ความเชื่อมั่นในตลาดยังคงมีทิศทางเป็นบวก แม้จะมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายภาษีการค้าของประธานาธิบดีสหรัฐฯโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับความลังเลของทรัมป์ในการบังคับใช้มาตรการจำกัดทางการค้าดังกล่าว รวมถึงความพร้อมในการเจรจากับคู่ค้าต่างประเทศ นอกเหนือไปจากความกังวลด้านการค้าที่ผ่อนคลายลงแล้ว การหารือเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนและความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ลดลงระหว่างรัสเซียและยูเครนยังช่วยหนุนบรรยากาศการลงทุน และเป็นปัจจัยที่ท้าทายการฟื้นตัวล่าสุดของดอลลาร์สหรัฐฯ
ขณะเดียวกัน คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีน (NDRC) กำลังเร่งดำเนินการออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจภาคเอกชน โดยประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ก็ผลักดันการเติบโตของภาคเอกชนด้วยเช่นกัน ในอีกด้านหนึ่ง การที่รัสเซียปล่อยตัวนักโทษชาวอเมริกันเพิ่มเติมได้เพิ่มความหวังต่อข้อตกลงสันติภาพกับยูเครน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ
ในการรายงานข่าวอื่นๆ ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2020 ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลง และเปิดทางให้ดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม ท่าทีการดำเนินนโยบายของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่เปลี่ยนไปในเชิงผ่อนคลายมากขึ้นได้กดดันการดีดตัวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากร่วงลงสามวันติดต่อกัน ท่ามกลางการกลับมาเคลื่อนไหวของตลาดสหรัฐฯหลังช่วงวันหยุดยาว
แม้ว่าการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯจะชะลอการปรับตัวขึ้นของสกุลเงินหลักและสกุลเงินกลุ่ม Antipodeans แต่ราคาทองคำและราคาน้ำมันดิบยังคงสามารถรักษาระดับไว้ได้จากบรรยากาศการลงทุนที่มีความระมัดระวังและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับทิศทางการดำเนินนโยบายของ Fed ในปี 2025 ในขณะเดียวกัน คริปโทเคอร์เรนซียังคงเผชิญแรงกดดันต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดหุ้นทางฝั่งเอเชีย-แปซิฟิกปรับตัวลดลง
ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ยุติการร่วงลงสามวันติดต่อกันในช่วงเช้าวันอังคาร โดยดีดตัวจากจุดต่ำสุดในรอบสองเดือน ซึ่งการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯได้กดดันการขยับตัวขึ้นล่าสุดของค่าเงินยูโร (EUR) เงินปอนด์อังกฤษ (GBP) และเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) แม้ว่าปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของยุโรป สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่นจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก คู่เงิน EURUSD ร่วงลงหนักที่สุดในรอบหกวัน หลังจากเกิดรูปแบบแท่งเทียน Doji ขณะที่ คู่เงิน GBPUSD ปิดฉากการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องสามวัน ส่วนทางด้านคู่เงิน USDJPY ฟื้นตัวขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบหนึ่งสัปดาห์ และกลับมาปรับตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบสี่วัน
แม้ว่าเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังคงสนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม อย่างไรก็ตาม ความคาดหวังเชิงบวกเกี่ยวกับข้อตกลงสันติภาพระหว่างยูเครนและรัสเซียยังคงทำให้นักเทรดฝั่งขายคู่เงิน EURUSD ยังคงระมัดระวัง ในทำนองเดียวกัน แนวโน้มเศรษฐกิจญี่ปุ่นส่งสัญญาณว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม ซึ่งจะเป็นอุปสรรคสำหรับแรงเทซื้อคู่เงิน USDJPY โดยข้อมูลการจ้างงานของสหราชอาณาจักรที่ออกมาผสมผสานในหลากหลายทิศทาง รวมถึงแถลงการณ์ล่าสุดของผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) แอนดรูว์ เบลีย์ ที่สะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่ลดลง ตลอดจนถ้อยแถลงที่ไม่ชัดเจนจากนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เคียร์ สตาร์เมอร์ ทำให้แรงเทขายคู่เงิน GBPUSD ยังคงมีความหวัง
ช่วงแนวโน้มขาขึ้นคู่เงิน AUDUSD ชะลอตัวที่ระดับสูงสุดในรอบสองเดือน โดยยุติการปรับตัวขึ้นสามวันติดต่อกัน หลังจากธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ซึ่งนับเป็นการปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2020 มิเชล บูลล็อค ผู้ว่าการ RBA ระบุว่านโยบายการเงินยังคงอยู่ในระดับที่เข้มงวด และส่งสัญญาณถึงความเป็นไปได้ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เธอยังกล่าวว่า แม้จะมีโอกาสลดดอกเบี้ยลงอีก แต่พื้นที่สำหรับการปรับลดอาจมีจำกัด เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้นอยู่ในระดับต่ำ คำแถลงดังกล่าวช่วยชะลอกาดึงกลับของคู่เงิน AUDUSD นอกจากนี้ บรรยากาศการลงทุนที่มีทิศทางเป็นบวกเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีน และความตึงเครียดทางการค้าและภูมิรัฐศาสตร์ที่ผ่อนคลายลง ยังช่วยหนุนแรงเทขายใหม่ของคู่เงินนี้
คู่เงิน NZDUSD ร่วงลงหนักที่สุดในรอบสี่วันในหมู่กลุ่มสกุลเงิน G10 ที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯร่วมกับการคาดการณ์ของตลาดที่ว่า ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) อาจปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในวันพุธนี้ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบบต่อคู่เงิน Kiwi ขณะเดียวกัน คู่เงิน USDCAD ยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง แม้ว่าราคาน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นสินค้าออกหลักของแคนาดาจะปรับตัวสูงขึ้น แต่ความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการผ่อนคลายนโยบายการเงินของ ธนาคารกลางแคนาดา (BoC) รวมถึงความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจที่ยังดำเนินอยู่ในแคนาดา ยังเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้คู่เงินนี้ปรับตัวสูงขึ้น
ราคาทองคำเมินการฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯ และปรับตัวสูงขึ้นจากบรรยากาศการลงทุนที่เป็นบวก รวมถึงข่าวสารเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน ส่งผลให้ราคาทองคำขยายแนวโน้มการฟื้นตัวเข้าใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ กระแสข่าวเกี่ยวกับการชะลอแผนการเพิ่มกำลังการผลิตของ OPEC+ ความกังวลเกี่ยวกับความสามารถของประธานาธิบดีทรัมป์ในการเพิ่มปริมาณอุปทานน้ำมัน และการที่รัสเซียกลับมามีบทบาทเต็มที่ในตลาดพลังงาน ล้วนช่วยหนุนราคาน้ำมันดิบให้ยังคงแข็งแกร่ง หลังจากปรับตัวขึ้นมากที่สุดในรอบสัปดาห์
การฟื้นตัวของดอลลาร์สหรัฐฯประกอบกับนักลงทุนคริปโตที่กำลังมองหาสัญญาณขาขึ้นใหม่ ส่งผลกระทบต่อ Bitcoin (BTCUSD) และ Ethereum (ETHUSD) ให้ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบการซื้อขายระยะสั้น นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนในอุตสาหกรรมคริปโตเกี่ยวกับการชำระคืนเงินของ FTX รวมถึงกระแสความหวังที่ลดลงเกี่ยวกับการสนับสนุนคริปโตของทรัมป์ และกระแสเงินทุนที่ไหลเข้าสู่กองทุน ETF อย่างหนัก ต่างเป็นปัจจัยที่ท้าทายแรงเทซื้อในตลาดสกุลเงินดิจิทัลในช่วงนี้
หลังจากตลาดชะลอการเคลื่อนไหวในช่วงเริ่มต้นสัปดาห์ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากช่วงวันหยุดของสหรัฐฯ คาดว่านักเทรดอาจต้องเผชิญกับความผันผวนที่เพิ่มขึ้นจากสัญญาณที่หลากหลายของปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงที่สำคัญ รวมถึงการอัปเดตเกี่ยวกับมาตรการภาษีศุลกากรของทรัมป์ ความคืบหน้าในการเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลาง และความกังวลเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจของจีน นอกจากนี้ ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อจากแคนาดาและดัชนีภาคการผลิตของธนาคารกลางสหรัฐฯประจำนิวยอร์ก (New York Empire State Manufacturing Index) จะเป็นจุดสนใจของเทรดเดอร์ที่อาศัยการเคลื่อนไหวของตลาดในการเทรด โดยดอลลาร์สหรัฐฯอาจยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง ซึ่งจะสร้างแรงกดดันต่อคู่เงิน EURUSD คู่เงิน GBPUSD และสกุลเงินกลุ่ม Antipodean ขณะที่ การฟื้นตัวของคู่เงิน USDJPY ยังไม่แน่นอน เช่นเดียวกับความแข็งแกร่งของราคาน้ำมันดิบ อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำอาจยังคงสามารถรักษาแนวโน้มขาขึ้น ในขณะที่สกุลเงินดิจิทัลอาจยังคงอ่อนแอ และตลาดหุ้นอาจมีการทดสอบแรงเทซื้อในตลาด
ขอให้คุณโชคดีในการเทรด!