ออกจากระบบ
คุณจะแน่ใจหรือไม่ที่จะออกจากระบบ
MTrading Team • 2024-04-18

GBPUSD มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในรอบสัปดาห์ ท่ามกลางการดึงกลับของดอลลาร์และ BoE ที่ส่งสัญญาณคุมเข้มนโยบายการเงิน

GBPUSD มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในรอบสัปดาห์ ท่ามกลางการดึงกลับของดอลลาร์และ BoE ที่ส่งสัญญาณคุมเข้มนโยบายการเงิน

ความเชื่อมั่นของตลาดยังคงมีทิศทางที่ดีแม้จะมีบรรยากาศของการระมัดระวังในช่วงเช้าของวันพฤหัสบดี ขณะที่ นักลงทุนต่างคาดการณ์ถึงความเสียหายทางเศรษฐกิจที่น้อยลงที่สืบเนื่องมาจากสงครามอิสราเอล-อิหร่าน โดยสาเหตุหลักมาจากการที่ผู้นำระดับโลกปฏิเสธการสนับสนุนอิสราเอล นอกจากนี้ สภาพที่ผ่อนคลายมากขึ้นในฉนวนกาซาและความหวังที่จะได้เห็นการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมากขึ้นยังทำให้เหล่าเทรดเดอร์ยังคงมองโลกในแง่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางปฏิทินเศรษฐกิจที่เบาบางและการขาดปัจจัยเร่งปฏิกิริยาจากสหรัฐฯ

ด้วยเหตุนี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ยังคงได้รับแรงกดดันหลังจากพลิกกลับจากระดับสูงสุดในรอบปีเมื่อวันก่อนหน้า ซึ่งส่งผลให้คู่เงิน EURUSD และคู่เงิน GBPUSD ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน แม้ว่าจะไม่มีปัจจัยบวกสำคัญๆในบ้านก็ตาม อย่างไรก็ตาม คู่เงิน USDJPY ยังคงอยู่ในแนวรับหลังจากพลิกกลับจากระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1990 ในวันพุธที่ผ่านมา ขณะที่ คู่เงิน AUDUSD และคู่เงิน NZDUSD ได้รับแรงหนุนจากดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลง ซึ่งเป็นผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ฟื้นตัวขึ้นอย่างโดดเด่นด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ ราคาทองคำมีราคาเสนอซื้อเป็นบวกโดยพลิกกลับจากการร่วงลงของวันก่อนหน้า ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบค่อยๆฟื้นตัวขึ้นหลังจากร่วงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า BTCUSD และ ETHUSD ไม่ได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และยังคงถูกกดดันเนื่องจากเทรดเดอร์สกุลเงินดิจิทัลกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการลดลงครึ่งหนึ่ง (halving) ของ Bitcoin ท่ามกลางตลาดที่ระมัดระวัง

มาติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของสินทรัพย์เหล่านี้:

  • น้ำมันเบรนท์ (Brent) แกว่งตัวอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบสองสัปดาห์ โดยล่าสุดยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจนที่ประมาณ $87.60
  • ทองคำ (Gold) พลิกกลับการร่วงลงของวันก่อนหน้าโดยเพิ่มขึ้น 0.80% ระหว่างวันที่ประมาณ $2,380
  • ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD INDEX) ร่วงลงมากกว่า 0.50% ไปที่ประมาณ 105.75
  • ตลาดหลักทรัพย์ Wall Street ปิดตัวด้วยการปรับตัวลงเล็กน้อย แต่ หุ้นในโซนเอเชียแปซิฟิก ชะลอตัวจากการปรับลดลงในรอบสัปดาห์ ขณะที่ หุ้นในยุโรปและสหราชอาณาจักร ยังขาดทิศทางที่ชัดเจน
  • BTCUSD และ ETHUSD ร่วงลงเล็กน้อยที่ประมาณ $61,000 และ $2,960 ตามลำดับ
เงื่อนไขการเทรดที่ดีที่สุด
รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200% รับโบนัสเงินฝากสูงสุดถึง 200%
Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip Spread 
เริ่มต้นที่ 0 pip
แพลตฟอร์ม Copy
Trade ระดับโลก แพลตฟอร์ม Copy 
Trade ระดับโลก
เข้าร่วมเลย

ดอลลาร์สหรัฐฯปรับตัวลงตามทิศทางของผลตอบแทนพันธบัตรท่ามกลางปฏิทินเศรษฐกิจที่เบาบาง...

ดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลงเล็กน้อยหลังจากพุ่งสูงขึ้นในรอบสัปดาห์ ท่ามกลางความคิดเห็นที่หลากหลายจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และการไม่มีปัจจัยด้านลบสำคัญๆจากสถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยอิสราเอลได้ออกมาแสดงความพร้อมสำหรับการเจรจาข้อตกลงกับกาซา แต่ก็ยังแสดงความพร้อมที่จะโจมตีอิหร่านด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การขาดการสนับสนุนจากประชาคมโลกเพื่อต่อต้านอิหร่าน อาจทำให้เยรูซาเลมยังคงไม่กล้าที่จะดำเนินการ ซึ่งอาจจะช่วยลดความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ลงได้

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา คณะมนตรีนายกรัฐมนตรีของสหภาพยุโรป (EU) ได้ออกแถลงการณ์ว่า จะดำเนินการคว่ำบาตรอิหร่านเพิ่มเติม

นอกเหนือไปจากข่าวที่เกี่ยวข้องกับอิสราเอล-อิหร่านแล้ว ข้อมูลอัปเดตจากการประชุมกลุ่มประเทศ G7 ยังท้าทายสภาวะการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงก่อนหน้านี้อีกด้วย และยังส่งผลกระทบต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แม้จะไม่มีแรงจูงใจสำคัญใดๆก็ตาม ในการรายงานล่าสุด G7 ระบุว่าธนาคารกลางยังคงมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ที่จะบรรลุเสถียรภาพด้านราคา โดยระบุเพิ่มเติมว่า "เศรษฐกิจโลกได้แสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นต่อแรงกระแทกที่เกิดขึ้นหลายครั้ง แต่แนวโน้มการเติบโตยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต"

อย่างไรก็ตาม กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ยังมีการอ้างถึงระดับหนี้สินที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐฯ และจีนว่านั่นอาจจะเป็นความเสี่ยงต่อการคลังสาธารณะทั่วไป

นอกจากนี้ ประธานาธิบดี Joe Biden ของสหรัฐฯยังเรียกร้องให้มีการขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กจากจีนเป็น 3 เท่า ส่งผลให้ความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งในทางกลับกันก็ได้ท้าทายความเชื่อมั่นที่มีแนวโน้มเชิงบวกอย่างระมัดระวังของตลาด และช่วยพยุงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อหุ้นอีกด้วย

ในอีกทางหนึ่ง ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯประจำคลีฟแลนด์ Loretta Mester ได้ออกมากล่าวว่า "อัตราเงินเฟ้อสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ จึงจำเป็นต้องมีความมั่นใจมากขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้ม" อีกทางด้านหนึ่ง ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ Michelle Bowman ระบุว่า ความคืบหน้าในการลดเงินเฟ้อนั้นชะลอตัวลง และอาจจะหยุดนิ่ง โดยรายงาน Beige Book ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Beige Book: รายงานสรุปสภาพเศรษฐกิจทั่วประเทศ) ยังระบุอีกว่า "ผู้ประกอบการคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะคงที่ในระดับที่ต่ำ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตบางรายในบางเขตพื้นที่มองเห็นความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อในระยะใกล้จะเพิ่มสูงขึ้น ทั้งต้นทุนการผลิตและราคาขาย"

ท่ามกลางสถานการณ์เหล่านี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ยุติการปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกัน 5 วัน และถอยตัวลงจากจุดสูงสุดในรอบปี ซึ่งส่งผลให้สกุลเงินหลักและสินค้าโภคภัณฑ์สามารถชะลอการร่วงลงในรอบสัปดาห์ลงได้ ถึงกระนั้น ราคาทองคำยังคงทรงตัวใกล้เคียงกับระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ต่างจากราคาน้ำมันดิบ ที่เทรดเดอร์กำลังฟื้นตัวหลังจากประสบกับภาวะขาลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม สาเหตุหลักมาจากปริมาณสำรองน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลนน้ำมันที่เริ่มคลี่คลาย

นอกเหนือไปจากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐฯแล้ว ความเห็นเชิงสนับสนุนนโยบายการเงินที่เข้มงวดจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังช่วยให้คู่เงิน EURUSD ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือนครึ่ง พร้อมทั้งพุ่งสูงขึ้นมากที่สุดในรอบ 2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ประธานธนาคารกลางยุโรป Christine Lagarde ได้ออกมากล่าวว่า "เห็นได้ชัดว่า อัตราแลกเปลี่ยนอาจส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อ" ซึ่งความเห็นดังกล่าวขัดแย้งกับแถลงการณ์ในวันก่อนหน้าที่แสดงความพร้อมที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ ไม่เพียงแต่ Lagarde เท่านั้น แต่ Joachim Nagel ประธานธนาคารกลางเยอรมัน (Bundesbank) Mario Centeno ประธานธนาคารกลางโปรตุเกส และ Isabelle Schnabel สมาชิกคณะกรรมการธนาคารกลางยุโรป ต่างก็แสดงความเห็นเชิงสนับสนุนการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดเช่นกัน ซึ่งช่วยหนุนให้คู่เงิน EURUSD ปรับตัวสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

ในทางกลับกัน ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) Andrew Bailey ได้ออกมาระบุว่า ผลกระทบจากความขัดแย้งในตะวันออกกลางนั้นน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ ยังกล่าวเสริมว่า "ภาวะเงินเฟ้อของเรายังอยู่ในเส้นทางที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์" ส่งผลให้ราคาคู่เงิน GBPUSD สามารถฟื้นตัวได้อย่างโดดเด่นจากระดับต่ำสุดในรอบปี โดยปรับตัวขึ้นเป็นวันที่สองติดต่อกัน

อีกทางด้านหนึ่งคู่เงิน USDJPY ยังคงขยายการร่วงลงของวันก่อนหน้าจากระดับสูงสุดในรอบหลายปี ท่ามกลางดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าลง รวมถึงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับลดลงและการรายงานข่าวสารในหลากหลายทิศทางเกี่ยวกับญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม Asahi Noguchi สมาชิกคณะกรรมการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ยังคงสนับสนุนนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษ ขณะที่ Masata Kanda รองรัฐมนตรีว่าการคลังญี่ปุ่นฝ่ายกิจการระหว่างประเทศ แสดงความพร้อมที่จะเข้าแทรกแซงตลาด เพื่อปกป้องค่าเงินเยนจากภาวะความผันผวนที่รุนแรง

แม้ข้อมูลการจ้างงานของออสเตรเลียจะมีการรายงานออกมาในหลากหลายทิศทาง แต่ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD) กลับพุ่งสูงขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ (USD) ในบรรดาสกุลเงินกลุ่ม G10 สาเหตุอาจมาจากตัวเลขความเชื่อมั่นทางธุรกิจของธนาคาร National Australia Bank (NAB) ที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเพิ่มขึ้นจาก -6 เป็น -2 นอกจากนี้ ปัจจัยที่อาจส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นอีกคือ รายงานประจำไตรมาสของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ที่แสดงทัศนคติเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ

  • สัญญาณซื้อแรง: USDCAD, USDJPY, US Dollar
  • สัญญาณขายแรง: AUDUSD, NZDUSD, GBPUSD
  • สัญญาณซื้อ: BTCUSD, ETHUSD, Nasdaq, Gold
  • สัญญาณขาย: DAX, FTSE 100, BTCUSD, EURUSD

ข้อมูลเศรษฐกิจ เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางจะกระตุ้นเทรดเดอร์...

ตัวเลขการยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์ของสหรัฐฯและการรายงานรายเดือนของดัชนีการผลิตของธนาคารกลางสหรัฐฯประจำฟิลาเดลเฟียจะร่วมกับแถลงการณ์จากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางจากยุโรป สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาจะกระตุ้นนักลงทุนในตลาด โดยเป็นที่น่าสังเกตว่าการขาดข้อมูล/เหตุการณ์สำคัญจะจำกัดการเคลื่อนไหวของตลาดเช่นกัน แต่ถึงกระนั้น ความคิดเห็นจากผู้กำหนดนโยบายของ Fed จะยังเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจับตาดูก่อนช่วง blackout สองสัปดาห์ก่อนการประชุม FOMC ในเดือนพฤษภาคม เพราะฉะนั้นดอลลาร์สหรัฐฯ และราคาสินค้าโภคภัณฑ์จึงมีแนวโน้มทรงตัวต่อไปในช่วงนี้ เว้นแต่ว่าจะมีเหตุการณ์สำคัญที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น ซึ่งมีความเป็นไปได้น้อย

ขอให้คุณโชคดีในการเทรด !