มือใหม่หัดเทรดเตรียมตัวให้พร้อม! เพราะบทความนี้จะพาท่านไปทำความรู้จักกับ “คำสั่งรอดำเนินการ” หรือ “Pending order” และ “คำสั่งซื้อขายในตลาด” หรือ “Market order” รวมถึงการเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างกลยุทธ์ Buy limit และ Buy stop อีกด้วยครับ
ต้องขอบอกก่อนว่าในการเทรด Forex นั้น เทรดเดอร์สามารถตั้งออเดอร์ได้หลายแบบทั้งในฝั่ง buy และฝั่ง sell ซึ่งมักทำให้มือใหม่เกิดความสับสนขึ้นได้อยู่บ่อยครั้งเมื่อเริ่มหัดเทรดใหม่ๆ
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทรดเดอร์เริ่มทำความรู้จักและคุ้นเคยกับออเดอร์แต่ละประเภทแล้ว ท่านก็จะเข้าใจว่าออเดอร์แต่ละแบบนั้นมีประโยชน์แตกต่างกันอย่างไร และออเดอร์ประเภทไหนควรใช้ ณ จังหวะใด เพื่อให้ท่านสามารถติดต่อกับโบรกเกอร์ของท่านเพื่อเปิดออเดอร์ตามที่ท่านต้องการได้ในที่สุด
ข้อควรรู้
ออเดอร์ stop และออเดอร์ limit อาจหมายถึงออเดอร์ประเภทคำสั่งทั่วไป ซึ่งนับว่าเป็นออเดอร์ที่ใช้บ่อยที่สุดในการเทรด forex แต่ในบางครั้งออเดอร์เหล่านั้นก็อาจจัดเป็นคำสั่งรอดำเนินการได้เช่นกัน เพราะในตลาดการเงินนั้น เทรดเดอร์ทุกท่านจะต้องได้เผชิญกับทั้งคำสั่งซื้อขายในตลาดและคำสั่งรอดำเนินการเลยล่ะครับ
คำสั่งซื้อขายในตลาดเป็นคำสั่งที่จะถูกเปิดขึ้นเมื่อเทรดเดอร์ต้องการเปิดออเดอร์ของสินทรัพย์หนึ่งๆ ณ ราคาที่ดีที่สุดในตลาด โดยนักเทรดมืออาชีพจะชอบออเดอร์ประเภทนี้เป็นพิเศษ ซึ่งก็อาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกเท่าไหร่นัก เพราะว่าพวกเขารู้จังหวะที่ดีที่สุดในการลงทุนและเข้าเทรด และจังหวะในการปิดออเดอร์เป็นอย่างดีอยู่แล้วนั่นเอง
คำสั่งรอดำเนินการจะถูกตั้งเอาไว้ล่วงหน้าเมื่อเทรดเดอร์วางแผนที่จะซื้อหรือขายสินทรัพย์หนึ่งๆ เมื่อราคาวิ่งขึ้นและลงไปถึงระดับกำไรที่เทรดเดอร์กำหนดเอาไว้
คำสั่งรอดำเนินการจะยิ่งมีประโยชน์ในการเทรดเป็นอย่างมาก หากเทรดเดอร์ไม่มีเวลามากพอที่จะติดตามการเทรดของท่าน (หรือนั่งเฝ้าหน้าจอกราฟทั้งวันนั่นเอง) หรือหากท่านอยากใช้เวลากับการเทรดแบบพอดีๆ แค่ตั้งออเดอร์เปิดรอเอาไว้ แล้วค่อยกลับเข้ามาเทรดเมื่อต้องการ คำสั่งประเภทนี้ก็เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมเลยล่ะครับ
ตัวอย่างคำสั่งรอดำเนินการที่แตกต่างกัน 2 ประเภท ได้แก่:
ข้อควรรู้
จากชื่อ หลายๆ ท่านคงพอคาดเดาได้ว่าออเดอร์ stop คืออะไร ออเดอร์ stop จะถูกตั้งรอไว้เพื่อดำเนินการเมื่อราคาได้เคลื่อนที่ไปถึงจุดที่กำหนดเอาไว้ล่วงหน้า เช่น จุด stop เป็นต้น
หากเทรดเดอร์ตั้งออเดอร์ประเภทนี้เอาไว้ นั่นหมายความว่าท่านมั่นใจว่าราคาของสินทรัพย์นั้นๆ จะต้องเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดิมอยู่อย่างต่อเนื่อง
อย่างที่เราได้กล่าวไปข้างต้นว่า ออเดอร์ stop เป็นหนึ่งในประเภทคำสั่งรอดำเนินการ แต่ออเดอร์ stop นั้นจะกลายเป็นคำสั่งซื้อขายในตลาดเมื่อออเดอร์ดังกล่าวถูกดำเนินการนั่นเอง
หลังจากที่ท่านได้พิจารณาทิศทางของแนวโน้ม (ว่าเป็นเทรนด์ขาขึ้นหรือขาลง) เป็นอย่างดีแล้ว ท่านสามารถตั้งออเดอร์ sell stop หรือ buy stop ได้ทันที
ทั้งนี้ เมื่อไหร่ก็ตามที่ท่านตั้งออเดอร์ buy stop ท่านจะต้องตั้งออเดอร์ sell limit ไปพร้อมๆ กัน เพื่อป้องกันการเทรดขาดทุนในกรณีที่ราคาไม่ได้เป็นไปตามที่ท่านคาดการณ์เอาไว้
ออเดอร์ limit เป็นออเดอร์ที่ใช้เพื่อกำหนดลิมิตราคาที่มากที่สุดหรือน้อยที่สุดที่เทรดเดอร์ต้องการในการเปิดออเดอร์ (ซึ่งก็คือจุดที่เทรดเดอร์ต้องการซื้อหรือขายสัญญาของท่านนั่นเอง)
โดยทั่วไป ออเดอร์ limit มักจะถูกตั้งเหนือกว่าหรือต่ำกว่าระดับราคาปัจจุบันของคู่เงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจุดที่ราคาคู่เงินค่อยๆ ลดลง หรือจุดที่ราคาเพิ่มขึ้น
และที่สำคัญ เมื่อใช้ออเดอร์ประเภทนี้ นั่นหมายความว่าเทรดเดอร์คาดหวังให้ราคาย่อตัวลงสั้นๆ ก่อนที่ราคาจะกลับตัวไปในทิศทางตรงกันข้าม
ออเดอร์ limit แต่ละชนิดไม่ว่าจะออเดอร์ buy limit หรือ sell limit นั้น จะขึ้นอยู่กับทิศทางการเทรดของท่าน (ว่าจะเปิด buy หรือ sell) ดังนั้น เทรดเดอร์จะต้องเลือกเปิดออเดอร์ให้ตรงกับการเทรดของท่าน โดยออเดอร์นั้นจะเปลี่ยนจากคำสั่งรอดำเนินการเป็นคำสั่งซื้อขายในตลาดเมื่อออเดอร์ถูกดำเนินการเรียบร้อยแล้วนั่นเอง
ถ้าหากท่านเริ่มมีความเข้าใจเกี่ยวกับออเดอร์ buy stop และ buy limit แล้วล่ะก็… ทำไมไม่ลองทดลองใช้ออเดอร์เหล่านั้นบนแพลตฟอร์มเทรดอย่าง MetaTrader 4 ดูล่ะครับ?
ง่ายๆ เพียงแค่ท่านเปิดบัญชีเดโม่ ฟรี ก็สามารถทดลองตั้งออเดอร์และทดสอบกลยุทธ์เทรดของท่านได้ทันที ก่อนที่ท่านจะนำกลยุทธ์เหล่านั้นไปใช้ในตลาดจริง
ในระหว่างทดลองเทรดผ่านบัญชีเดโม่ ท่านสามารถเทรดด้วยเงินจำลองที่เรามอบให้โดยไม่ต้องใช้เงินทุนจริงๆ ของท่านมาเทรดให้เสี่ยง แต่ถึงอย่างนั้น ท่านก็สามารถเข้าถึงข้อมูลตลาดในสภาวะและบรรยากาศของตลาดจริงได้ทันที
ข้อดีของบัญชีเดโม่คือท่านสามารถควบคุมเงื่อนไขในการเทรด และจัดการความเสี่ยงในการเทรดได้ตามต้องการเลยล่ะครับ ที่สำคัญท่านสามารถฝึกฝนทักษะการเทรดได้นานตามที่ต้องการเลยล่ะ และเมื่อท่านพร้อมรับกำไรจริงๆ ก็ค่อยเปลี่ยนมาใช้บัญชีเทรดจริงได้แบบง่ายๆ
พูดง่ายๆ ก็คือ ออเดอร์ buy limit จะถูกตั้งขึ้นเมื่อเทรดเดอร์ได้คาดการณ์แล้วว่าราคาจะมีการย่อตัวลงเล็กน้อยก่อนจะเกิดการกลับตัว ดังนั้น ออเดอร์ดังกล่าวจะถูกตั้งเหนือกว่าหรือต่ำกว่าระดับราคาหนึ่งๆ แล้วแต่ว่าราคาจะเคลื่อนไปในทิศทางไหน จะวิ่งขึ้นหรือวิ่งลง
ในขณะเดียวกัน ออเดอร์ buy stop จะถูกตั้งไว้ ณ จุดที่เทรดเดอร์คาดการณ์ว่าการซื้อขายจะสิ้นสุด โดยเทรดเดอร์จะคาดการณ์ให้ราคาสิ้นสุด ณ จุดที่กำหนดนั่นเอง
จุดที่ว่านั้นหมายถึงระดับราคาที่ต่ำที่สุดที่ราคาจะร่วงลงไปถึง หรือระดับราคาที่สูงที่สุดที่ราคาจะพุ่งขึ้นไปได้
ออเดอร์ที่กล่าวมานี้เป็นออเดอร์พื้นฐานทั่วไปที่เทรดเดอร์มักใช้กันในตลาดการเงิน โดยเมื่อท่านใช้คำสั่งรอดำเนินการ หรือ pending order อย่าลืมว่าโบรกเกอร์ส่วนใหญ่นั้นจะบังคับให้ท่านเปิดออเดอร์ซื้อ ณ ราคาปัจจุบันในตลาดตามจำนวน Pips ขั้นต่ำ ก่อนที่ท่านจะสามารถตั้งออเดอร์รอดำเนินการได้
แพลตฟอร์มเทรดอย่าง MetaTrader 4 จะช่วยให้เทรดเดอร์ติดตามรายละเอียดข้อมูลของคำสั่งรอดำเนินการของท่านได้ รวมถึงเปรียบเทียบให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างออเดอร์ buy stop และ buy limit ให้ท่านได้ทราบอีกด้วย ขอแอบกระซิบว่าใช่ว่าทุกแพลตฟอร์มจะบอกให้ทราบละเอียดขนาดนี้นะครับ! ยังไงเราขอลองแนะนำให้ท่านเปิดบัญชีเดโม่ แล้วทดลองใช้ MT4 ดูนะครับ
บทความนี้ไม่มีและไม่ควรถูกพิจารณาว่ามีคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านการลงทุน รวมถึงข้อเสนอหรือการชักชวนในการทำธุรกรรมใดๆ ในตราสารทางการเงิน ทั้งนี้ นักลงทุนควรขอคำแนะนำจากที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน