัดการความเสี่ยงเหล่านี้ด้วยล่ะครับ แล้วท่านจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าการเทรดไม่ใช่เรื่องยาก แค่กำหนดอัตราเลเวอเรจให้เหมาะสมตามความต้องการของท่าน
ท่านสามารถคำนวณอัตราเลเวอเรจได้ไม่ยาก จากสูตรการคำนวณ Leverage ง่ายๆ ดังนี้:
บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน